Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
cb.ax
•
ติดตาม
25 เม.ย. 2021 เวลา 12:58 • ไอที & แก็ดเจ็ต
[SPARK REVIEW] รีวิว BOOX NOTE AIR – TABLET E-INK ที่ดีที่สุดในตอนนี้
Disclosure: บทความนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายใดๆ
ตัวผมเองปกติไม่ค่อยได้อ่านหนังสือเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ที่อ่านจะเป็นการ์ตูนซะเป็นส่วนมาก แต่หลายปีก่อนก็ได้มีโอกาสซื้อ E-Ink Tablet ไว้อ่านหนังสือ ยี่ห้อ BOOX รุ่น M96 ซึ่งใช้งานได้ค่อนข้างดี ถึงแม้ส่วนใหญ่จะวางเอาไว้บนโต๊ะเฉย ๆ
1
หลายปีผ่านไป ผมได้เห็นโฆษณา reMarkable 2 ซึ่งว้าวมากก แทบจะควักเงินสั่งไปตอนนั้นเลย มันเป็น Tablet E-Ink บาง เบา พร้อม Stylus ที่เขียนแล้วได้สัมผัสแบบเขียนบนกระดาษจริง ๆ จะมีอะไรดีไปกว่านี้อีก!! ก็เกือบกดซื้อแล้วแหละ แต่เงินในกระเป๋าไม่เป็นใจ
จนกระทั่ง ผมมาเห็นว่า BOOX เปิดตัวรุ่นใหม่ BOOX Note Air ซึ่งเห็นได้ชัดว่า แรงบันดาลใจการออกแบบนั้นมาเต็ม.. แถมยังเป็นระบบ Android อีก ประกอบกับเจ้า BOOX M96 ที่วางนิ่งๆอยู่บนโต๊ะมาหลายปี เริ่มงอแง เหมือนจะเริ่มมีอาการแบตบวม เลยคิดว่าถึงเวลาต้องปลดประจำการมันแล้วแหละ ก็เลยจัดแจงสั่งไป โดนค่าเสียหายไป 480 USD (ส่งฟรี) ซึ่งทาง BOOX ส่งผ่าน DHL Express ก็เลยโดนภาษีไปอีกเกือบ ๆ 1,000 บาท สรุปค่าเสียหายที่ทำให้เราดับกิเลสนี้ไปทั้งสิ้นเกือบ 16,000 บาท..
1
เริ่มที่ Spec ก่อน ข้ามตรงนี้ไปเลยก็ได้
BOOX Note Air มาพร้อมหน้าจอ E-Ink ขนาด 10.3 นิ้ว ซึ่งผมสังเกตว่าขนาดจอ E-Ink นั้นพอ ๆ กับ BOOX M96 ตัวเดิมของผมเลย แต่ขนาดโดยรวมและความหนานั้นลดลงเยอะ รุ่นนี้ความหนาลดลงมาเหลือเพียง 5.8 mm ส่วน Spec อื่น ๆ ก็ประมาณนี้
Hardware
- Screen: 10.3 ” E ink HD Carta screen with AG glass flat cover-lens
- Resolution: 1872×1404 Carta (227dpi)
- Touch: BOOX Pen Stylus touch (4096 levels pressure sensitivity) + capacitive touch
- CPU: Updated Octa-core (ไม่ระบุยี่ห้อ)
- RAM: 3GB (LPDDR4X)
- ROM:32GB (eMMC)
- Connectivity: Wi-Fi (2.4GHz + 5GHz) + BT 5.0
- Front Light with CTM (Warm and Cold)
Software
- OS: Android 10.0
- Documents Formats: PDF(reflowable), PPT,EPUB, TXT, DJVU, HTML, RTF, FB2, DOC, MOBI, CHM…
- Image Formats: PNG, JPG, TIFF, BMP
- Audio Formats: WAV, MP3
- APP Store: BOOX Store
- Support DRM(3 party apps)
Others
- Buttons: power button
- Expansion Interface: USB Type-C (support OTG)
- G-sensor: yes
- Speaker: Built-in speaker
- Mic: yes
- Earphone Jack: USB-C earphone jack
- Battery: 3000mAh Polymer Li-on
- Battery Life: Up to 4 weeks (standby mode)
- Dimensions: 229.4*195.4*5.8mm
- Weight: ≤420g
ขนาดหน้าจอ E-Ink เกือบเท่ากัน ในขณะที่บางกว่า
จ่ายราคานี้ได้อะไรบ้าง
- เครื่อง BOOX Note Air
- ปากกา
- Protective Case
- สายชาร์จ Type C
- ฟิล์มกันรอย 2 ชิ้นในกล่อง และอีก 1 แผ่นนอกกล่องเครื่อง
- คู่มือ
ความประทับใจแรกพบ
ตอนจับครั้งแรกนี้ต้องร้องหูยยยยยยยย มันบางงงมากกก บางจนกลัวว่าถ้าใช้ไม่ระวังจะทำมันหัก แต่ลูบ ๆ คลำ ๆ แล้วไม่น่าจะหักง่ายๆ เพราะเฟรมนั้นทำด้วยอลูมิเนียม ไม่ใช่พลาสติกกิ๊กก๊อกแบบรุ่นเก่าของผม ตัววัสดุและความบางทำให้ผมประทับใจตั้งแต่แรกพบเลย..
ด้าน Software มาพร้อมกับ Android 10 ซึ่งทำให้มันทำอะไรได้อีกเยอะมากกก ตัว BOOX M96 ของผมนั้นติดอยู่ที่ Android 4 และไม่ได้อัพเดทอีก ก็เลยโหลดพวก App ใหม่ ๆ ใน Store ไม่ได้ พอมาเป็น Android 10 แล้ว ความอึดอัดนั้นก็พลันหายไป (หวังว่าจะไม่โดนลอยแพอัพเดทนะ)
หน้าจอนั้นนอกจากจะคมชัดแล้ว ยังมาพร้อมกับ Frontlight สองสี ซึ่งสามารถปรับได้จากแถบควบคุม ด้วยการเลื่อนจากบนลงล่างที่ส่วนบนของจอ ซึ่งสามารถปรับสมดุลแสง Warm Light / Cold Light เพื่อผสมให้ได้สัดส่วนที่ทำให้ตาเราสบายที่สุดขณะที่อ่านหนังสือ หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าไม่จำเป็น.. แต่เชื่อเถอะ ถ้าคุณได้เปิดจนชินแล้วคุณจะไม่มีวันปิดมันอีกเลย หน้าจอยังสามารถปรับโหมดในการแสดงผลได้ด้วยโดยแบ่งเป็น
- Normal Mode โหมดแสดงผลปกติ
- Speed Mode เพิ่มอัตราการรีเฟรช แต่จะพบ Ghost บ้าง
- A2 Mode เพิ่มอัตราการรีเฟรชให้สูงขึ้นอีก พบ Ghost เพิ่มขึ้น
- X Mode อัตราการรีเฟรชสูงที่สุด และพบ Ghost บนจอได้ชัดเจน
ใครที่ไม่เคยใช้ E-Ink Tablet อาจจะสงสัยว่า Ghost คืออะไร อธิบายสั้น ๆ ว่าจอ E-Ink นั้นใช้การสลับเม็ดสีจริงในหน้าจอ ไม่เหมือนจอ led ที่ใช้การผสมแสง หลักการทำงานของ E-Ink ทำให้มันเปลี่ยนจอจากเฟรมหนึ่งไปอีกเฟรมหนึ่งได้ช้ากว่าจอ led มาก และถ้าเปลี่ยนเร็วๆ เม็ดสีจะสลับไม่ทันและทำให้เราเห็นเฟรมก่อนหน้าค้างบนจอเป็นรอยจาง เมื่อเปลี่ยนเป็นเฟรมใหม่แล้ว สิ่งนั้นเรียกว่า Ghost
การปรับโหมดของจอได้นั้นช่วยให้แสดงผลได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น เช่น การแสดงวิดีโอบนหน้าจอ E-Ink ได้อย่างลื่นไหลเมื่อเปิด X Mode จนทำให้สับสนเลยว่านี่กำลังอ่าน Daily Prophet ใน Harry Potter อยู่หรือเปล่า!!!
youtube.com
CB.AX POST, GIF Animate on BOOX Note Air
ปากกาที่แถมมาด้วยจับถนัดมือ ตัวปากกามีแถบด้านข้างที่เป็นแม่เหล็ก สามารถแปะไปกับตัว Tablet ได้โดยไม่หล่น (แต่ถ้าสะบัดแรง ๆ ก็หลุดได้นะ) ปากกาลองเขียนแล้วตอบสนองได้ดีมากกับแอป Note ของมันเอง แต่ความรู้สึกในการเขียนเห็นหลาย ๆ คนว่ากันว่า reMarkable 2 ให้ความรู้สึกเหมือนเขียนบนกระดาษจริงมากกว่า แต่ผมไม่มีให้ลองดังนั้นประเด็นนี้ข้ามไป
ปากกาจับถนัดมือ แต่ปลายปากกาใช้เป็น Tool ยางลบไม่ได้เหมือนรุ่นก่อน ๆ
รอบตัว Tablet นั้น ประกอบด้วยลำโพง, ปุ่ม Power, Port Type C ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี Quick Charge และ ไม่มีช่องสำหรับใส่ Micro SD Card ซึ่งสำหรับผมแล้วหน่วยความจำของเครื่อง 32GB ที่เหลือพื้นที่ใช้จริงประมาณ 22GB นั้นเหลือเฟือสำหรับการเก็บหนังสือแล้ว เพราะผมคงไม่เอามันมาใส่ไฟล์วิดีโอ 4K ไว้ดูบนจอ E-Ink แน่ ๆ และในรุ่นนี้ jack หูฟัง 3.5mm เองก็ไม่มีเช่นกัน ซึ่งถ้าผมอยากเพิ่มความสุนทรีย์ระหว่างอ่านหนังสือ ก็ต้องเปิดผ่านลำโพงเครื่อง (คนข้าง ๆ อาจจะไม่มีอารมณ์สุนทรีย์ร่วมด้วย) หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องพึ่งหูฟัง Bluetooth/USB-C Headphone แทน
ตำแหน่งของ Port Type C อาจจะดูแปลกๆ ว่าทำไมถึงอยู่ตรงกลาง แต่หลังจากได้หาข้อมูลเพิ่มเติม ก็พบว่าหากเอาไว้บริเวณมุม จะทำให้ความแข็งแรงลดลง ทีมออกแบบเลยเอาไว้ตรงกลางเลยนี่แหละ ก็พอได้อยู่ แต่ถ้าต้องชาร์จไปอ่านไปอาจจะไม่สะดวกเท่าไหร่ การใช้งานโดยรวมก็สามารถใช้งานได้ยาว ๆ เป็นอาทิตย์โดยแบตไม่หมด ซึ่งเป็นข้อดีทั่วไปของ Tablet ที่ใช้จอ E-Ink
ปัญหาที่พบ
- เมื่อเปิดเครื่องมายังไม่สามารถโหลดแอปจาก Play Store ได้ทันที ต้องกด request ให้ google รับรองอุปกรณ์ก่อน
- การตอบสนองของปากกากับแอปจดบันทึกของ BOOX เองตอบสนองดีมาก แต่กับ App อื่นๆ เช่น OneNote มีอาการ Delay อย่างชัดเจน
- การ Note ลงไฟล์ PDF ด้วยปากกา (ด้วยแอปของเครื่องเอง) ไม่สามารถ Zoom ด้วยการ Pitch สองนิ้วได้
นอกจากปัญหาเล็กน้อยที่พบแล้ว การใช้งานโดยรวมถือว่าโอเคเลย ใครมีคำถามเพิ่มเติม ถามได้ใน comment เลยครับ
บันทึก
1
2
2
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย