Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คนในเครื่องแบบ
•
ติดตาม
30 เม.ย. 2021 เวลา 16:04 • ประวัติศาสตร์
ราชปะแตน
คนในเครื่องแบบ คำนี้ ภาพในหัวที่ออกมาของใครหลายคนคงจะออกมาเป็น แนวทางเดียวกันว่าเป็น บุคคลที่มีอำนาจ รูปร่างหน้าตา และบุคลิกที่ดูดีมาก ในสายตาของวัฒนธรรมไทย
แอดมิน ก็เป็นบุคคลหนึ่งที่หลงไหลในเครื่องแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแบบของไทยเองหรือต่างชาติ ที่แต่ละหน่วยงานได้นำเสนอตัวตนของตัวเองออกมา โดยการสื่อสารทางเสื้อผ้า การแต่งกายที่ทรงเกียรติ แอดมินจึงอยากเป็นสื่อกลางของบุคคลที่ชื่นชอบและหลงไหลในเครื่องแบบต่างๆ เข้ามาแชร์ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นได้ใน ช่องทางต่างๆของ Page”คนในเครื่องแบบ” ได้ครับ
ใน Ep.1 ของเริ่มด้วยเครื่องแบบที่ใกล้ตัวที่สุดของประชาชนชาวไทย คือ ราชปะแตน สำหรับประเทศไทยของเราการสวมใส่เครื่องแบบเริ่มมีขึ้นมาตั้งแต่สมัย สุโขทัย อยุธยา จนเข้ามาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แล้วพัฒนามาเรื่อยๆ จนถึงสมัยช่วงรัชกาลที่ 4 และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงปรารภไว้ว่าควรที่จะปรับปรุงเสื้อหรือชุดราชการได้แล้ว และนั่นจึงทำให้เกิดเป็นชุดราชปะแตน ซึ่งมีที่มาจาก คำว่า "ราช" รวมกับคำว่า "แพทเทิร์น" กลายเป็น ราชปะแตน ชุดราชปะแตนจะเป็นเสื้อสีขาวลักษณะคอเสื้อจะเป็นคอตั้ง ทรงเสื้อจะมีลักษณะแบบแขก มีกระดุมด้านหน้า 5 เม็ดด้วยกัน ส่วนด้านล่างจะเป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมถุงเท้ายาวถึงเข่า และใส่รองเท้าหุ้มส้นแบบฝรั่ง
ราชปะแตนเป็นเสมือนเครื่องแบบของข้าราชการพลเรือน โดยส่วนมากจะสวมกับผ้านุ่งโจงสีกรมท่า ซึ่งผ้านุ่งโจงนั้นเรียกกันสั้นๆ ว่า ผ้าม่วง บ้างก็ตัดด้วยแพร ผ้าลายบ้าง ต่อมาไม่สวมแต่เฉพาะกับผ้าม่วง หากแต่สวมกับกางเกงแพรด้วยเสื้อราชปะแตนเป็นที่นิยมอยู่นาน จนยุคต้นเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 มีประกาศกฎหมายวัฒนธรรม ห้ามนุ่งผ้าม่วง และกางเกงแพร เสื้อราชปะแตนจึงหายไปตั้งแต่นั้น ต่อมาในสมัยที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยแนวคิดของการกำหนดรูปแบบเครื่องแต่งกายไทยให้มีลักษณะเฉพาะแต่ยังเป็นสากล จึงได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานแบบจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งก็ได้พระราชทานแบบเสื้อตามที่เคยทรงอยู่บ่อยๆ โดยเป็นเสื้อสูทคอตั้งที่เรียกกันว่าคอแมนดาริน (Mandarin Collar) หรือคอเหมา (Mao Collar) โดยมี 3 แบบคือ แบบแขนสั้นสำหรับงานกลางวัน แบบแขนยาวสำหรับงานกลางคืน และแบบแขนยาวมีผ้าคาดเอวสำหรับงานที่เป็นทางการ หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้สวมเสื้อพระราชทานนี้แทนชุดสากลนับตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2523 แต่ยังมีลักษณะพิเศษเพิ่มเติมแตกต่างจากเสื้อราชปะแตนเดิม คือให้เลือกใช้ผ้าตามแต่ละท้องถิ่น ทำให้ชุดมีสีสันและลวดลายแปลกตากว่าเดิม
หยอยศักดิ์
คนในเครื่องแบบ
อ้างอิง
1. พันธุ์ชนะ สุนทรพิพิธ, ชุดราชปะแตน เหตุใดคนไทยทึกทักเอาว่าเป็นของตน? นิตยสารจีคิว
2. Picture :
http://writer.dek-d.com/freya1412/story/viewlongc.php?id=1092321&chapter=1
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย