2 พ.ค. 2021 เวลา 02:30 • ธุรกิจ
ฮันนีมูนแคริบเบียน
ความเจ็บปวดจากการจ่ายเงิน
จากหนังสือ
DOLLARS AND SENSE.
DAN ARIELY & JEFF KREISLER.
หลังจากความวุ่นวายของการวางแผนจัดงานแต่งงาน
แอนกับเจฟฟ์ค้นพบสถานที่ที่แสนวิเศษจากเพื่อนฝูง คิดถึงการได้นอนเล่นและเมามายบนชายหาดอันเงียบสงบก็ดูน่าเย้ายวนเกินห้ามใจ ซึ่งก็คือ รีสอร์ตอันสวยงานในทะเลแคริบเบียน ฟังดูเหมือนเป็นสถานที่ที่ยอดเยี่ยมในการเฉลิมฉลองงานแต่งงานและพักฟื้นให้หายเหนื่อย
2
พวกเขาตัดสินใจซื้อแพ็กเกจแบบเหมาๆ เหมารวมทุกอย่างและชำระเงินล่วงหน้า หลังจากถกเถียงกันสารพัดว่าแพ็กเกจเหมารวมน่าจะมีราคาแพงกว่าซื้อตัวเลือกทีละอย่างแบบแยกต่างหาก แถมยังจะทำให้ทานและดื่มกันจนเมามายมากเกินไปอีกด้วย
แต่หลังจากความเหน็ดเหนื่อยจากการจัดงานแต่งงาน พวกเขาตัดสินใจซื้อแพ็กเกจแบบเหมารวม สาเหตุก็คือมันเรียบง่ายมาก เราแค่จองและชำระเงินก็ขีดฆ่าความวุ่นวายไม่รู้จบไปอีกหนึ่งเรื่อง
สองสามวันต่อมา แอนและเจฟฟ์นั่งเครื่องบินไปยังเกาะแสนสวยงามและเงียบสงบ เข้าสู่ช่วงพักผ่อนอย่างจริงจังสักที พวกเรากินอาหารมากเกินไป ดื่มเหล้ามากเกินไปและทำทุกอย่างมากเกินไป กินอาหาร ดื่มเหล้า กินอาหารพร้อมดื่มเหล้า มื้อเช้าแบบเต็มอิ่ม ค็อกเทลบลัดดี้แมรี่ มื้อเที่ยงอาหารทะเลและเหล้ารัม มื้อค่ำพร้อมไวน์ชั้นเลิศ และของหวานปริมาณมาก
เราเจียดเวลาไปกับการทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง ว่ายน้ำ ตีเทนนิส แล่นเรือใบและดำน้ำตื้น
ถึงแม้พวกเราจะตามใจตัวเองมากไปหน่อย แต่เราก็รู้สึกว่าเราสมควรให้รางวัลตัวเองเช่นกัน
ในช่วงหนึ่งที่น่าเบิกบานใจอย่างคาดไม่ถึง
รีสอร์ตติดราคากำกับไว้บนสิ่งของทุกสิ่งทุกอย่าง ติดฉลากทั้งอาหารเครื่องดื่ม ติดฉลากแม้แต่ผ้าเช็ดตัวและเก้าอี้บนชายหาดอีกด้วย
ตอนแรกเราคิดว่านั่นเป็นเรื่องที่ไม่มีรสนิยมเอาเสียเลย แต่เราก็รู้สึกเพลิดเพลินเมื่อได้รับการย้ำเตือนเกี่ยวกับอาหารและความสนุกสนานที่เราได้รับแบบฟรีๆ รวมถึงเงินทั้งหมดที่เราสามารถประหยัดได้
เกิดอะไรขึ้นกันแน่?
ความเจ็บปวดจากการจ่ายเงิน
Pain of paying
ความรู้สึกไม่พอใจและโศกเศร้าจากการจ่ายเงิน การศึกษาโดยวิธีถ่ายภาพระบบประสาทและเอ็มอาร์ไอแสดงให้เห็นว่า การจ่ายเงินทำให้สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลความเจ็บปวดทางกายตื่นตัวขึ้นมา การต้องจ่ายราคาแพงยิ่งกระตุ้นรุนแรงกว่า แต่ไม่ใช่ราคาแพงๆเท่านั้น ราคาเท่าไรก็เหมือนกัน
เราทุกคนล้วนเจ็บปวดเมื่อต้องละทิ้งอะไรบางอย่าง
เมื่อไม่เจ็บปวดย่อมไม่เจ็บปวด
เมื่อเรารู้สึกเจ็บปวดกับอะไรบางอย่าง สัญชาตญาณแรกของเราคือการกำจัดความเจ็บปวดทิ้งไป เราอยากบรรเทาอยากควบคุมมัน
เมื่อเห็นความเจ็บปวดเข้ามา เราจะถอยหนี บ่ายเบี่ยงและหลบเลี่ยงมัน
การหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากการจ่ายเงิน
การหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดเป็นสิ่งจูงใจอันทรงพลังและเป็นศัตรูจอมเจ้าเล่ห์ในเวลาเดียวกัน บางครั้งก่อให้เกิดปัญหามากขึ้นในระยะยาว การสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
แทนที่จะยุติความเจ็บปวดด้วยการไม่จ่าย
เรากลับคิดค้นวิธีการบรรเทาความเจ็บปวด โดยอาศัยความช่วยเหลือและบริการทางการเงินอย่าง "บัตรเครดิต"
บัตรเครดิต
มันเป็นผลลัพธ์ของปัจจัยสองอย่าง
ปัจจัยแรก คือช่องว่างระหว่างเวลาที่เงินหายไปจากกระเป๋าสตางค์กับเวลาที่เราบริโภคสินค้าที่จ่ายเงินซื้อปัจจัยที่สอง คือความใส่ใจที่เรามอบให้แก่การจ่ายเงินนั้น
สูตรในที่นี้คือ
ความเจ็บปวดจากการจ่ายเงิน = เวลา + ความใส่ใจ
จากประสบการณ์ของเจฟฟ์และภรรยา
การจ่ายเงินล่วงหน้าฮันนีมูนการออกเดินทางเป็นเวลานาน หากเขาจ่ายเงินสดเป็นก้อนใหญ่คงหน้านิ่วอย่างไม่ต้องสงสัย แต่พอไปถึงรีสอร์ทที่แสนสวยงาม การจ่ายเงินและความเจ็บปวดเป็นเรื่องที่ผ่านมานานแล้ว ความสนุกสนานทุกอย่างบนเกาะให้ความรู้สึกเหมือนเป็นของฟรี พวกเขาไม่ต้องคิดถึงเงินว่าสิ่งที่จ่ายคุ้มค่าหรือไม่ สามารถทำตามใจต้องการได้เลยทันที
แถมยังได้เห็นตัวเลขราคาแพงๆ แบบแยกรายการที่พวกเขาไม่ต้องจ่าย ยิ่งทำให้รู้สึกดีมากขึ้นไปอีก ตอกย้ำว่าพวกเขาได้ทุกสิ่งทุกอย่างมาแบบฟรีๆ
ป.ล. การควักบัตรพลาสติกออกมาไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวดมากเท่ากับการสูญเสียเงินสด เพราะฉะนั้นเราจึงใช้เงินไปอย่างง่ายดายนั่นเอง
🤸🤸‍♀️🤸‍♂️
🤑ดอยอะไรก็ติดได้..แต่อย่าติดดอยชีวิต🤑วางแผนไว้ก่อน..รู้รอดเป็นยอดดี
หมอลงทุน
FA Sayamon S.
Finnomena ref 116407
ติดต่อแนะนำการลงทุนได้ที่..สมัครเลย!
♥️ใครชอบบทความดีๆแบบนี้ ♥️
รบกวนกด Like กดแชร์ เป็นกำลังใจให้กัน ส่งต่อความรู้ดีๆ ให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆทุกคนน้า
blockdit หมอลงทุน
facebook หมอลงทุน
...
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน
โฆษณา