24 พ.ค. 2021 เวลา 15:41 • สุขภาพ
*** JCI 6th edition Top Ten Scored Measurable Elements***
1
สำนักงาน JCI ได้รวบรวมข้อมูลผลการตรวจประเมิน JCI ของทั่วโลกในช่วงปี 2018 - 2020 และสรุปเป็นประเด็นความไม่สอดคล้อง (non compliances) ที่พบบ่อยที่สุด 10 อันดับแรก ดังภาพนี้
1
ประเด็นความไม่สอดคล้อง (non compliances) ที่พบบ่อยที่สุด 10 อันดับแรก (2018 - 2020)
จากตารางสรุปข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า
ประเด็นที่ตกบ่อยเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่อง 3 ปี คือ
### FMS 4 ME1 (6th ed.) หรือ FMS 5 ME1 (7th ed.) ###
1
ซึ่งก็คือ การที่องค์กรต้องจัดให้มีโปรแกรมการจัดการสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย (Safe Physical Facility) ซึ่งจากข้อมูลที่ทาง JCI รวบรวมมานั้น พบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยและอาจทำให้เกิดการลื่น หกล้ม, อันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็ก, และความเสี่ยงหรือความไม่ปลอดภัยจากไฟฟ้า ซึ่งสิ่งที่องค์กรควรดำเนินการคือ การทำ Facility Round หรือ Environment Round ซึ่งเป็นการทำงานเชิงรุกในการเดินสำรวจสภาพแวดล้อมและอาคารสถานที่ขององค์กรเพื่อค้นหาความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในองค์กร ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วการทำ Facility round นั้น ทีมที่รับผิดชอบจะเดินสำรวจความเสี่ยงในทุกๆ ด้านของมาตรฐาน FMS (Facility Management and Safety) ไม่เฉพาะแค่ด้านความปลอดภัย (Safety) แต่ยังรวมถึงด้านการรักษาความปลอดภัย (Security) ความปลอดภัยจากอัคคีภัย (Fire Safety) อันตรายจากสารเคมีและขยะ (Hazardous Materials and Waste) เครื่องมือแพทย์ (Medical Equipment) ระบบสาธารณูปโภค(Utility Systems) และการจัดการภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติ (Emergency and Disaster Management)
1
การทำ Facility Round หรือ Environment Round จะช่วยให้ทีมงานและผู้บริหารขององค์กรพบประเด็นความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้และกำหนดมาตรการ/แนวทางการจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นได้ก่อนที่ความเสี่ยงจะลุกลามหรือมีระดับความรุนแรงขึ้น
1
****************************************************
นอกจากนี้ จะสังเกตเห็นว่ายังมีอีกหลายประเด็นที่อยู่ใน Top 10 scored MEs ต่อเนื่องตลอด 3 ปี ซึ่งได้แก่ SQE 11 ME3, QPS 4.1 ME1, PCI 7 ME1, FMS 7 ME6 ซึ่งจะขอเล่ารายละเอียดทีละประเด็นนะคะ
1
### SQE 11 ME3 ###
1
คือ การนำข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิกของแพทย์มาทบทวนและเปรียบเทียบกับภายนอก (external benchmarking) โดยใช้ข้อมูลที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ (objective and evidence-based information) ซึ่งประเด็นนี้พบบ่อยมาก โดยส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีการติดตามและทบทวนผลลัพธ์ทางคลินิกของแพทย์โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลภายใน เช่น เปรียบเทียบภายในแผนกเฉพาะสาขานั้นๆ หรือในบางองค์กรก็ไม่พบหลักฐานการเปรียบเทียบเลย อย่างไรก็ตาม มาตรฐาน JCI (7th ed.) ได้ยกเลิก Measurable Elements ข้อนี้
1
ดังนั้น องค์กรควรทบทวนกระบวนการประเมินการปฏิบัติงานของแพทย์ให้ชัดเจน เริ่มตั้งแต่การกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางคลินิกของแพทย์แต่ละสาขา โดยให้แพทย์หัวหน้าสาขาหรือแพทย์อาวุโสมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการประเมินผล รวมทั้งการส่งเสริมให้แพทย์แต่ละสาขามีส่วนร่วมในการกำหนดและเห็นพ้องกับ threshold ที่จะกำหนดขึ้น และควรมีกระบวนการในการเก็บข้อมูลที่ชัดเจนโปร่งใส เพื่อให้การเปรียบเทียบผลลัพธ์ทางคลินิกนั้นน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับและนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง
1
### QPS 4.1 ME1 ###
คือ การเก็บ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์นั้นเพื่อค้นหาโอกาสพัฒนา ซึ่งก็คือเปลี่ยนจาก "ข้อมูลที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ (Data)" ให้เป็น "ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนาได้ (Information)" นั่นเอง โดยผลการตรวจประเมิน JCI ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมานั้น พบประเด็นนี้ต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี ซึ่งก็คือ การที่องค์กรมีการเก็บข้อมูลไว้มากมาย ทั้งในระดับองค์กร ระดับคณะกรรมการ ระดับหน่วยงาน แต่ไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูล เช่น พบการเก็บข้อมูลในรูปแบบตารางเป็นรายเดือนแต่ไม่ได้นำไปวิเคราะห์เพื่อหาแนวโน้มของปัญหา โดยการใช้เครื่องมือทางสถิติต่างๆ เพื่อช่วยให้เห็นปัญหาและโอกาสพัฒนาได้ชัดเจนขึ้น
1
สิ่งที่เป็น key success factors สำหรับมาตรฐานข้อนี้ คือ การจัดลำดับความสำคัญและเลือกตัวชี้วัดที่จะสะท้อนคุณภาพของการบริการหรือการดูแลรักษา (ทั้งในระดับองค์กร ระดับคณะกรรมการ และระดับทีม/หน่วยงาน), การมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้เครื่องมือคุณภาพ รวมทั้งเครื่องมือสถิติ เพื่อให้สามารถแปลผลข้อมูล เห็นแนวโน้มของปัญหาและโอกาสพัฒนา รวมทั้งการพัฒนาให้หัวหน้างานทุกคนมีความรู้ทักษะเกี่ยวกับเครื่องมือคุณภาพและสถิติเบื้องต้น ก็เป็นปัจจัยของความสำเร็จอย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน
1
### PCI 7 ME1 (6th ed.) หรือ PCI 6 ME1 (7th ed.)###
1
คือ การที่องค์กรปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่เป็นวิชาชีพและคำแนะนำของผู้ผลิตสำหรับเทคนิคการทำให้ปลอดเชื้อที่เหมาะสมกับประเภทของสถานการณ์สำหรับอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จะต้องทำให้ปลอดเชื้อ ซึ่งตัวอย่างประเด็นที่พบบ่อยในบ้านเรา คือ การแขวน endoscope ที่ส่วนปลายมักจะติดพื้น
1
ดังนั้น องค์กรควรทบทวนและประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างน้อยปีละครั้ง (Annual IC Risk Assessment) และนำผลการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวมากำหนดเป็น IC program และกำหนดกลยุทธ์ในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเร่งด่วนและความสำคัญของปัญหา นอกจากนั้น การทำ IC round ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้บริหารขององค์กรได้ทราบปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดจากการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานวิชาชีพและนโยบายขององค์กร และดำเนินการปรับปรุงได้อย่างทันเวลาและเหมาะสม
1
### FMS 7 ME6 (6th ed.) หรือ FMS 8.2 ME1 (7th ed.) ###
1
คือ โปรแกรมความปลอดภัยด้านอัคคีภัยครอบคลุมทางออกจากอาคารที่ปลอดภัยและไม่มีสิ่งกีดขวางเส้นทางออกทั้งในกรณีเมื่อเกิดอัคคีภัย หรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ ซึ่งประเด็นที่พบบ่อยๆ คือ การมีสิ่งกีดขวางในเส้นทางหนีไฟ การมีอุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไม่เพียงพอสำหรับการเคลื่อนย้ายแนวดิ่ง ประตูทางออกหนีไฟนั้นถูกล็อคไว้ เป็นต้น
1
ดังนั้น ทีม FMS หรือ ENV ควรทบทวนและประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัยทั้งในระดับหน่วยงานและระดับองค์กร (Unit-based Fire Safety Risk Assessment) และระดับองค์กร (Facility-wide Fire Safety Risk Assessment) รวมทั้งนำข้อมูลจากการทำ FMS round เป็นระยะๆ นั้น มาใช้ในการค้นหาความเสี่ยงและกำหนดมาตรการป้องกันหรือลดความเสี่ยงเหล่านั้น
1
จะเห็นได้ว่าการทบทวนและประเมินความเสี่ยงเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นหาโอกาสพัฒนา และเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้รับบริการ บุคลากร และผู้ที่มาใช้พื้นที่ของสถานพยาบาล ซึ่งมาตรฐาน JCI Hospital Standards (7th ed.) จะเน้นเรื่องนี้มากขึ้นค่ะ
1
=============================
โฆษณา