2 พ.ค. 2021 เวลา 05:53 • สุขภาพ
เรายังคงอยู่ในเรื่องของวัคซีนกัน วันนี้เรามาทำความรู้จักวัคซีนของประเทศรัสเซีย ที่ได้มีการจดทะเบียนกัน
New normal life during covid-19 ตอนนี้เราทุกคนไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่า เชื้อไวรัสโควิด-19 จะอยู่กับเราไปอีกนาน และตัวเราเองที่ต้องปรับวิถีชีวิตให้รับมือกับเชื้อไวรัสเหล่านี้ จะ 1 ปีเต็มแล้วที่เราต้องคอยระแวงและระวังว่าเราติดเชื้อแล้วหรือยัง โดยที่ภาครัฐบาลยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการรับวัคซีนให้แก่ประชาชนได้ทุกคน
ตอนนี้สิ่งสำคัญที่สุดคือความปลอดภัยของเราและทุกคน เพราะเชื่อไวรัสสามารถแพร่จากคนสู่คนได้ ตอนนี้เชื้อได้กลายพันธุ์ ตราบใดที่เรายังไม่ได้รับวัคซีน การฉีดวัคซีนเป็นเหมือนการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้สามารถไปรับมือกับเชื้อไวรัส แต่หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว คุณก็ยังมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้อีก ถ้าขาดการป้องกัน แต่สิ่งที่สำคัญคือคุณจะไม่เสียชีวิต โดยวัคซีนแต่ละตัวก็จะมีระยะเวลาการป้องกันที่แตกต่างกัน ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสควรทำทุกปี ตามแพทย์แนะนำ
ทางการแพทย์รัสเซีย ได้ประกาศขึ้นทะเบียนรับรองการใช้วัคซีนต้านโควิดเป็นประเทศแรกของโลก ในช่วงแรกนานาประเทศ ต่างออกมาวิจารณ์ในการขึ้นทะเบียนที่เร็วเกินไปของรัสเซีย แต่หลังจากที่รัสเซียได้เปิดในประชาชนชาวรัสเซียเข้าไปฉีดวัคซีนจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ยังไม่มีเคสผู้เสียชีวิตหรือมีอาการข้างเคียงที่อันตรายจากการฉีดวัคซีน
สำหรับผู้เขียนมองว่า รัสเซียสามารถรู้เรียนและพัฒนาวัคซีน ยาต่างๆ เพื่อรับมือกับไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรวนี้ถือว่าเป็น A Russian “tool of soft power” อย่างดีในเรียกคะแนนเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศรัสเซีย รวมถึงตัวท่านประธาฯ วลาดีเมียร์ม่าร์ ปูติน
โดยประเภทวัคซีนของรัสเซียมีทั้งหมด 3 ประเภทคือ:
1. Gam-Covid-Vac หรือชื่อในเครื่องหมายการค้าที่เรารู้จักคือ Sputnik V (อ่านว่า สปุกนิก วี: ที่อ้างอิงจากชื่อดาวเทียม Sputnik 1 ที่สหภาพโซเวียตส่งขึ้นสู่วงโคจรโลกเมื่อปี 1957 กลายมาเป็นวัคซีนที่ดีติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก. ส่วน V คือ Vaccine) ซึ่งมีประสิทธิภาพถึง 91.6% ตัวนี้เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดกันทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งวัคซีนตัวนี้ได้ใช้อะดีโนไวรัส (Adenovirus: Аденовиру) เป็นตัวนำสารพันธุกรรมเข้าสู่เซลล์มนุษย์ แล้วให้เซลล์มนุษย์สร้างโปรตีนเปลือกผิวของไวรัสโควิด ที่เรียกว่าสไปรท์โปรตีน (มีการผลิตออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 2021) วัคซีน Sputnik V ใช้อะดีโนไวรัสของมนุษย์ และต้องฉีด 2 เข็ม โดยใช้ไวรัสคนละตัว เพื่อให้ภูมิต้านทานสูงมากขึ้น การให้วัคซีน 2 เข็ม จะทำในระยะห่าง 21 วัน (** คำแนะนำเพิ่มเติมจากหมอรัสเซีย ที่ทำการฉีดยาให้ครอบครัวของผู้เขียน**: และหลังจากฉีดวัคซีนควรพักผ่อนอยู่บ้าน และควรสังสรรค์ประมาณ 5-10 วัน เพราะผู้ที่ฉีดวัคซีน ถ้าบังเอิญไปพบเจอผู้อื่นที่ป่วย ก็อาจจะทำให้ป่วยได้ รอให้ร่างกายปรับตัวสักหน่อย) โดยผู้พัฒนาคือของสถาบันกามาเลยา (Gamaleya Research Institute of Epidemiology and Microbiology) ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1891 (ในสมัยซาร์อเล็กซานเดอร์ที่สาม) โดยได้มีการใช้งบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย (RDIF)
2. ЭпиВакКорона (EpiVacCorona) เป็นวัคซีนอันดับที่ 2 ที่ได้รับการจดทะเบียนในรัสเซีย ในเดือนพฤศจิกายน 2020 ที่ใช้เปปไทด์ หรือโปรตีนเป็นพื้นฐาน ซึ่งโปรตีนพาหะนี้ก็ยังเป็น Know How แบบเฉพาะของสถาบันที่ไม่สามารถเปิดเผยได้อีกด้วย โดยวัคซีนตัวนี้ได้มีการพัฒนาโดยสถาบันวิจัยไวรัสและไบโอเทคโนโลยีเว็กเตอร์ (State Research Center of Virology and Biotechnology VECTOR) ที่เมืองโนวาซีบีร์สก์ (Novosibirsk) ภูมิภาคไซบีเรีย โดยได้มีการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี คศ. 1974 ช่วงสมัยสหภาพโซเวียต โดยวัคซีนตัวนี้จะมีอายุการรักษาน้อยกว่าตัวแรก
3. КовиВак (CoviVac:โควีแวค) ซึ่งเป็นเชื้อที่ตายแล้ว โดยฉีดเข้าไปเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่อยู่ในตัวมนุษย์ ได้รับการรับรองเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2021 ซึ่งเป็นน้องใหม่ล่าสุด โดยได้มีการพัฒนาโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาเวชภัณฑ์ทางด้านชีววิทยาภูมิคุ้มกันแห่งชาติชูมาคอฟ ณ กรุงมอสโกของประเทศรัสเซีย (Federal Academic Center of immune-biological preparations R&D named after Chumakov) โดยได้มีการก่อตั้งในปี คศ. 1955 ชื่อสถาบันได้ตั้งตามนักไวรัสวิทยา ในส่งโซเวียต คือนายมิคาอิล เปโตรวิช ชูมาคอฟ (Mikhail Petrovich Chumakov: Михаил Петрович Чумаков) ผู้ที่ได้คิดค้นวัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบจากเห็บอีกทั้งยังเป็นผู้คิดค้นวัคซีนโปลิโอร่วมกับนักไวรัสวิทยาชาวอเมริกันอย่างอัลเบิร์ต เซบิน (Albert Sebin)
เรียนรู้ ปรับตัว และป้องกันตัวเอง และรอรัฐบาลนำเข้าวัคซีนกันอีกสักหน่อย เพราะยังไงก็อดทนกันมามากแล้วนะคะ
#คนไทยต้องรอด
#รักคนไทย
#สู้ไปด้วยกัน
❤️♥️
#ลาลาอินรัสเซีย
#lalainrussia
#vaccinecovid
#วัคซีนรัสเซีย
#SputnikV
#EpiVacCorona
#CoviVac
#เที่ยวรัสเซีย
อ้างอิงข้อมูล
โฆษณา