27 เม.ย. 2021 เวลา 05:24 • สุขภาพ
Awake prone position
แค่เปลี่ยนท่านอนจาก นอนหงายเป็นนอนคว่ำ
เรื่องง่ายๆ ที่อาจจะช่วยชีวิตคุณจาก COVID ได้
Cr: https://en.medshr.net/open/prone-position
ในขณะที่สถานการณ์การระบาดของโควิดในไทย
ยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง
โดยพบว่าการระบาดส่วนใหญ่ตั้งแต่ 24-26 เมษา
จะอยู่ในเมืองใหญ่ๆ อันได้แก่
- กรุงเทพ+ปริมณฑล
- เชียงใหม่ ชลบุรี สุราษฎร์ สงขลา โคราช
รวมกัน 10 จังหวัด
มีผู้ป่วยรวมกันถึง 76 % ของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งประเทศ
1
ทำให้ในจังหวัดใหญ่ โดยเฉพาะกรุงเทพฯและปริมณฑล
เริ่มมีภาวะการแพทย์เกินขีดจำกัด
ต้องรอคิวเตียงนานโดยเฉพาะเตียง Negative room ICU
ตามข่าวนี้
"สธ.เผยเตียงสำหรับผู้ป่วยหนักมีการครองเตียง
ร้อยละ 70-80 ค่อนข้างตึง ไม่มีพื้นที่เหลือให้ผู้ป่วยรายใหม่เข้าได้ "
1
จนมีข่าวว่ามีผู้ป่วยรอเตียงนาน จนเสียชีวิต
https://covid-19.kapook.com/view240372.html
หรือจากในข่าวจะเห็นว่า
ผู้ป่วยเสียชีวิตบางคนมาถึงโรงพยาบาลไม่นาน
ก็เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
ทั้งที่อาการในไทม์ไลน์ 2-3 วันแรกก็ดูไม่รุนแรง
เนื่องจาก COVID มีอาการไม่เหมือนโรคอื่น
โรคอื่น ป่วยหนักก็มักจะอาการเยอะ
แต่ COVID-19 จะมีผู้ป่วยหนักบางส่วน
ที่ไม่มีอาการเหนื่อย ทั้งที่ลงปอดไปแล้ว
เราเรียกภาวะนี้ว่า
== Happy Hypoxemia หรือ Silent Hypoxemia ==
1
1. Happy Hypoxemia หรือ Silent Hypoxemia คืออะไร
ภาวะออกซิเจนในร่างกายต่ำแต่คนไข้ Covid ไม่มีอาการ
เชื่อว่าเกิดจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว
ทําให้ศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง
ไม่รับรู้การแลกเปลี่ยนก๊าซที่ผิดปกติไปแล้ว
ทำให้หายใจไม่เร็ว ไม่หอบ
มารู้ตัวเริ่มมีอาการอีกทีก็คือ
ตอนที่ covid ลงปอดเยอะแล้ว
ทำให้ปอดอักเสบ ทำให้การแลกเปลี่ยน gas ของปอดแย่ลง
Oxygen ในเลือดลดลง
จนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ
และเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวตามมา
เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะ Happy Hypoxemia
ในช่วงแรกผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ
ทำให้ไม่มารพ. มักจะมาตอนที่เป็นหนักแล้ว
ส่งผลให้ได้รับการรักษาที่จำเป็นล่าช้า
ภาวะนี้ไม่ได้เกิดทุกคนที่เป็น Covid
แต่ถ้ามีแล้วมักจะสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต
ดังนั้น ถ้าผู้เสียชีวิตบางราย รู้จักภาวะนี้และตรวจพบได้เร็วขึ้น
อาจจะทำให้ได้รับการรักษาเช่นยาต้านไวรัสหรือสเตียรอยด์
ที่อาจจะสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยบางรายไว้ได้
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7118652/figure/fig0001/
2. เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรามี ภาวะ Happy Hypoxemia
ภาวะนี้มักจะเกิดในวันที่ 3 วันที่ 7 นับจากวันที่เริ่มแสดงอาการ
หรือประมาณ 5-12 วันหลังจากสัมผัสผู้ติดเชื้อ
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือายุเยอะ จะพบได้บ่อยขึ้น
เนื่องจากภาวะนี้ไม่มีอาการ
ดังนั้นเราจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อ เราซื้อที่วัด Oxygen (Pulse Oximetry)
มาตรวจเองที่บ้าน
โดยวัดวันละ 2ครั้ง
เช้า และเย็น หรือ เมื่อมีอาการผิดปกติ
และวัด ทั้งขณะพัก และ หลังออกแรง
1. ขณะพัก
ค่าปกติ ควรจะมากกว่า 96% ในคนที่ไม่มีโรคปอด หรือ หัวใจ
ก่อนจะวัด ถ้าทาเล็บต้องล้างสีเล็บออกก่อน
ถ้า<= 96% ให้วัดใหม่ โดย
- เช็ดนิ้วให้แห้ง
- เปลี่ยนนิ้ววัดโดยเลือกนิ้วที่พอเหมาะกับขนาดPulse Oximetry
และอย่าขยับนิ้วขณะตรวจ O2
2
2. กระตุ้นให้ออกอาการ โดยการออกกำลังกาย
ทำได้ 3 วิธี
1. เดินไป เดินมา 3 นาที
2. ปั่นจักรยานกลางอากาศ 3 นาที
1+2 วัด O2 ก่อนและหลังออกแรง
ถ้า O2 หลังออกแรงลดลง เกิน 3%
หรือ ค่าO2 น้อยกว่า 96 % ถือว่าผิดปกติ
1
https://www.dms.go.th/
3. ลุกนั่ง บนเก้าอี้ โดยไม่ใช้มือดัน ทำซ้ำให้เร็วที่สุด
ไม่ต่ำกว่า 20-30 ครั้งใน 1นาที
โดย** ต้องวัด O2 ตลอดช่วงเวลาที่ลุกนั่ง **
หยุดก่อน 1 นาที ถ้าคนไข้เหนื่อยไม่ไหว ชีพจร >120 หรือ
O2 ลดลงเกิน 3% หรือ O2 <96 %
ถ้ามีภาวะ O2 ลดลงหลังออกกำลังกาย
ร่วมกับมีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อ หรือมีประวัติเสี่ยงสูง
ให้สงสัยว่า อาจจะมีภาวะ Happy Hypoxemia ได้
3. ถ้ามีภาวะ Happy Hypoxemia แล้วทำอย่างไร
1. ถ้ายังไม่ทราบว่าเป็น COVID-19 หรือไม่
ควรไปตรวจหาสาเหตุที่ O2 ตกลง เป็นจากอะไร
ซึ่งอาจจะเกี่ยวหรือ ไม่เกี่ยวกับ COVID-19 ก็ได้
แต่มีสาเหตุที่ต้องรักษาแน่นอน
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคปอด หรือ โรคหัวใจ
2. ถ้าทราบผลตรวจว่า เป็น COVID-19
แล้วมีภาวะ Happy Hypoxemia
- รีบโทรติดต่อ แจ้ง 1330 1668 1669
เพื่อประสานหาเตียงเพื่อทำการรักษาต่อไป
- ในระหว่างที่รอเตียง ถ้า O2 ขณะพัก <=94% หรือ
เหนื่อยมากขึ้น จนเป็น Unhappy hypoxemia แล้ว
ก็อาจจะทำ Awake prone position
ที่อาจจะช่วยเพิ่มปริมาณ O2 ได้
1
4. Awake prone position คืออะไร
ทำไมการให้ผู้ป่วย Covid-19 บางรายนอนคว่ำ จึงสามารถเพิ่มระดับ O2 ได้
ในผู้ป่วยที่มีภาวะ COVID ลงปอดที่รุนแรง
จะมีการอักเสบของเนื้อปอดกระจายทั่วทั้งสองข้าง
ทำให้เกิดน้ำรั่วไหลเข้าไปในถุงลมปอด ทำให้ปอดบวม
โดยเฉพาะปอดส่วนหลังเพราะน้ำที่รั่วจะไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก
น้ำที่รั่วออกมาจะเป็นตัวขวางไม่ให้ปอดแลกเปลี่ยน O2 ได้
1
ทำให้ปอดส่วนหลังไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดี (Bad Lung)
แต่ปอดส่วนนี้กลับมีเลือดไปเลี้ยงเยอะ
เพราะเวลานอนคว่ำเลือดจะไปเลี้ยงปอดส่วนหลัง
มากกว่าส่วนหน้าเนื่องจากไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก
2
ทำให้เกิดความไม่สมดุลย์ระหว่าง
เลี้ยงที่ไปเลี้ยงปอด กับ
ความสามารถในการแลกเปลี่ยน gas ของปอด
คือ
Bad Lung (ปอดส่วนหลัง)
มีเลือดไปเลี้ยงเยอะ เพราะไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก
Good lung (ปอดส่วนหน้า)
มีเลือดไปเลี้ยงน้อย เพราะไหลต้านแรงโน้มถ่วงของโลก
การนอนคว่ำกลับท่า (Prone Position)
จะทำให้ปอดหน้า กลายเป็นปอดหลัง
ทำให้ Shift เลือดไหลไปหาปอดส่วนดีมากขึ้น
และลดเลือดไปเลี้ยงปอดส่วนที่แย่ลง (Good Lung down)
ส่วนBad lung ลมเข้าไปได้มากขึ้น
ดันน้ำที่รั่วกลับเข้าหลอดเลือดได้บางส่วน
ทำให้ปอดขยายได้ดีขึ้น
ส่งผลให้ O2 ดีขึ้นได้บ้าง จะมาก จะน้อย
ขึ้นสภาพความรุนแรงและเนื้อปอดที่ยังเหลืออยู่
โดยจากการวิจัยเบื้องต้นพบว่า
ถ้าเลือกคนไข้ที่เหมาะสม
สามารถช่วยเพิ่มปริมาณ O2 ในเลือดได้
5. Awake prone position ทำยังไงและต้องระวังอะไรบ้าง
 
ส่วนมาก จะแนะนำให้ทำใน รพ.
เนื่องจากแพทย์จะได้สังเกตอาการและ
ภาวะแทรกซ้อนขณะทำ โดยเฉพาะ
- เสมหะอุดตัน
- ขาดอากาศหายใจ
มักจะทำในผู้ป่วยที่มี Mild Hypoxemia +ได้ O2 แล้วยังไม่ดีขึ้น
แต่ถ้าอยู่ที่บ้านรอเตียง
แล้วอาการแย่ลงจน O2 ขณะพัก < 95%
ไม่มี O2 ที่บ้าน ไม่มีข้อห้าม Prone และ ไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว
ก็อาจจะลองทำเพื่อเพิ่ม O2 ระหว่างรอ admit ได้
ข้อห้ามทำ Awake prone
- คนไข้ ไม่ร่วมมือ สับสน หรือซึม
- มีปริมาณเสมหะจำนวนมาก
- มีกระดูกหักบริเวณใบหน้า หรือ หน้าอก หรือ สะโพก หรือหลัง
- V/S Unstable
- ไม่มีคนเฝ้าระวังและสังเกตอาการขณะที่ทำวิธีทำ ตามรูป ที่ 1
และตามใน Clip YT
กล่าว ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- จับ O2 ก่อนคว่ำ
- ให้ผู้ป่วยนอนคว่ำ เน้นให้ผู้ป่วยจัดท่าเองเน้นให้นอนคว่ำได้สบาย
และ นานๆ โดยใช้หมอนหรือผ้าห่มพับหนุน 3 ที่
คือ - อก - ท้องน้อยถึงสะโพก - ข้อเท้า
ที่เป็นจุดรับน้ำหนักเวลานอนคว่ำ เน้นหนุนให้นอนสบาย
นอนได้นานๆ ตามรูป ใน YT
- ถ้าตอนแรกคนไข้ไม่ชิน ทนไม่ไหว
ก็เริ่มต้นนอนคว่ำซัก 15-30 นาที
แต่ถ้าทนได้ นอนคว่ำยิ่งนานได้ถึง 2-4 ชั่วโมง ยิ่งดี
- แล้วเปลี่ยนท่าไปมา ทุก 2 ชั่วโมง
เพื่อให้เลือดกระจายไปทั่วทั้งปอดและลดโอกาสในการเกิดแผลกดทับ
จากคว่ำ => ตะแคงขวา =>
นอนหัวสูง =>ตะแคงซ้าย และ นอนคว่ำตามเดิม
- ถ้าท่านอนคว่ำได้ผล O2 หลังนอนคว่ำ ควรจะดีขึ้น ภายใน 10-15 นาที
แต่ถ้าไม่ดีขึ้น + Rox index <5 ( SpO2/FiO2 หาร RR)
หรือ clinical ดูแย่ลง คนไข้ไม่ไหวไม่ต้องฝืน
ให้รีบโทรเรียก รพ. อีกรอบ
แต่ถ้าเป็นแพทย์อยู่ในรพ. อยู่แล้ว
ให้รีบใส่ชุด PPE+ เตรียม intubate
สำหรับประชาชนทั่วไป
Awake prone เป็นการรักษาขั้นต้น ที่อาจจะทำได้เองที่บ้าน
ในกรณีที่คนไข้ O2 ไม่ดี และไม่มี O2
หรือ ทำคู่กับการดม O2 ไปพร้อมกัน
เพื่อช่วยเพิ่ม O2 ชั่วคราว ระหว่างรอเตียง
ซึ่งอาจจะได้ผลหรือไม่ได้ผลหรือแย่ลงได้
และ ไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุ จึงไม่สามารถทดแทนการรักษาในรพ.
ดังนั้น
ผู้ป่วยยังต้องได้รับการรักษาใน รพ.อยู่ดีนะครับ
สำหรับแพทย์ทั่วไปและพยาบาล
การทำ Prone position + Oxygen supportive ที่เหมาะสม
สามารถช่วยลดอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจได้
ทำให้ลดโอกาสเสี่ยงของแพทย์และพยาบาลต่อการติดเชื้อได้
ลดวันนอนรพ. ลดโอกาสการติดเชื้อใน รพ.
ทำให้การบริหารเตียงและความแออัดของเตียงทำได้ง่ายขึ้น
โฆษณา