-การติดตั้งเรดาร์รุ่น AN/APG-68(V)9 ของบริษัท Northrop Grumman ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง สามารถตรวจจับข้าศึกได้ไกลกว่าเดิมถึง 2 เท่า (296.32 กิโลเมตร) และมีระบบสร้างภาพภาคพื้นดินความละเอียดสูง (Synthetic Aperture Radar: SAR) สามารถ Scan เป้าหมายภาคพื้นด้วยความละเอียดสูงกว่าเดิมมาก ช่วยให้นักบินสามารถระบุและยืนยันเป้าหมายได้จากระยะไกล
-ระบบระบบพิสูจน์ฝ่าย AN/APX-113 Combined Interrogator and Transponder ของบริษัท BAE Systems ซึ่งระบบพิสูจน์ฝ่ายแบบใหม่ Advanced Identification Friend or Foe: AIFF จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการบินจากการระบุฝ่ายของอากาศยาน และเป็นการป้องกันการยิงอากาศยานฝ่ายเดียวกัน
-ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบ AN/ALQ-213 Electronic Warfare Management System ของบริษัท Terma มีระบบการจัดการสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการ สามารถปล่อยเป้าลวงจรวดนำวิถีด้วยความร้อนและรบกวนการตรวจจับด้วยเรดาร์ ของข้าศึกแบบอัตโนมัติได้ จึงเป็นการลดภารกรรมของนักบินในขณะเข้าไปทำลายเป้าหมายและเพิ่มโอกาสความอยู่รอดในพื้นที่การรบอีกด้วย
-ระบบเป้าลวงแบบ AN/ALE-47 Airborne Countermeasures Dispenser System ของบริษัท BAE Systems
-การออกแบบและเปลี่ยนระบบแสดงผลของห้องนักบิน
-เปลี่ยนคันบังคับนักบิน
-ติดตั้งระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางยุทธวิธีแบบ Link 16 ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบ Air Command and Control System หรือ ACCS ของกองทัพอากาศไทย ซึ่งระบบ Tactical Data Link แบบ Link-16 จะแบ่งบันข้อมูลของอากาศยานฝ่ายเดียวกันของทุกหมู่บิน ตลอดจนหน่วยรบทุกเหล่าทัพที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้ อันจะทำให้ทุกคนมีความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ขณะทำการรบสูงสุด และทำให้การฝึกรบร่วมกับนานาประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
-หมวกบินติดศูนย์เล็งแบบ Joint Helmet-Mounted Cueing System (JHMCS) ของบริษัท Boeing เพื่อแสดงข้อมูลการบินและการใช้อาวุธ
-กระเปาะชี้เป้าแบบ Sniper ATP ของบริษัท Lockheed Martin
-จรวดอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ AIM-120C-5 AMRAAM
-จรวดอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้อินฟราเรดแบบ IRIS-T
-ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์และดาวเทียม