Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Life based on Dharma - ชีวิตอิงธรรมะ
•
ติดตาม
27 เม.ย. 2021 เวลา 13:17 • สุขภาพ
ช่วงเวลาแห่งการเกิดโลก พร้อมกับมนุษย์ที่มีวิวัฒนาการตามลำดับ
ทำให้ความเจริญรุ่งเรืองพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ในความเจริญนั้น มีสิ่งซ่อนเร้นที่ฉุดรั้งการพัฒนาให้หยุดนิ่ง เสมือนการกดปุ่ม Pause เพื่อให้สงบนิ่งฉุกคิดกันสักนิด ว่ามีสิ่งใดที่พลั้งเผลอ ทำผิดพลาดไปหรือไม่...
โรคระบาดในสมัยพุทธกาล
การศึกษาโรคระบาด ควรเจาะลึกให้ถึงแก่น แบบย้อนยุคสมัย
เมื่อได้ศึกษาจนไปถึงเหตุ และหนทางการกำจัด จึงจะได้ความรู้เพื่อเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่อการสร้างความเจริญ ให้หมดสิ้นไป
ดังมีเนื้อหาโดยย่อต่อไปนี้
....
ในขณะที่กรุงเวสาลีความเจริญเกิดขึ้น ผู้คนอาศัยอยู่มากมาย อาหารอุดมสมบูรณ์ เจ้าผู้ครองเมือง (เจ้าลิจฉวี) มีถึง 7,707 พระองค์ จึงทำให้ปรากฎปราสาทถึง 7,707 หลัง พร้อมด้วยวัดหรืออาราม 7,707 แห่งและสระโบกขรณี 7,707 สระ
เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นเมื่อกรุงเวสาลีประสบทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตาย ทำให้คนยากจนล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกเขานำคนตายไปทิ้งนอกพระนคร เหล่าอมนุษย์ (ภูตผี ปิศาจ เป็นต้น) ได้กลิ่นคนตายจึงเข้ามากินซากศพ ต่อมาคนตายมีมากขึ้น ๆ ความเป็นปฏิกูล (สกปรกน่ารังเกียจ) ก่อให้เกิดอหิวาตกโรค
เคราะห์กรรมถาโถม จากประสบเพียงแค่ทุพภิกขภัยอย่างเดียว ต่อมาประสบทั้งอมนุสสภัย (ภัยเกิดจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยเกิดจากโรคระบาด) เป็นเหตุให้เจ้าลิจฉวีเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อทูลขอร้องให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาบำบัดทุกข์ภัยครั้งนี้ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ที่นั่น ทรงรับนิมนต์และเสด็จไปกรุงเวสาลี
เมื่อทรงเสด็จไปถึงเกิดความอัศจรรย์บังเกิด ณ ที่นั้น คือ หมู่เมฆขนาดใหญ่ปกคลุมด้วยความมืด มีแสงฟ้าและเสียงคำรามดังขึ้นทั้ง 4 ทิศ จวบจนพระพุทธองค์ยกพระบาทวางลงริมฝั่งแม่น้ำคงคา ฝนโบกขรพรรษก็โปรยลงมา ผู้ที่ไม่ต้องการเปียกก็ไม่เปียก ผู้ที่ต้องการเปียกก็จะเปียก
น้ำฝนไหลไปสูงตั้งแต่เข่า ขา สะเอว และคอ เหล่าซากศพทั้งหลายถูกพัดลงสู่แม่น้ำคงคา ทำให้ผืนแผ่นดินสะอาดสะอ้าน
พวกเจ้าลิจฉวี นำพระพุทธองค์เข้าเสด็จสู่กรุงเวสาลี ในขณะที่ประทับยืนใกล้ประตูพระนคร ทรงเรียกพระอานนท์ว่า เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม เที่ยวเดินไประหว่างปราการ 3 ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวี ทำพระปริตร
เมื่อพระอานนท์ได้เรียนรัตนสูตร และเดินทางพร้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาใกล้ประตูกรุงเวสาลี พระอานนท์ได้นำบาตรของพระพุทธองค์นำไปตักน้ำ แล้วเดินพรมไปทั่วพระนคร เพียงการกล่าว ยงฺกิญฺจิของพระอานนท์เท่านั้น เหล่าอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือน เป็นต้น ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง 4 จนไม่มีที่ว่างเพียงพอ
พวกอมนุษย์ จึงทลายกำแพงเมืองหนีไป เมื่อพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัว ของพวกมนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบ เหล่ามนุษย์ทั้งหลายจึงพากันออกมาบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอานนท์ และเหล่าภิกษุสงฆ์ที่ติดตามมา ด้วยดอกไม้ของหอม เป็นต้น
พระอานนท์พรมน้ำมนต์ พร้อมกล่าวบทรัตนสูตร
ตัวอย่างของการศึกษาการเกิดโรคระบาดในพุทธกาล ที่ผู้รู้ (พระสัมมาสัมพุทธเจ้า) ทราบเหตุแห่งการเกิดโรคระบาด รวมถึงทราบวิธีการในการดับเหตุแห่งการเกิดให้หมดสิ้น
แม้ในสมัยปัจจุบัน การศึกษาได้พยายามขบคิดถึงเหตุ ว่ามีต้นตอการเกิดมาได้อย่างไร ความรู้ที่มี ไม่เพียงพอแก่การขจัดปัญหาให้หมดสิ้นไปได้ ทำให้การระบาดเกิดขึ้นมาหลาย ๆ ครั้ง จนกระทั่งทวีความรุนแรงผู้คนล้มตายจำนวนสูงสุดในประวัติการณ์
หากการผลิตวัคซีนเพื่อแก้ปัญหา เหมือนเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา ที่แม้ครั้งนี้ ยังไม่มีใครสามารถทำนายโชคชะตาว่า จะสามารถหยุดยั้งโรคระบาดโควิด-19 ให้สิ้นไปแบบไม่หวนกลับคืนมาใหม่ได้
การจะทำให้พ้นจากความทุกข์ ของโรคระบาดที่ทำให้
ผู้คนล้มตาย สุขภาพทรุดโทรม เศรษฐกิจย่ำแย่ การศึกษาชะงักงัน
ขจัดเหตุอย่างไม่ให้มีวัฎจักร ของโรคนี้เกิดขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
(ศึกษาได้จากอย่างภาคแรก ประวัติของโรคระบาด
https://www.blockdit.com/posts/6083cc251307dd0c67c0fb72
)
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[Life based on Dharma - ชีวิตอิงธรรมะ] โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคโควิด-19 ภาคหนึ่ง ประวัติการเกิดโรคระบาด
โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคโควิด-19 ภาคหนึ่ง ประวัติการเกิดโรคระบาด
ที่มา : บทความวิชาการ ปัจจัยส่งเสริมการเกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคโควิด-19
ทำให้โรคระบาดหมดสิ้นไปได้อย่างจริงจัง ไม่หวนฟื้นคืนชีพกลับมาใหม่
เหตุแห่งการเกิดโรคระบาดในสมัยพุทธกาล มีจุดเริ่มต้นเดียวกันกับสมัยปัจจุบัน นั่นคือ เหตุแห่งความเจริญทางด้านวัตถุมีมาก แต่ความเจริญทางด้านจิตใจลดน้อยถอยลง อันหมายถึง ละเว้นจากศีลห้า ได้แก่
ความเกรงกลัวละอายต่อบาปมีน้อย คนจำนวนมากเป็นผู้ไม่มีศีล ได้แก่
* การฆ่าสัตว์ทั้งปวง (ไม่เว้นแม้แต่มนุษย์ด้วยกัน)
* การลักทรัพย์ทรัพย์สิน สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ (รวมถึงการเอาเปรียบผู้อื่น)
* การประพฤติผิดในกาม (สมัยปัจจุบันเรื่องกามกลายเป็นค่านิยมหรือแฟชั่น ที่ทำให้คดีข่มขืนหรือฆาตกรรมได้ง่าย รวมถึงการมักมากในกาม สำส่อน)
* การพูดเท็จ-พูดคำหยาบ-พูดส่อเสียด (รวมถึงการพูดให้แตกสามัคคี)
* การดื่มเหล้า หรือน้ำเมา
ผลจากความเจริญทางด้านจิตใจลดน้อยถอยลง
* ในสมัยพุทธกาล ประสบทุพภิกขภัย ฝนแล้งข้าวกล้าตาย ทำให้คนยากจนล้มตายเป็นจำนวนมาก
* ในสมัยปัจจุบัน ประสบภัยพิบัติ 3 ประการ ทำให้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก คือ
1. ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้แก่ แผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุไซโคลน ดิน-โคลนถล่ม คลื่นใต้น้ำสึนามิ เป็นต้น
2. ภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ การสูบน้ำใต้ดินปริมาณมากจนส่งผลให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดิน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมากจากโรงงานอุตสาหกรรมจนส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นและท่วมพื้นที่ในระดับต่ำ การเปลี่ยนทางน้ำจนทำให้เกิดภัยแล้งในบางพื้นที่ เป็นต้น รวมถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ซึ่งส่งผลต่อชั้นหินใต้เปลือกโลก โดยอาจมีผลกระทบต่อโลกในระยะยาว เป็นต้น
กับส่วนส่วนสุดท้ายที่ขอเสริมขึ้นมา คือ
3. ภัยพิบัติที่มนุษย์เป็นผู้ทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันเอง ได้แก่ ความขัดแย้งทางการเมือง จึงใช้กำลังเข่นฆ่าผู้มีความเห็นต่างจากตนหรือผู้ขัดแย้งอุดมการณ์ของตน ความเบียดเบียน-ทะเลาะวิวาท-แค้นอาฆาต-เห็นแก่ตัว จึงใช้กำลังเข่นฆ่าเพียงเพื่อความพอใจของตนเอง เป็นต้น
เมื่อมนุษย์ล้มตายลงจำนวนมาก ตายด้วยความแค้นอาฆาต เศร้า อาลัย เป็นผลให้เป็นการตายแบบตายโหง ที่บางคนกลายเป็นผีเร่ร่อน บางคนกลายเป็นอมนุษย์ ในที่นี้หมายถึง ภูตผีปิศาจ
แสดงให้เห็นความพ้องกันกับเรื่องราวในพระไตรปิฎก จุดเริ่มต้นจากทุพภิกขภัยอย่างเดียว ต่อมาประสบทั้งอมนุสสภัย (ภัยเกิดจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยเกิดจากโรคระบาด)
ความพ้องกันของการเกิดโรคระบาดในสมัยพุทธกาลและปัจจุบัน
ความรู้จากภาคที่หนึ่งและภาคที่สอง ทำให้สรุปเหตุแห่งการเกิดโรคระบาดว่า
เกิดจากความเจริญทางวัตถุสูงขึ้น ๆ แต่ความเจริญทางจิตใจต่ำลง ๆ
ภาคต่อไป เป็นการแก้ปัญหาอย่างได้ผล แบบชนิดเอาอยู่มากกว่ายาชนิดใด ๆ ในโลก ซึ่งจะมีวิธีการอย่างใดบ้าง ขอเชิญติดตามชม...
1
2 บันทึก
82
14
82
2
82
14
82
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย