5 พ.ค. 2021 เวลา 12:00 • การศึกษา
เสียงร้องเพราะ ๆ ของจักจั่นในยามพลบค่ำที่ดังมาจากต้นไม้ใหญ่ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายยิ่งนัก เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าเจ้าจักจั่นพวกนี้ร้องทำไมกัน วันนี้มีคำตอบครับ
Cr.pixabay.com
จักจั่น ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อราว 230-295 ล้านปีก่อน ในยุคไทรแอสสิค (Triassic) นักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้จักจั่นเป็นแมลงอยู่ในอันดับ (Order) Homoptera
ซึ่งเป็นกลุ่มของแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นอาหาร เช่นเพลี้ยชนิดต่างๆ ครั่ง แมลงหวี่ขาว ลักษณะที่เด่นชัดของแมลงในอันดับนี้ก็คือ
 
ปีกคู่หน้ามีลักษณะและขนาดความหนาของเนื้อปีกเท่ากันตลอดทั้งแผ่นปีก ชื่ออันดับที่มาจากลักษณะเด่นที่ว่านี้ คือ homo แปลว่า เหมือนกัน, เท่ากัน ส่วน ptera แปลว่า ปีก
 
ซึ่งจะหนาทึบหรือบางใสก็ได้แล้วแต่ชนิดของแมลง ปีกของจักจั่นจะบางใสเหมือนกันทั้งแผ่นปีกแมลงในกลุ่มนี้จะแยกออกเป็นอีกสองกลุ่มย่อยๆ (Suborder) คือพวกที่เคลื่อนไหวเฉื่อยช้า กับพวกที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว
แน่นอนที่สุดว่าจักจั่นที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในกลุ่มหลัง เพราะสามารถกระโดดหรือบินได้เป็นอย่างดีจักจั่นเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในบรรดาแมลงอันดับนี้ทั้งหมด คือมีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงบางชนิดที่ มีขนาดตัวยาวกว่า 10 เซนติเมตร
มีหนวดสั้นๆ (หนวดแบบขน-setaceoux) จนเกือบจะมองไม่เห็นดูคล้ายปุ่มเล็กๆ มากกว่าที่จะเป็นหนวด มีตาเดี่ยวสามตา ส่วนหัว ลำตัว ท้อง จะเชื่อมต่อกลมกลืนเป็นส่วนเดียวกัน ปีกคู่หน้าจะบางใส มีตาขนาดใหญ่ อยู่ด้านข้างของหัว มีประสาทการรับรู้ที่ดีอยู่บนปีก ค้นพบประมาณ 1,300 ชนิดบนโลก
จักจั่นอาศัยอยู่ในบริเวณเขตร้อน เป็นแมลงที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะมีขนาดที่ใหญ่และสามารถส่งเสียงที่ไพเราะได้
บางครั้งจะถูกสับสนกับ ตั๊กแตนหนวดสั้น ไม่มีเหล็กในไว้ต่อย และไม่กัดมนุษย์ บางพื้นที่ จักจั่นถือว่าเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมและยังจัดเป็นอาหารที่ใช้เป็นยาอีกด้วย
จักจั่นส่งเสียงทำไม
ส่วนใหญ่การทำเสียงของจักจั่นจะเป็นไปเพื่อการหาคู่ครอง สำหรับจักจั่น “เสียง” ก็ไม่ ต่างไปจาก “รูปร่างหน้าตาและความสามารถ” ของคนเรา
คุณภาพของเสียงบ่งบอกถึงงคุณภาพของร่างกาย และดุจเดียวกัน พลังเสียง ท่วงทำนอง ความไพเราะ คือลีลา เฉพาะของจักจั่นตัวผู้แต่ละตัว ที่จะประกาศหรือโชว์ให้ตัวเมียได้เห็น (ได้ยิน) ศักยภาพและพึงพอใจในที่สุดนอกจากเสียงที่ใช้ในการประกาศหาคู่แล้ว
จักจั่นยังสามารถทำเสียงเฉพาะกิจอื่น ๆ ได้อีก เช่น เสียงเพื่อคัดค้าน ประท้วง เสียงแสดงความพึงพอใจ เสียงข่มขู่ถึงแม้ว่าตัวผู้หลายสิบตัวจะประสานเสียงจนกังวานไปทั่ว
ดังขึ้นตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง จนเราสับสนและหาที่มาของเสียงไม่ได้ว่าจักจั่นเกาะอยู่ตรงไหน แต่สำหรับจักจั่นตัวเมียแล้ว มันสามารถแยกแยะแหล่งที่มาของเสียงจากตัวผู้ต่ละตัวได้ไม่ยากและเสียงดังเพียง 30-40 เดซิเบลก็พอแล้วสำหรับการตัดสินใจ
ตัวเมียจะเป็นฝ่ายเลือกจากผู้เสนอหลายสิบตัว โดยจะยอมผสมพันธุ์กับตัวผู้ที่มันพอใจมากที่สุดซึ่งก็ต้องเป็นตัวที่มีน้ำเสียงถูกใจมันมากที่สุดนั่นเอง
การส่งเสียงของจักจั่นตัวผู้ไม่ต่างไปจากการส่งกลิ่นฟีโรโมนของแมลงชนิดอื่นๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม
การทำเสียงของจักจั่น
Cr.pixabay.com
อยู่ที่อวัยวะของส่วนอกและส่วนท้อง โดยอวัยวะแรก คือ tymbals มีลักษณะเป็นแผ่น เนื้อเยื่อบาง ๆ และถูกปิดด้วยผนังท้อง ยังมี folded membrane และยังมี opercula
ทำจังหวะของเสียงให้แตกต่างกันออกไป การเกิดเสียงเริ่มโดยการ หดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ tymbal muscle ซึ่งยึดภายในช่องลำตัว ระหว่างด้านล่างของอกปล้องที่ 3 กับส่วนที่ติดกับ tymlal
เมื่อเกิดการเกร็งตัวของ folded membrane จะเป็นพื้นที่ในช่องว่างระหว่างท้องกับ opercula ทำให้เกิดเป็นเสียงก้องกังวาน เมื่อมีการขยับ opercula สอดคล้องกับการทำงานของกล้ามเนื้ออื่นๆ ด้วยความถี่สูง ก็ยิ่งมีความกังวานมากขึ้น
เกิดเป็นเสียงร้องของจักจั่น เสียงของจักจั่นบางชนิดอาจดังมากกว่า 100 เดซิเบล ดังกว่าเสียงรถที่ติดในเมืองกรุงเสียอีก ความดังของเสียงร้องของจักจั่น ขึ้นอยู่กับขนาดตัวของมัน เพราะท้องที่ว่างเปล่าของจักจั่น เปรียบเหมือนลำโพงนั่นเอง
การจับจักจั่น
ทางภาคใต้
- จักจั่นที่พบทั่วไปที่มีลำตัวสีเขียว ชาวบ้านเรียกว่าเรียก “ เวียด ” ส่วนจักจั่นที่มีลำตัวสีขาว เรียก “ วาด” บางพื้นที่เรียกตามขนาด ตัวโตเรียกว่า "จักจ้า" ส่วนตัวเล็กเรียกว่า "จักแจ้ง"
- บางพื้นที่ใช้เทียนมัดกับลำต้นเล็บครุฑ จุดเทียนแล้วเคาะกะลา จักจั่นจะร่วงลงมาที่พื้นดิน (ภูมิปัญญาพื้นบ้าน กระบี่)
ทางภาคเหนือ มีการจับจักจั่น 3 วิธี
- เดิมใช้ยางขนุน ยางโพธิ์ ยางมะม่วง แป้งข้าวเหนียวเคี่ยวให้เป็นกาวเหนียวเรียก “ แป้งเปียก” แต่ในยุคสมัยปัจจุบันเด็ก ๆ ในชนบทใช้หมากฝรั่ง พันปลายไม้และนำไปแตะที่ปีกของจักจั่น เมื่อได้มาจะเด็ดปีกใส่ถุงเพื่อป้องกันจักจั่นบินหนี
- ใช้ถุงพลาสติกติดปลายไม้ทำเป็นสวิงแล้วนำไปครอบจักจั่น จักจั่นไม่สามารถหาทางออกได้เพราะรอบด้านมีแสงทุกด้านจึงถูกจับ จะมีเพียงส่วนน้อยที่สามารถบินออกไปได้
- ใช้กับดักกาวเหนียว ( แป้งเปียก ) พันไม้นำไปปักไว้บริเวณใกล้แหล่งน้ำ จักจั่นจะเกาะพัก ทำให้ปีกติดกาวเหนียว
รูปแบบการนำมาประกอบอาหาร
คั่ว ป่นทำเป็นน้ำพริก หรือ เสียบไม้ปิ้ง รวมทั้งนำมาทอด ก็สามารถรับประทานได้อย่างอร่อย ไม่แพ้อาหารจานเด็ดอื่นๆ
โฆษณา