25 เม.ย. 2021 เวลา 07:26 • สุขภาพ
#เตรียมร่างกายอย่างไร ห่างไกลกระดูกพรุน
#เหตุผู้สูงอายุล้มในบ้าน แล้วกระดูกสะโพกหัก เป็นเรื่องพบเจอกันได้เรื่อยๆ เหตุเกิดจากความสูงอายุเท่านั้น? หรือเราเตรียมพร้อมก่อนจะเกิดปัญหานี้ได้?
กราฟแสดงมวลกระดูกกับอายุ เทียบระหว่าง2เพศ จะพบว่า เรามีมวลกระดูกที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก สูงสุดที่อายุ 25-30 ปี จากนั้นคงที่และค่อยๆลดลง จึงเป็นเหตุของมวลกระดูกที่บางหรือพรุน เมื่อเราเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยในเพศหญิง กระดูกจะบางลงอย่างรวดเร็วในช่วงหมดประจำเดือน คือ หลังอายุ50 ปี
Age and Bone Mass Chart / Source: Wikimedia Commons and CFCF
เราอาจเปลี่ยนแปลง พยาธิสรีรภาพของความเสื่อมถอยของร่างกายไม่ได้ทั้งหมด แต่เราชะลอการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ ด้วยการสร้างความแข็งแรงของกระดูก ทั้งเพื่อถึงมวลกระดูกสูงสุด(Peak bone mass)ที่สูง และชะลอการลดลงของมวลกระดูก ด้วยการได้รับสารอาหาร แคลเซียมและวิตามินดี ที่เพียงพอ
ความต้องการแคลเซียมและวิตามินดี แบ่งตามเพศและวัย (ของไทย ช่วงอายุ19-50 ปี จะเป็น 800มิลลิกรัม/วัน) จะเห็นได้ว่าความต้องการในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับเด็กวัยรุ่นทีเดียว (1200 กับ 1300 มิลลิกรัม/วัน)
งั้นที่เราเริ่มกินแคลเซียมเสริมกันช่วงหมดประจำเดือน ก็น่าจะดี ?
ดีส่วนหนึ่งค่ะ ดีกว่านั้นได้นะ 🤓 เดี๋ยวมาเล่าให้ฟังเรื่องอาหาร และแคลเซียมที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมแบบเม็ด กันต่อบทความหน้าค่ะ
#แพทย์ต่อมไร้ท่อ
โฆษณา