Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ทนายสาวสายแอส Lawyer Assassin
•
ติดตาม
29 เม.ย. 2021 เวลา 12:00 • การศึกษา
🔥ประเด็น: สามีหรือภริยาทำร้ายร่างกายกันจะมีความผิดหรือต้องรับโทษหรือไม่❓
1
สวัสดีค่ะ ชาวBDทุกท่าน 😁 วันนี้ทนายมาพร้อมกับเรื่องใกล้ตัวว่า "เรื่องผัวเมียอย่ามายุ่ง" 😅 แหม๋~แต่ใครจะอดใจไหวล่ะคะ ในเมื่อการทะเลาะของสามีภริยาถึงขั้นลงไม้ลงมือขนาดนี้ ว่าแล้วทนายก็พาไปทัวร์ตามหลักกฎหมายเลยค่ะ (เผือกแบบมีหลักการนะคะ🤣)
📌หลัก "ไม่มี" กฎหมายฉบับใดให้อำนาจแก่สามีภริยา ทั้งที่จดและไม่ทะเบียนสมรสสามารถทำร้ายร่างกายกันได้นะคะ😊
คราวนี้ มาดู "ระดับ" ของการทำร้ายร่างกายที่กฎหมายบัญญัติไว้ก่อนค่ะ ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจาก "เจตนาทำร้าย" นะคะ
🔸ระดับที่ 1 = เป็นระดับการทำร้ายแบบไม่อันตรายถึงขั้นบาดเจ็บเป็นแผลหรือสเทือนจิตใจ ถือเป็นความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 391 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
“มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
🔸ระดับที่ 2 = เป็นระดับการทำร้ายแบบอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บเป็นแผลหรือสเทือนต่อจิตใจ ตามมาตรา 295 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
"มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
🔸ระดับที่ 3 = เป็นระดับการทำร้ายแบบอันตรายถึงขั้นบาดเจ็บเป็นแผลสาหัสหรือสเทือนต่อจิตใจรุนแรง ตามมาตรา 297 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
"“มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี
อันตรายสาหัส นั้นคือ
(1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
(2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
(3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด
(4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
(5) แท้งลูก
(6) จิตพิการอย่างติดตัว
(7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต
(8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน”"
🔸ระดับที่ 4 = เป็นระดับการทำร้ายแบบอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ตามมาตรา 290 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
" มาตรา 290 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี..."
▶️โดยปกติทั่วๆไปแล้ว คดีทำร้ายร่างกายในระดับที่ 1 เท่านั้นที่ยอมความกันได้ค่ะ ระดับอื่นจะยอมความกันไม่ได้เลย
▶️แต่ในระหว่างสามีภริยาทั้งที่จดและไม่จดทะเบียนสมรส รวมถึงบุคคลในครอบครัวเดียวกัน จะมีกฎหมายพิเศษฉบับหนึ่งเรียกว่า "พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550" โดยเฉพาะในมาตรา 4 เข้ามาช่วยคุ้มครองควบคู่ด้วยค่ะ ดังนั้นนอกจากมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ก็มีความผิดตามกฎหมายฉบับนี้ด้วย แต่จะแตกต่างอีกนิดว่า นอกจากระดับที่ 1 จะยอมความได้ ก็มีระดับที่ 2 ที่สามารถยอมความได้ด้วย
"มาตรา 4 ผู้ใดกระทําการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ผู้นั้นกระทําความผิดฐานกระทําความรุนแรงในครอบครัว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ให้ความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ แต่ไม่ลบล้างความผิดตามประมวล
กฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่น หากการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดฐานทําร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ด้วย ให้ความผิดดังกล่าวเป็ความผิดอันยอมความได้"
⚠️ดังนั้น ถ้ามีการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นซึ่งเป็นระดับที่ 2 เป็นต้นไปก็ยากที่จะต้องนิ่งเฉยกันแล้วนะคะ 😥ถือเป็นความผิดอาญา ไม่ใช่เรื่องผัวเมียแล้วค่ะแบบนี้ เรียกว่าการกระทำที่ไม่ยำเกรงและไม่เคารพกฎหมายกันเลยทีเดียว 😡 หากภริยาลุกขึ้นมาป้องกันตัว ภริยาไม่มีความผิดนะคะ ถ้าได้ป้องกันไม่เกินสมควร
🚸หากใครกำลังเจอปัญหาแบบนี้ ต้องขอให้ทบทวนและคิดให้ดีว่า ชีวิตเราเอง เนื้อตัวร่างกายเราเอง เราก็ต้องรัก ดูแล ให้ความสำคัญ และเคารพนะคะ หากไม่เริ่มที่ตัวเราแล้วก็ยากที่ใครจะเข้าช่วยเหลือค่ะ ทนายเป็นกำลังใจให้อีกเสียงค่ะ☺
💠จากคำถามนี้ หากต้องการแจ้งความดำเนินคดีถึงที่สุดกับสามี (ถ้าคิดว่าคงอยู่ร่วมกันยากแล้ว หรือชาตินี้อย่าได้เจอกันอีกเลย😅) หากสามียอมจ่ายเงินก้อนครบแล้วก็สามารถถอนแจ้งความได้ค่ะ ไม่มีคดีติดตัว แต่หากเขาขอผ่อนก็ลองให้โอกาสดูโดยมีเงื่อนไขว่าจะไม่ถอนแจ้งความจนกว่าจะชำระครบ แต่หากไม่ยอมให้สามีผ่อนเลยก็ต้องถึงขั้นต้องขึ้นศาลแล้วค่ะ 🤔
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย