15 พ.ค. 2021 เวลา 14:40 • สุขภาพ
10 Ways to Be Vegan
10 เส้นทางเริ่มต้นสู่การเป็นชาววีแกนในแบบของตัวเราเอง
เรารู้กันดีว่าชาววีแกน (Vegan) หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ รวมถึงเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากสัตว์ รวมถึงการเบียดเบียนสัตว์ในทางใดทางหนึ่ง เช่น หลีกเลี่ยงสินค้าที่ทดลองกับสัตว์ กระเป๋าหนังสัตว์ เป็นต้น
แต่ว่า เราจำเป็นต้องจริงจังขนาดนั้นตั้งแต่เริ่มต้นเป็นวีแกนเลยรึเปล่า?
ลองมาดู 10 เส้นทางสู่การเป็นชาววีแกน คุณเป็นวีแกนสายไหน
1. Dietary Vegan สายนี้เราเน้นที่ไม่กินเนื้อสัตว์ นม หรือไข่ แต่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร เรายังไงก็ได้
2. Ethical Vegan เหมือนกลุ่มแรกคือไม่กินเนื้อสัตว์ นม หรือไข่ แต่ได้ยกระดับไปอีกขั้นด้วยการหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ เช่น เสื้อผ้าขนสัตว์ กระเป๋าหนังสัตว์
3. Green Vegan คล้ายๆ Ethical Vegan แต่ต่างกันที่เหตุผล กรีนวีแกนหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากสัตว์เนื่องจากผลกระทบจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ทั้งเรื่องสัตว์ได้รับการปฏิบัติอย่างไร และผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวม
อุตสาหกรรมปศุสัตว์ไก่
4. Raw Vegan วีแกนสายดิบ เคร่งการกินอาหารจากพืช (plant-based diet) ที่ไม่ปรุงให้สุกเกิน 40องศาเซลเซียส อาจดูจริงจังไปหน่อย แต่ว่ามันจะดีต่อสุขภาพมากแน่นอน
5. Plant-Based Vegan ความแตกต่างหลักระหว่าง Plant-Based Vegan กับชาววีแกนกลุ่มอื่น ๆ คือวีแกนสายนี้จะพิถีพิถันในเรื่องแหล่งที่มาของอาหาร
อาทิ Dietary Vegan อาจไม่รู้สึกอะไรที่จะกินอาหารแปรรูป เช่นชีสที่ไม่ใช้นมหรือเนื้อหมูจำแลง แต่Plant-Based Vegan จะไม่กินอาหารแปรรูปหรืออาหารที่ผ่านการปรุงแต่งเลย
Plant-Based Vegan
6. VB6 (ย่อมาจาก Vegan Before 6:00)
มาร์ค บิตต์แมน ผู้เขียนหนังสือ VB6: Eat Vegan Before 6:00 to Lose Weight and Restore Your Health . . . for Good
เขาสนับสนุนให้กินอาหารวีแกนอย่างเคร่งครัด คือไม่กินเนื้อสัตว์ นม หรืออาหารแปรรูปก่อน 18.00น. แต่หลัง 18.00น. คุณสามารถกินอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ (แต่ในปริมาณที่พอเหมาะ)
บิตต์แมนซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน วิธีนี้ช่วยให้เขาหลีกเลี่ยงการใช้ยาได้ตลอดชีวิต
7. The Paris Vegan หรือเรียกว่า “Paris Exception” ปีเตอร์ ซิงเกอร์ นักปรัชญาชาวออสเตรเลียได้อธิบายไว้ว่า
“ถ้าคุณอยู่ในร้านอาหารชั้นเลิศ คุณสามารถเลือกสั่งอาหารวีแกนที่คุณชอบได้ตามที่ต้องการเลย แต่ถ้าไม่มีอาหารวีแกนในเมนูล่ะ …ก็กินอาหารมังสวิรัติแทนก็ได้นะ”
ง่ายๆ ก็คือ กินอาหารวีแกนทุกวันนั่นแหละ แต่…ถ้าอยู่ในที่ที่ยากต่อการจะได้มาซึ่งอาหารวีแกน จงอย่าโทษตัวเองที่จะต้องกินมังสวิรัติแทนเลย มันไม่ได้ผิดบาปอะไรขนาดนั้นนะ🤗🤗
Vegan VS Vegetarian
8. Weekday/Weekend Vegan บางคนเป็นวีแกนวันจันทร์ถึงศุกร์ (และกินอะไรก็ได้ในวันหยุดสุดสัปดาห์) หรือเป็นวีแกนเฉพาะวันหยุดเสาร์อาทิตย์
หรือแม้แต่เป็นวีแกนเฉพาะวันเกิด เช่น ทุกวันศุกร์ การทำตามแผนการกินแบบนี้ก็อาจได้ผลดีกว่าสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมเป็นวีแกนเต็มตัว
9. Virtually Vegan วีแกนสายนี้ไม่กินเนื้อสัตว์และส่วนใหญ่ก็หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนม คือไม่ซื้อไข่หรือนม
แต่หากพบว่ามีนมเป็นส่วนประกอบอยู่ในขนมปังธัญพืชรวม 12 ชนิดที่ชอบ ก็กินได้ไม่ซีเรียส☺️
แถมไม่กังวลกับการใช้น้ำผึ้งอีกด้วย วีแกนกลุ่มนี้เชื่อว่าน้ำผึ้งเป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติและคนเลี้ยงผึ้งก็ดูแลผึ้งเป็นอย่างดี
Virtually Vegan ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในแต่ละวันโดยหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แต่ก็จะไม่หยุมหยิมกับดีเทลเล็กๆน้อยๆ
10. Travel Vegan เป็นวีแกนเกือบตลอดเวลายกเว้นเวลาเดินทาง
การเดินทางคือการได้สัมผัสประสบการณ์และวัฒนธรรมใหม่ๆ ของประเทศนั้นๆ ทั้งดนตรีท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น รวมไปถึงอาหารท้องถิ่น
การหลีกเลี่ยงอาหารท้องถิ่นที่น่าสนใจอาจขัดขวางการเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิตก็ได้
เช่นเวลาไปเที่ยวฝรั่งเศส Travel Vegan ก็ควรจะได้ลองชิมครัวซองต์ หรือถ้าไปเที่ยวนิวออร์ลีนส์ก็ต้องไม่พลาดbeignet (เบนเย่ - ซาลาเปาทอดโรยไอซิ่ง)
เบนเย่
แล้วคุณล่ะ เป็นวีแกนสายไหนกันบ้าง
แต่ไม่ว่าจะเป็นสายไหนก็ตาม Do the best you can every day 🥰🥰
10 เส้นทางสู่การเป็นชาววีแกน
โฆษณา