Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
26 เม.ย. 2021 เวลา 05:14 • หนังสือ
✴️ บทที่ 1️⃣ ความท้อแท้ของอรชุน
(ตอนที่ 14) ✴️
🌸 “กองทัพฝ่ายจิตวิญญาณ” กับ “กองทัพฝ่ายวัตถุ” 🌸
⚜️ โศลก 4️⃣➖6️⃣ ⚜️ (ตอนที่ 2)
หน้า 63 – 67
❇️ สรีรศาสตร์ของ “กายทิพย์” และ “กายเหตุ” ❇️
จริง ๆ แล้วโลกกายภาพนั้นไม่เป็นอะไรมากไปกว่าสสารที่เฉื่อยชา #ชีวิตในทุกรูปแบบนับแต่อะตอมไปจนถึงมนุษย์เกิดจากพลังละเอียดของโลกทิพย์ #จากการเนรมิตสร้างตามพระดำริของพระเจ้า #พระดำริที่ทรงความสร้างสรรค์ด้วยพลังสั่นสะเทือนที่แผ่ซ่านจากพระจิตแห่งพระเจ้า และแท้จริงแล้วมนุษย์ซึ่งเป็น 'จุลชีวิน' ก็คือภาพจำลองของ 'มหาชีวิน' ในทุกด้าน
กายเนื้อของมนุษย์นั้นเป็นกายหยาบ แต่ชีวิต การรับรู้โดยผ่านผัสสอินทรีย์และการรู้ด้วยจิตนั้นขึ้นอยู่กับพลังละเอียดของกายทิพย์และกายเหตุ — เครื่องมือของวิญญาณภายในกายเนื้อ หรือ #จิตของพระเจ้าที่อยู่ในปัจเจกแต่ละคน★
★บทบาทของพลังทิพย์และพลังเหตุแห่งจิตในอินทรีย์รับรู้ของมนุษย์นั้น วิทยาศาสตร์ฝ่ายวัตถุยังไม่เคยได้กล่าวถึง นิตยสาร Discover (มิถุนายน 1993) ได้สรุปงานวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการรับรู้ของผัสสอินทรีย์ไว้ว่า “แม้ว่าผัสสะของเราเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด แต่ความลับหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ยังไม่มีคำตอบต่อการแสวงหาทางวิทยาศาสตร์” ตัวอย่างเช่น “ประสาทสัมผัสกับโลกกายภาพที่มันนำทางให้เกิดนั้น น่าจะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นในหัวของเรามากกว่าที่ปลายนิ้ว”
ในหนังสือชื่อ The Brain Revolution (New York: Bantam Books, 1973) มาริลีน เฟอร์กูสันได้เขียนไว้ว่า “การเชื่อมโยงนับหมื่นแสนในสมอง ทำให้เรารับรู้ ผัสสะของเราได้รับการกระตุ้น โครงสร้างในสมองตีความข้อมูล แต่ก็ใช่ว่าจะได้ความเป็นจริงอย่างสมบูรณ์ ที่จะวัดได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งจริงหรือไม่...ดอกกุหลาบเป็นดอกกุหลาบเพราะมนุษย์เห็นว่ามันเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่มีมนุษย์ ดอกกุหลาบก็เป็นเพียงแบบแผนของพลังที่เวียนวนอยู่เท่านั้นเอง”
ดร. โรเบิร์ต โอร์นสไตน์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ The Psychology of Consciousness (New York: Penguin Books, 1986) ว่า “ปกติแล้วผัสสะจะทำสิ่งอัศจรรย์สองอย่าง อย่างแรก อวัยวะของผัสสะแต่ละอย่างจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังทางกายภาพบางอย่าง – แสงคลื่นสั้น, โมเลกุลของความเปรี้ยว — ให้กลายเป็นพลังงานอีกรูปแบบหนึ่ง: กระบวนการระเบิดอย่างกลาง ๆ (neutral firing) ทางเคมีไฟฟ้า กระบวนการนี้เรียกว่า 'การถ่ายโอน' ผัสสะแต่ละอย่างจะมีตัวรับเฉพาะของตนที่ทำหน้าที่ถ่ายโอนพลังจากภายนอกให้กลายเป็นภาษาในสมอง ดวงตาถ่ายโอนแสง หูถ่ายโอนคลื่นเสียง จมูกถ่ายโอนโมเลกุลที่เป็นแก๊ส ประการที่สอง ณ บางจุดในระบบของผัสสะและสมอง จะมีการแปรรูปครั้งที่สอง: การระเบิดทางไฟฟ้านับพัน ๆ ล้านครั้ง และการหลั่งสารเคมีจากการระเบิดทำให้เกิดเป็น ต้นไม้ และขนมเค้ก ปลาสีเงินและเสียงหัวเราะ ซึ่งก็คือโลกตามประสบการณ์ของมนุษย์
“ความอัศจรรย์ทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นทุกขณะในชีวิตของเรา มันเกิดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ จนเราไม่รู้สึก เรากำลังอยู่บนเส้นทางการทำความเข้าใจ ว่าสิ่งอัศจรรย์อย่างแรกเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่สิ่งอัศจรรย์อย่างที่สองนั้นยังคงเป็นสิ่งสุดลี้ลับสำหรับทุกคนในวงการวิทยาศาสตร์”
เรเนอร์ จอห์นสัน นักฟิสิกส์ชาวออสเตรเลียได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “มหาวิหารและดอกพริมโรส งานศิลปะและงานเหล็กกล้า – นี่เป็นโลกที่จิตสร้างขึ้นจากพายุไฟฟ้าในสมองสีเทา ซึ่งมีเนื้อที่แค่ไม่กี่ลูกบาศก์เซนติเมตรเท่านั้น!”
1
{หมายเหตุผู้จัดพิมพ์}
ร่างกายทางกายภาพถูกสร้างและหล่อเลี้ยงโดยตรงจากพลังของกายทิพย์ กายทิพย์และอำนาจนี้คือกระแสหลักของชีวิต หรือ 'ปราณ' #กระแสชีวิตคือส่วนผสมระหว่างจิตกับอิเล็กตรอน ซึ่งข้าพเจ้าใช้คำว่า “พลังชีวิต” (lifetrons)
ความแตกต่างระหว่าง 'ปราณ' (พลังชีวิต) กับ 'อิเล็กตรอน' ก็คือ #ปราณคือปัญญา ส่วน #อิเล็กตรอนนั้นคือกลไก แสงที่สว่างจากหลอดไฟไม่ได้ทำให้หลอดไฟเติบโต ความสัมพันธ์ระหว่างหลอดไฟกับกระแสไฟฟ้าที่สว่างนั้นเป็นไปในลักษณะกลไก แต่กระแสชีวิตเกิดขึ้นเมื่อสเปิร์มกับเซลล์ไข่รวมตัวกัน และพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดนี้เป็นตัวอ่อน และสุดท้ายกลายเป็นมนุษย์อย่างเต็มตัว
1
#พลังสร้างสรรค์ชีวิตจากกายทิพย์เข้าสู่กายเนื้อผ่านจักระทั้งเจ็ดตลอดแนวไขสันหลังและสมอง พลังรวมตัวกันอยู่ตรงจักระนั้น ๆ และแสดงออกภายนอกโดยผ่านจักระทั้งเจ็ดนี้เช่นกัน แค่ปฏิสนธิ เพียงไม่กี่วัน “แนวเส้นประสาท” อาจเห็นได้ชัดในตัวอ่อน จากพัฒนาการขั้นแรกนี้ ไขสันหลัง สมอง และระบบประสาทจะเริ่มก่อตัวขึ้น แล้วอวัยวะอื่น ๆ ของมนุษย์ก็จะเกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ที่พัฒนาแล้วนี้ — #ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจากการทำงานของพลังกายทิพย์
เมื่อร่างกายมีสมอง มีไขสันหลังพร้อมระบบประสาทที่มีกิ่งก้านสาขามากมายอยู่ตามจักระต่าง ๆ ทั้งที่คอ ลำตัว บั้นเอว กระเบนเหน็บ ก้นกบ และ ยังมีระบบประสาทที่แตกสาขาไปทั่วปริมณฑลกาย — “กายทิพย์” จึงมีสมองทิพย์พันแสง (ดอกบัวพันกลีบ) จักระแสงและพลังงานตลอดไขสันหลัง และระบบประสาทซึ่งมีช่องรองเรืองนับล้านໆ ช่องเหล่านี้มีชื่อเรียกว่า 'นาฑี'
#สรีรศาสตร์ของกายทิพย์ทำให้กายหยาบมีชีวิตชีวา และกายทิพย์นี้คือแหล่งพลังและเป็นเครื่องมือให้แก่ ญาเณนทรีย์ทั้งห้าและกรรเมนทรีย์ทั้งห้า #ช่องระบบประสาทซึ่งปราณไหลผ่านปรากฏในห้าลักษณะที่แตกต่างกัน กล่าวคือ 1️⃣การแข็งตัว 2️⃣การไหลเวียน 3️⃣การดูดซึม 4️⃣การสันดาป และ 5️⃣การขจัด
แสงหลักที่ไขสันหลัง 'สษุมนา' มีเส้นเรืองรองสองเส้นอยู่ในนั้น 'สุษุมนา' หรือ ม่านบังแสงชั้นนอก #ควบคุมการทำงานของพลังกายทิพย์ (ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่ทั้งหลายของจักระทั้งเจ็ด พร้อมกับธาตุสั่นสะเทือนทั้งห้าของแต่ละจักระ – ดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศ) ซึ่งสร้างสรรค์และหล่อเลี้ยงกายหยาบ★
'สุษุมนา' ทอดยาวจาก มูลาธารจักระ หรือจักระก้นกบไปถึงสมอง 'สุษุมนา' มี 'นาฑี' ช่วยอยู่ทั้งสองข้าง — 'นาฑีด้านซ้าย' คือ 'อีฑา' - 'นาฑีด้านขวา' คือ 'ปิงคลา' นาฑีสองเส้นนี้เป็นนาฑีสำคัญสุด ในบรรดานาฑี 72,000 เส้น #ซึ่งประกอบเป็นช่องทางหลักของพลังปราณในระบบประสาทอัตโนมัติ — #ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระบบประสาทนอกการควบคุมของจิตใจ★★
★อ่านรายละเอียดวิธีที่คุณทั้งสาม — ตมะ รชะ สัตวะ สร้างและให้ชีวิตแก่กายหยาบด้วยธาตุทั้งห้า ในบทที่ 13:1
★★กายวิภาคของกายหยาบ คือการแสดงภายนอกของพลังทิพย์ที่ละเอียด ตามรูปแบบของพลังทิพย์ไขสันหลังกับห่วงโซ่ของกลุ่มเซลล์ (ganglias) ในระบบประสาทซิมพาเทติคที่แล่นไปตามแนวไขสันหลังตามแนวของ 'สุษุมนา' และ 'นาฑีอีฑา' กับ 'นาฑีปิงคลา' ซึ่งอยู่ทางซ้ายและขวาของสุษุมนา เช่นเดียวกับที่สุษุมนาเป็นเปลือกหุ้มนอกสุดของช่องทางเดินปราณตามแนวไขสันหลังสองช่อง (วัชระ กับ ฉิตระ) กับช่องทางเดินปราณที่เรียกว่า 'พรหมนาฑี' – ในอรรถาธิบายของโศลกนี้ – ไขสันหลังภายในข้อกระดูกสันหลังประกอบด้วยเปลือกหุ้มสี่ชั้นดังนี้
(1) ชั้นนอกสุด เป็นท่อน้ำเหลืองซึ่งมีเนื้อเยื่อแข็งแรงหุ้ม ส่วนนี้เรียกว่าไขสันหลังชั้นนอก หรือ dura mater;
(2) ชั้นที่สองนี้ เป็นเนื้อเยื่อหยุ่น ๆ เก็บน้ำสมองไขสันหลัง มีเนื้อเยื่อเป็นขนบาง ๆ หุ้มอยู่;
(3) สารสีขาวกับสีเทา ล้อมรอบด้วยเส้นเนื้อเยื่อ เรียกว่า ไขสันหลังชั้นในสุด หรือ pia mater เป็นที่อยู่ของเส้นประสาทที่เชื่อมสมองกับกล้ามเนื้อ ประสาทสัมผัส และอวัยวะสำคัญ ๆ ผ่านทางประสาทรอบนอก; และ
(4) ช่องทางสายกลางซึ่งบอบบางมากอยู่กลางสารสีเทา
ดวงตาทั้งสองข้างของกายหยาบ ที่ทำให้มนุษย์เห็นโลกเป็นทวิภาวะนั้น สร้างตามสามขั้นของวิญญาณจักษุ : รัศมีสีทองของตาทิพย์ล้อมรอบแสงสีฟ้า ส่วนที่อยู่ตรงกลางคือรัศมีดาวห้าแฉก สิ่งเหล่านี้อยู่ในสามส่วนของตาเนื้อ คือ ตาขาว ม่านตา และรูม่านตา ตามลำดับ
กายเนื้อ เมื่อยืนกางแขนกางขา ก็จะเหมือนดาวห้าแฉก #สัญลักษณ์ของดาวห้าแฉกที่เห็นในวิญญาณจักษุ ซึ่งส่งธาตุสั่นสะเทือนทั้งห้า ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ ออกมาเพื่อสร้างกายเนื้อ ('ศีรษะ' เป็นส่วนของธาตุละเอียดที่สุด คือ 'อากาศ' 'ส่วนแขนทั้งสองข้าง' คือ 'ธาตุลมกับธาตุไฟ' 'ขาทั้งสองข้าง' เป็นธาตุที่หยาบกว่า คือ 'ธาตุน้ำกับธาตุดิน')
การเนรมิตสร้างสิ่งที่เป็นกายภาพนั้น เป็นสิ่งที่ก่อความครั่นคร้ามแก่จิตมนุษย์ และท้าทายให้วิทยาศาสตร์สืบเสาะค้นหาความจริง เป็นความฉงนที่ทำให้กระหายใคร่รู้ และ #ด้วยจิตที่รู้แจ้งจึงจะเข้าใจรหัสสิ่งสร้างที่พระองค์ผู้ทรงสร้างจักรวาลได้ทรงลิขิตไว้
ภายใน 'สุษุมนา' มีโพรงปราณที่เรียกว่า 'วัชระ' ซึ่งมีอำนาจในการขยาย การหด กิจกรรมการเคลื่อนไหวทุกอย่างของกายทิพย์ 'วัชระ' แล่นขึ้นด้านบนจากจักระสวาธิษฐาน (จักระ 2) หรือศูนย์ที่กระเบนเหน็บ ภายใน 'วัชระ' มีโพรง 'ฉิตระ' ทำหน้าที่ควบคุมกิจกรรมทางจิตวิญญาณ (กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตสำนึก) กิจกรรมของโพรงปราณทั้งสามนี้ถูกควบคุมโดยสมองทิพย์ หรือ 'สหัสราระพันแสง' (จักระ 7)
แสงแห่งชีวิตและญาณปัญญาจากดอกบัวพันกลีบสะท้อนตรงไปยังจักระต่าง ๆ แต่ละจักระจึงมีลักษณะกิจกรรมและลักษณะจิตที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับที่สมองเชื่อมประสาทและศูนย์รวมประสาทในโพรงไขสันหลังต่าง ๆ
▪️โครงสร้างของ “ช่องทางเดินปราณ” และ “โพรงของกายเหตุ” ▪️
“ร่างกายทางกายภาพของมนุษย์” ประกอบด้วย 1️⃣กายเนื้อ 2️⃣กายทิพย์แห่งปราณ 3️⃣แสงแห่งปัญญาหรือพลังชีวิต — ส่วน “กายเหตุ” นั้นประกอบด้วย 1️⃣จิต 2️⃣ความคิด ซึ่งข้าพเจ้าใช้คำว่า 'ประจุความคิด' (thoughtrons)
พลังของ “กายเหตุ” ที่อยู่เบื้องหลัง “กายทิพย์” และ “กายเนื้อของมนุษย์” นี้เอง #ที่เป็นแหล่งเกิดและหล่อเลี้ยงทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่มีจิตสำนึกและมีปัญญา
“กายเหตุ” #มีสมองซึ่งมีญาณปัญญาและมีช่องวิญญาณที่เรียกว่า_พรหมนาฑี ซึ่งไม่มีแสงห่อหุ้มเหมือน 'ช่องปราณที่มีสามช่อง' แต่เป็น #ช่องทางหลักของกระแสสำนึก ซึ่งเรียกกันทั่ว ໆ ไปว่า ส่วนในของโพรงฉิตระ ซึ่งเป็นทั้งข้อเท็จจริง และ เป็นการเรียกที่ผิดไปพร้อมๆกัน
'พรหมนาฑี' เป็น “โพรงของกายเหตุ” ซึ่งจะ อธิบายจิตหรือการสั่นสะเทือนได้ในเชิงเปรียบเทียบว่าอยู่ 'ข้างใน' หรือ 'ถูกหุ้มอยู่ในช่องปราณทั้งสาม' – ซึ่งมี 'ไขสันหลังของกายเนื้อหุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่ง'
ลักษณะของ “กายทั้งสาม” และ “โพรงของแต่ละกาย” นั้น อยู่ที่ความหยาบละเอียดของโพรงนั้นๆ ซึ่งโพรงหยาบจะหุ้มโพรงละเอียด แต่มันไม่กีดกั้นขัดขวางกันแต่อย่างใด เครื่องมือของ "กายหยาบ(1)" "กายทิพย์(2)" และ "กายเหตุแห่งวิญญาณ(3)" นั้น ดำรงอยู่และทำหน้าที่ไปพร้อมๆกันอย่างมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง 'พลังหยาบ' กับ 'พลังละเอียด'
ภายใน “โพรง” สมองไขสันหลังของกายเหตุ หรือ 'พรหมนาฑี' มี “ศูนย์จิต” อยู่7️⃣ศูนย์ เชื่อมโยงอยู่กับแสงและพลังละเอียดในกายทิพย์ — กายเนื้อ(1) กายทิพย์(2) และกายเหตุ(3)รวมอยู่ด้วยกันที่ศูนย์เหล่านี้ #กายทั้งสามรวมกันและทำงานไปด้วยกัน นั่นคือ กายพาหนะได้พลังจากทิพยชีวิน — ส่วนจิตเหตุนั้นให้อำนาจใน 'การคิด' 'เจตจำนง' 'การจำ' และ 'รู้สึก'
#สมองของกายเหตุคือคลังของจิตจักรวาล #ซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดกาล_รู้ตลอดกาล_และให้ความเกษมสุขใหม่ๆของบรมวิญญาณตลอดกาล #รวมถึงการแสดงออกของปัจเจกวิญญาณตลอดกาลอีกด้วย
#ในเมื่อจิตจักรวาลเข้าสู่มนุษย์โดยผ่านศูนย์สมองไขสันหลังของกายเหตุ มันจึงแสดงปัญญาที่สมองเหตุ(7) แสดงสหัชญาณที่ท้ายสมองเหตุ(6) แสดงความสงบที่ศูนย์คอเหตุ(5) แสดงจิตเบื้องหลังปราณที่ศูนย์ลำตัวเหตุ(4) แสดงจิตหรืออำนาจการควบคุมตนที่ศูนย์บั้นเอวเหตุ(3) แสดงอำนาจการยึดมั่นที่ศูนย์กระเบนเหน็บเหตุ(2) และแสดงอำนาจการยับยั้งชั่งใจที่ศูนย์ก้นกบเหตุ(1)
จิตจักรวาลในวิญญาณนี้สำแดงโดยผ่านศูนย์สมองไขสันหลังเหตุเหล่านี้ (จักระทั้ง7) ส่งปัญญาผ่านการกระทำของเจตจำนงไปสู่ “เซลล์” ความคิดอันมากมายไม่หมดสิ้น #ซึ่งประกอบเป็นกายเหตุ
✴️ เมื่อจิตสำนึกนี้ไหลออกจาก 'กายเหตุ' ไปสู่ 'กายทิพย์' และจากนั้นไปสู่ 'กายเนื้อ' จิตจักรวาลที่แต่เดิมนั้นมีความประณีตก็จะค่อยๆถูกลวงให้หลงไปกับแรงดูดของอินทรีย์ที่ให้ติดยึดวัตถุ จิตนี้จึงค่อยๆหยาบขึ้น สูญเสียธรรมชาติแห่งบรมวิญญาณอันแท้จริง ญาณปัญญาบริสุทธิ์ประเสริฐจึงกลายเป็นพุทธิปัญญา พุทธิปัญญาที่เบี่ยงเบนไปตามข้อจำกัดของผัสสอินทรีย์ #กลายเป็นจิตที่มืดมนไปตามใจตน และถ้า 'หยาบไปกว่านั้น' จิตก็จะกลายเป็นชีวิตที่ขาดอำนาจในการ #สังเกต ชีวิตกลายเป็นวัตถุที่เชื่อนแชเฉื่อยชา ✴️
(มีต่อ)
1 บันทึก
2
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทที่ 1
1
2
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย