27 เม.ย. 2021 เวลา 13:13 • การศึกษา
[PR] เมื่อประมาณ 2 ปี ก่อน ผมเห็นข่าวน้ำท่วมที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสิ่งที่สะกิดใจผมในข่าวนั้น ก็คือ น้ำที่อยู่ในท่อระบายน้ำของประเทศญี่ปุ่นนั่นใสอย่างกับสระว่ายน้ำในโรงแรม 5 ดาว แถมยังมีปลาว่ายน้ำอยู่อีกต่างหาก
นั่นจึงทำให้ผมสงสัยว่า บ้านเขาจัดการระบบกันอย่างไร ทำไมประเทศที่มีประชากรถึงถึง 126 ล้านคน ถึงสะอาดได้ขนาดนั้น
หลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเพราะคนญี่ปุ่นมีจิตสำนึกในการทิ้งขยะที่ดี แต่ผมคิดว่าความเชื่อนี้ถูกต้องแค่ครึ่งเดียว เพราะผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็อยากมีจิตสำนึกที่ดี แต่ไม่มีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง และ ไม่มีระบบที่อำนวยมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการขยะ ระบบการจัดการน้ำเสีย หรือ ระบบการจัดการมลภาวะทางอากาศ
หลังจากนั้นไม่นานผมได้มีโอกาสไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น และ ได้ไปศึกษาวิธีการจัดการบ้านเมืองของเขา จึงพบความจริงว่า ที่บ้านเขาสะอาด เพราะเขามีระบบการจัดการขยะที่ดีมาก คือ ทุกคนต้องแยกขยะตั้งแต่ในบ้าน เพราะถ้าไม่แยกรถเก็บขยะจะไม่รับไป เนื่องจากในแต่ละวันจะมีรถมาเก็บขยะที่บ้านไม่ซ้ำประเภทกัน โดยดูจากโปสเตอร์การทิ้งขยะ เช่น วันจันทร์และวันพฤหัสจะทิ้งขยะเผาได้ วันอังคารจะทิ้งขยะพวกพลาสติกและกระดาษ วันพุธจะทิ้งขวดพลาสติก กระป๋อง แก้ว ส่วนวันศุกร์จะทิ้งขยะที่เผาไม่ได้
เมื่อขยะถูกขนส่งไปยังโรงกำจัดขยะแล้ว จะเห็นว่าเครื่องมือ และ ระบบการจัดการขยะของเขานั้นยอดเยี่ยมมาก เพราะขยะที่จำเป็นต้องเผาเขาก็จะมีระบบกรองอากาศจนบริสุทธิ์ ถ้าถามว่าบริสุทธิ์ขนาดไหน ?
คำตอบคือ มันบริสุทธิ์ถึงขนาดที่เขาสามารถสร้างสวนสาธารณะ และ สนามกีฬา เอาไว้รอบๆ โรงกำจัดขยะได้เกือบทุกแห่งเลยแหละ แถมยังมีระบบที่สามารถนำขยะบางประเภทไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้อีก
ซึ่งมูลค่าเพิ่มที่ว่านี้ ไม่ใช่การเอาไปแลกเงิน แลกไข่ไก่ อย่างที่เราเห็นกัน แต่คือ การเอาไปสร้างตึก สร้างห้างสรรพสินค้า สร้างสนามบินคันไซ หรือ แม้กระทั่งสร้างแผ่นดินอย่างเกาะโอไดะบะ
ผมกลับมาประเทศไทยด้วยความหวังเล็กๆ ว่า “ถ้าประเทศไทยของเราทำได้อย่างเขาสักครึ่งนึงก็คงดี ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไปได้ยากก็ตาม”
และในที่สุดวันนี้ความหวังเล็กๆ ของผมในวันนั้นก็เหมือนจะใกล้ความจริงแล้ว เพราะตอนนี้ ทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้นำระบบการจัดการที่เรียกว่า YOU เทิร์น แพลตฟอร์ม ในการเข้ามาจัดเก็บข้อมูลในการบริหารจัดการขยะที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งด้านการจัดการ ด้านการรับซื้อ การบริหารจัดการ การบันทึกข้อมูลขยะ การคัดแยก การจัดเก็บ ตลอดจนการจัดการด้านการขายพลาสติก Recycle ให้กับโรงงาน ENVICCO โดยตรง รวมถึงการจัดการด้านการขนส่ง (Logistic) ที่มาช่วยวางแผนการขนส่งทำให้ลดต้นทุนได้ เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับชุมชนที่จัดตั้งศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล
โดยตอนนี้ได้นำร่องแล้วที่ ชุมชนวัดชากลูกหญ้า จังหวัดระยอง ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่าง วิสาหกิจชุมชนธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า GC และ ENVICCO ซึ่งไม่ใช่การทำกันแบบเล่นๆ ให้จบๆ ไป แต่เขาทำกันมาอย่างจริงจังสักระยะแล้ว โดยชาวบ้านที่เป็นสมาชิกของโครงการ จะต้องนำขยะมาฝากตามที่กำหนด เพื่อรักษาความเป็นสมาชิกไว้ ส่วนเงินที่ได้จากการเอาขยะมาฝากไว้ ทุกคนมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เอาไว้ดูแลเรื่องของฌาปณกิจ และจัดสรรในเรื่องของสวัสดิการ ทุนการศึกษา ค่ารักษาพยาบาล
ถึงแม้ว่านี่จะเป็นแค่ส่วนเล็กๆ ถ้าเทียบกับทั้งประเทศ แต่ทุกความยิ่งใหญ่ ล้วนเกิดมาจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของคนกลุ่มเล็กๆ ทั้งนั้น
เชื่อเหลือเกินว่า จุดเล็กๆ ของชุมชนวัดชากลูกหญ้าจะสามารถแผ่ขยายไปยังจุดอื่นๆ จนในที่สุดจุดเล็กๆ นั้นจะสามารถรวมกันเป็นจุดที่ยิ่งใหญ่ และ เปลี่ยนแปลงประเทศของเราได้
#ชุมชนเข้มแข็ง
#เคมีเดียวกันสร้างสรรค์ทุกความสุข
#GCCircularliving
#ChemistryForBetterLiving
โฆษณา