30 เม.ย. 2021 เวลา 17:51 • ปรัชญา
น้ำสองแก้ว (ปรัชญาอวตังสกะ)
ชื่อรูปภาพ น้ำสองแก้ว
จากภาพที่ปรากฏข้างต้น เป็นภาพของแก้วน้ำที่บรรจุน้ำอยู่ 2 ใบ ใบแรกเป็นน้ำเปล่าส่วนอีกแก้วเป็นน้ำปลา ซึ่งหากคนภายนอกที่ยังไม่รู้ว่าน้ำทั้งสองคือน้ำอะไรบ้าง ก็คงสงสัยคิดกันไปต่าง ๆ นานา ซึ่งผู้เขียนก็ได้ทดลอง ทดสอบบุคคลต่าง ๆ ดูเช่น ถามแม่ว่า “แม่ให้ทายว่า สองแก้วนี้มีน้ำอะไรอยู่บ้างแม่ก็ทายว่าน้ำเปล่ากับโค๊ก แล้วให้แม่เลือกว่าจะชิมอันไหน ซึ่งแม่เลือกน้ำเปล่า เลยได้กินน้ำเปล่าไป” และต่อมา ลองถามน้องดูว่ามีน้ำมาให้เลือก แก้วแรกเป็นเหล้าขาว ส่วนแก้วที่ 2 เป็นโค๊ก น้องจะเลือกกินอันไหนซึ่ง รู้ ๆ อยู่แล้วว่าน้องไม่กินแอลกอฮอล์ น้องเลยเลือก แก้วที่บอกว่าเป็นโค๊กทั้งที่จริงแล้วแก้วที่ 2 เป็นน้ำปลา ถือว่าแกล้งน้องได้สำเร็จ และคนสุดท้ายเป็นเพื่อนที่สนิทที่ชอบกินแอลกอฮอร์มาก เลยบอกให้เพื่อนเลือก ระหว่าง สองแก้ว ที่โกหกว่า แก้วแรกเป็นเหล้า แล้วอีกแก้ว เป็นโค๊กจะเลือกอะไร เพื่อนเลยเลือกเหล้าเพราะไม่ชอบกินโค๊ก จากการทดสอบนี้ทำให้เห็นมุมมองของแต่ละคนที่มีความชอบต่างกัน มีมุมมองต่างกันตามแต่ละบุคคล
จากแก้วน้ำ สอง ใบข้างต้นก็มีคุณสมบัติแตกต่างกัน อย่างเช่น น้ำเปล่านั่น ในแง่มุมของคนที่มองน้ำเปล่าในเวลาที่ต่างกันเช่น เวลาเราเหนื่อยเราจะเห็นว่าน้ำเป็นเครื่องดื่มดับกระหาย เวลามือเราเปื้อนเราจะเห็นความสำคัญของน้ำ เป็นน้ำล้างมือหรือ ในแง่มุมมองของนักวิทยาศาสตร์ จะมองเห็นน้ำเป็นสารโมเลกุลอย่างหนึ่ง หรือ น้ำ นั้นเป็นสิ่งที่ช่วยดับไฟ แต่จริง ๆ แล้วน้ำ ซึ่งมีออกซิเจนอยู่อาจเป็นตัวที่ทำให้เกิดไฟก็ได้ ซึ่งในแง่นี้ เราจะเห็นว่าน้ำแท้ที่จริงแล้วมีคุณสมบัติที่หลากหลายมิติมากมายแต่ว่าเราไม่หยั่งรู้ทั้งหมด เราจึงไม่ควรมองสิ่งต่าง ๆ เพียงด้านเดียวแต่ควรมองให้รอบ ๆ ด้าน มองหลาย ๆ มิติ น้ำปลา ก็เหมือนกัน น้ำปลาจะช่วย ชู รสชาติของอาหาร แต่ในขณะเดียวกันหากใส่มากเกินไปอาจเป็นการ ทำลาย รสชาติอาหารนั้น ๆ ก็ได้
จากรูปภาพข้างต้น จะเห็นว่า มี แก้วน้ำสองใบและมีบรรจุภัณฑ์ของน้ำทั้งสองอยู่ด้วย จากภาพข้างต้น อาจไม่ได้สื่อถึง มิติ ทางด้านวัตถุและศิลปะทางศาสนาด้วยตรง แต่ผู้เขียนจะนำมาเชื่อมโยงกับแนวคิดของ อวตังสกะ ให้เห็นถึงมิติด้านวัตถุและศิลปะผ่านภาพข้างต้น
แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความจริงแท้สูงสุดกับสิ่งที่ปรากฏ
เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เป็นความจริงสูงสุดกับปรากฏการณ์ทั้งหลายคณาจารย์ของนิกายนี้ จึงแบ่งธรรมชาติทั้งหลายที่มีอยู่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
(1) ความจริงสูงสุด คือ คุณสมบัติที่ปกแผ่ไปทั่วสากลจักรวาล เป็นความจริงของสิ่งทั้งหมด
(2) ปรากฏการณ์ คือรูปแบบที่ปรากฏออกมาทางวัตถุ อยู่ภายใต้ขอบเขตของเวลาและสถานที่ธรรมทั้งสองส่วนนี้ มีความสัมพันธ์กันในลักษณะ 2 ประการ
กล่าวได้ว่า น้ำปลาที่เราเทลง บนแก้วนั้น เมื่อไม่ได้อยู่ในขวดก็ไม่มีใครรู้ว่าเป็นน้ำปลายี่ห้ออะไร และขวดที่เป็นบรรจุภัณฑ์นั้นหากไม่มีน้ำปลาก็เป็นแค่ขวดเปล่า ๆ การที่จะเป็นน้ำปลา ยี่ห้อ ๆ หนึ่งที่สมบูรณ์ จึงจะต้องประกอบด้วยน้ำปลาและขวดรูปแบบที่บรรจุน้ำปลานั้นไว้ เราจึงบอกได้ว่า น้ำปลาเปรียบเป็น คุณสมบัติที่เป็นจริง และขวดน้ำปลา เป็นปรากฏการณ์ที่ถูกออกแบบมาให้เห็นน้ำปลาตามรูปแบบต่าง ๆ ตามยี่ห้อของน้ำปลา นั้น ๆ ที่เราสามารถ เลือกซื้อได้โดยแท้ที่จริงแล้ว ธาตุแท้ก็คือน้ำปลาต่อให้เป็นน้ำปลาในแก้วหรือในขวดก็เป็นน้ำปลายี่ห้อนั้น ๆ แต่การนำมาใส่ขวดคือการสร้างปรากฏการณ์ออกมาทางรูปแบบของวัตถุ น้ำปลาเปรียบเสมือนความจริงสูงสุด ขวดเปรียบเสมือนปรากฏการณ์ ปรากฏการณ์แต่ละอย่างไม่ว่าจะมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันเพียงใดก็ตาม
1
อวตังสกะ สอนให้รู้จัก ปล่อยวาง คือการ ทำจิตให้ว่างเป็นศูนยตา และจะทำให้ หยั่งเห็นธรรมธาตุของสิ่งต่าง ๆ โดยการมองสิ่งต่าง ๆ นั้นไม่ควรมองด้านใดด้านหนึ่งแต่ควรมองให้ลึกลงไปถึงแก่นแท้ มองให้หลาย ๆ ด้าน เพราะบางสิ่งที่เรามองเห็นนั้นอาจจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ที่ ถูกสร้างขึ้นเท่านั้นแต่เราไม่ได้หยั่งเห็นธรรมธาตุหรือเนื้อแท้ข้างในจริง ๆ ก็ได้
โฆษณา