1 พ.ค. 2021 เวลา 13:20 • ข่าว
ข่าวดีสำหรับประเทศไทย !! วัคซีน AstraZeneca และ Pfizer ได้ผลดีพอกันในการป้องกันผู้ป่วยโควิดนอนโรงพยาบาล
9
จากการที่ประเทศไทย ได้เริ่มใช้วัคซีนป้องกัน
โควิดแล้วสองบริษัทคือ Sinovac ของประเทศจีน และ AstraZeneca ของประเทศอังกฤษ โดยที่ยังไม่ได้นำวัคซีนของบริษัท Pfizer ของประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาฉีดในประเทศไทย
1
ตลอดจนมีรายงานการวิจัยในเฟสสาม ซึ่งใช้อาสาสมัครจำนวนหลักหมื่นคน พบว่าประสิทธิผลหรือประสิทธิศักย์(Efficacy)ของ Pfizer สูงถึง 95% แต่ของบริษัท AstraZeneca อยู่ที่ 70%
ทำให้เกิดคำถามค้างคาใจในคนไทยและประชาชนทั่วโลกว่า วัคซีนที่มีผลการศึกษาในอาสาสมัครหลัก หมื่นคนนั้น
1
พอฉีดในโลกแห่งความเป็นจริง(Real World) กับประชากรนับล้านคน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างไปจากการทดลองในอาสาสมัคร รวมทั้งฉีดคนละช่วงเวลา ซึ่งมีไวรัสสายพันธุ์แตกต่างกันด้วยนั้น
3
ประสิทธิผล (Effectiveness) จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
2
ขณะนี้มีคำตอบเบื้องต้นออกมาแล้ว จากการรวบรวมข้อมูลของประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ใหญ่มากที่สุดในโลกขณะนี้คือ
ติดตามผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มแรกไปแล้วกว่าล้านคน ใน ประเทศสกอตแลนด์
การรวบรวมตัวเลขครั้งนี้ ทำโดยประเทศสกอตแลนด์ซึ่งมีประชากรทั้งประเทศ 5.4 ล้านคน โดยมีประชากรที่อายุมากกว่า 18 ปี ที่สามารถที่จะฉีดวัคซีนได้มีจำนวน 4.4 ล้านคน
1
ได้ฉีดวัคซีนในการศึกษาครั้งนี้ 1.4 ล้านคนคิดเป็น 30%
1
เป็นการเก็บตัวเลขในช่วงวันที่ 8 ธันวาคม 2563 ถึง 22 กุมภาพันธ์ 2564 โดยวัคซีนที่ใช้ฉีดให้กับประชาชนชาวสกอตแลนด์นั้น
1
เป็นของบริษัท Pfizer 6.5 แสนโดส และของบริษัท AstraZeneca 4.9 แสนโดส โดยแบ่งฉีดให้ในกลุ่มประชากรอายุแตกต่างกันสามกลุ่มได้แก่
1
อายุ 18-64 ปี ฉีดไป 13.9% ของประชากร
อายุ 65-79 ปี ฉีดไป 85.9%
อายุมากกว่า 80 ปี ฉีดไป 78.6%
แล้วติดตามว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนของทั้งสองบริษัทในเข็มแรก ก่อนที่จะฉีดเข็มสอง มีประสิทธิผล
(Effectiveness) ในการป้องกันการเจ็บป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลเป็นอย่างไร
ผลออกมาว่า วัคซีนของบริษัท Pfizer มีประสิทธิผล ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ 91%
ส่วนวัคซีนของบริษัท AstraZeneca ป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ 88% ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
6
ในกลุ่มภาพรวมของทั้งสองวัคซีน
1
18-64 ปี ลดการนอนโรงพยาบาลได้ 92%
65-79 ปี ลดได้ 93%
และอายุมากกว่า 80 ปี ลดได้ 83 %
1
Pfizer เริ่มฉีดวัคซีนในสกอตแลนด์ก่อน
แล้วตามด้วยของ AstraZeneca
แต่ AstraZeneca ฉีดในกลุ่มประชากรสูงอายุเป็นจำนวนมากกว่า
2
เมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนของ Pfizer ในอิสราเอล ซึ่งมีผู้ฉีดไปจากการศึกษา 1.1 ล้านคน
พบว่ามีประสิทธิผล ในการป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ 74% (หลังฉีด 14-20 วัน)
และ 78% (หลังการฉีด 21-27วัน)
1
เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าตัวเลขในสกอตแลนด์
1
ทำให้ได้ข้อสรุปว่า
1) ตัวเลขประสิทธิผล หรือที่ถูกต้องคือ ประสิทธิศักย์ (Efficacy) ในช่วงการทดลองเฟสสาม เป็นเพียงตัวเลขเบื้องต้น ที่ยังไม่ควรยึดเป็นสรณะ และไม่สามารถนำตัวเลขประสิทธิผลของวัคซีนแต่ละบริษัท ในการทดลองเฟสสาม ในสภาพที่แตกต่างกันมาเปรียบเทียบกัน
1
2) ตัวเลขของการประสิทธิผลในการป้องกันโรคเมื่อฉีดในประชากรจริง(Effectiveness) นับล้านคน จะมีตัวเลขที่เปลี่ยนแปลงไป
1
3) แต่ละวัคซีนจากการทดลองในอาสาสมัครที่แตกต่างกันในคนละประเทศ คนละช่วงเวลา และคนละไวรัส เมื่อนำมาฉีดในประชากรประเทศเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน และไวรัสตัวเดียวกัน
จะพบว่าประสิทธิผล ออกมาใกล้เคียงกัน ดังที่มีตัวอย่างว่า
1
ของบริษัท Pfizer จาก 95% ลดลงมาเป็น 91%
ส่วนของบริษัท AstraZeneca จาก 70% ขึ้นมาเป็น 88%
2
ดังนั้นการเปรียบเทียบประสิทธิผลของวัคซีนจากผลงานวิจัยในช่วงเฟสสาม จึงควรให้น้ำหนักน้อยลง และให้น้ำหนักประสิทธิผลการฉีดในประชากรจำนวนมากเพิ่มมากขึ้น
1
ก็เป็นข่าวดีสำหรับประเทศไทย ที่วัคซีน AstraZeneca ถือว่ามีประสิทธิผลสูงเทียบเท่ากับ Pfizer
อย่างไรก็ตาม ไทยเราก็ได้สั่งวัคซีน Pfizer เข้ามา 10 ล้านโดส เพื่อมาฉีดเสริมกับวัคซีน AstraZeneca และ Sinovac ที่มีอยู่แล้วด้วย
1
Reference
โฆษณา