Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Coffee Talk
•
ติดตาม
3 พ.ค. 2021 เวลา 06:00 • สิ่งแวดล้อม
ข่าวน่าตกใจ ช้างหันมากิน "ทุเรียน" ทั้งเขย่า ถอนราก ถอนโคนต้น เพราะเหตุใด?
มีข่าวในวันที่ 28 เมษายน ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ฯ พบช้างป่าทำลายต้นทุเรียนมากถึง 20 ต้น และกินทุเรียนเป็นจำนวนมาก ที่ จ.ระยอง
ภาพแรกจาก https://www.facebook.com/dr.banyat.clinic/posts/1941648102665451 ภาพที่ 2 จาก https://www.youtube.com/watch?v=iP35alis5tM ช้างป่าสีดอแดง เข้าไปทำลายสวนทุเรียนชาวบ้าน ก่อนจะบุกเข้าล้งกินทุเรียนที่ตัดรอขาย กว่า 200 กิโลกรัม เสียหายกว่า 1 แสนบาท
โดยชาวบ้านเล่าว่า ช้างป่าฝูงนี้มีประมาณ 5 ตัวอาศัยอยู่ในหย่อมป่าชุมชนแถวนี้มานานแล้ว ชอบวนเวียนออกหากินและเพิ่งเริ่มหัดกินทุเรียนปีนี้เป็นครั้งแรก
จริงๆ แล้วช้างชอบกินทุเรียนจริงหรือ?? แล้วกินอะไรเป็นอาหารหลัก ??
หลายมักจะคิดว่าช้างนั้นกินแค่อ้อยกับกล้วยเป็นอาหาร แต่โดยธรรมชาติแล้วอาหารที่ช้างกินได้นั้นมีเป็นร้อย ๆ ชนิด ทั้งตามฤดูกาลและที่แตกต่างกันไปตามแหล่งที่อยู่และพื้นที่นั้นๆ เช่น...
🔷อาหารประเภทหญ้า จะเป็น หญ้าคา หญ้ากก หญ้าแพรก หญ้ากล้อง หญ้าปากหวาย อ้อ เป็นต้น
🔷อาหารประเภทไม้ไผ่ จะเป็นไม้ไผ่ป่า ไผ่บ้าน ไผ่หลาม(ที่ใช้ทำข้าวหลาม) ไผ่หนาม เป็นต้น
🔷อาหารประเภทเถาวัลย์ ก็จะเป็น หวาย สลอดน้ำ เถาวัลย์แดง บอระเพ็ด สัมป่อย เครือสะบ้า กระทงลาย เป็นต้น
🔷และอาหารประเภทไม้ยืนต้น ก็จะเป็น มะพร้าว กล้วย ขนุน มะเดื่อ มะขามบ้าน มะเฟือง มะไฟ มะยมป่า มะขาม มะตูม มะขวิด ระกำ เป็นต้น (คราวนี้คงต้องรวมทุเรียนเข้าไปด้วย)
🔷รวมถึงดินโป่ง ดินที่มีแร่ธาตุสะสมอยู่มาก โดยเฉพาะแคลเซียมและโซเดียม ซึ่งเป็นแหล่งอาหารเสริมของสัตว์ป่า รวมถึงช้างก็จะกินบ้าง เป็นบางเวลา
เพราะหลักๆ แล้วช้างเป็นสัตว์กินพืชจึงต้องกินดินโป่งเพื่อทดแทนแร่ธาตุที่ขาดไป แร่ธาตุเหล่านี้ไม่สามารถทดแทนได้จากการกินพืช
1
ซึ่งทุเรียนก็จัดเป็นไม้ยืนต้นและเป็นเมนูที่ช้างได้ฝึกเรียนรู้ที่จะกินเพื่อยังชีพในหลายๆ สถานที่ ตามที่เป็นข่าวอยู่เนืองๆ ว่าช้างบุกเข้ากินและเหยียบลูกทุเรียน
ภายในสวน
โดยมีทั้งเขย่าต้น หรือถึงขั้นใช้งวง-งาถอนรากถอนโคนต้นกันเลยทีเดียว ก็สร้างความเดือนร้อนให้ชาวสวนเป็นอย่างมาก บางที่สูญรายได้ไปกว่า ครึ่งล้านบาท
แล้วมีคำถามต่อว่าทำไมช้างป่าต้องออกมาหากิน (ทุเรียน) นอกพื้นที่ป่า จนมีข้อพิพาทกับชาวบ้าน
I❤️Coffee ขอมาไล่สาเหตุหลักๆ กันครับ
1. ขอเกริ่นก่อนว่าช้างนั้นเป็นสัตว์ใหญ่ที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก หากพื้นที่นั้นไม่มีทุ่งหญ้า ช้างจะต้องใช้พื้นที่หากินกว้าง เพื่อให้ได้ปริมาณอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน
.
โดยตามธรรมชาติช้างที่มีขนาดใหญ่ และมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจะกินอาหารวันหนึ่งๆ มีน้ำหนักราวๆ 350 กิโลกรัม โดยในแต่ละวันช้างจะใช้เวลากินอาหาร ไปมากถึง 15-18 ชั่วโมง นี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญในการดำรงอยู่ตามธรรมชาติของช้าง
2. ที่นี้มาสู่ปัจจัยหลักที่ทำให้ช้างไม่มีที่ยืน เพราะพื้นที่ป่า ที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญ
ของช้างป่าถูกทำลาย แหล่งที่อยู่อาศัยของช้างป่าก็ลดลง ก็มาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมนุษย์
.
รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรม ที่ทำให้พื้นที่ป่าลดลงไปกว่า 1.87% (ข้อมูลในช่วงปี พ.ศ. 2552-2556) ทั้งการทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่เกษตรกรรม เพื่อความต้องการพื้นที่สำหรับใช้ในการเพาะปลูกมากขึ้น และลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อหวังผลธุรกิจ
จากต้นไม้โดยตรง
3. ในปี 2560 พบว่ามีจำนวนช้างป่าในไทยมีอยู่ราวๆ 3,084-3,500 ตัว โดยกระจายตัวอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั้งหมด 69 แห่งจากทั้งหมด 189 แห่ง กระจายกันอยู่ตามผืนป่าอนุรักษ์ ที่มีลักษณะเป็นป่าผืนเล็กๆไม่ต่อเนื่องกัน ทำให้ช้างตกอยู่ในสภาพคล้ายๆ ติดเกาะ ไม่สามารถข้ามไปมาระหว่างพื้นที่ได้ ส่งผลเรื่องแหล่งหากินอาหาร
1
4. ด้วยเหตุที่ช้างป่าไม่สามารถข้ามเขตพื้นที่เพื่อหากินได้ เนื่องจากมีเจ้าของครอบครองพื้นที่นั้นๆ อยู่แล้ว ด้วยพฤติกรรมทางสังคมของช้างป่า ที่มีจะมีช้างพลายที่แข็งแรงที่สุดเป็นหัวหน้าโขลง คอยปกป้องอันตรายให้แก่ช้างในโขลง ตลอดจนเป็น
ผู้นำไปหาอาหารในแหล่งที่อุดมสมบูรณ์
.
นั่นก็เป็นพฤติกรรมตามธรรมที่ช้างป่าแต่ละโขลงจะหวงพื้นที่ของตนเอง และเป็นเรื่องที่ต้องเจ็บตัว หากมีการต่อสู้เพื่อแย่งชิง
จากที่กล่าวมากับ 4 สาเหตุหลักเรื่องแหล่งอาหาร ก็เยอะพอแล้วครับ ไม่ขอพูดถึงภัยคุกคามอื่นๆ เดี๋ยวจะยาวและหลุดประเด็นเรื่องช้างหันมากินทุเรียน
ส่วนการแก้ไขปัญหา ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นและชาวบ้าน ได้มีมาตรการการแก้ไข ออกมาเรื่อยๆ เพื่อให้ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าลดลง และอยู่ร่วมกันอย่างลงตัวที่สุด
1
🔷รู้หรือไม่ว่า ...
⭕13 มีนาคม ของทุกปี เป็น" วันช้างไทย " จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง รักช้าง หวงแหนช้าง ตลอดจนให้ความสำคัญต่อการให้ความช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น
⭕มีโครงการปลูกพืชอาหารช้างป่า กุยบุรี บริเวณป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามพระราชดำริ ในรัชการที่ 9 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ได้ทรงพระราชทานไว้ว่า
.
“…ให้ปลูกสับปะรดที่คุณภาพไม่จำเป็นต้องดีนักสำหรับเป็นอาหารช้าง โดยที่ลูกค้าของสับปะรดคือช้าง และเพื่อให้ช้างและคนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ให้ชาวบ้านมาช่วยดูแลพืชอาหารช้าง พร้อมทั้งให้ค่าตอบแทนเขาด้วย…”
.
1
และถัดมาก็มีการปลูกพืชอาหารช้างและพันธุ์ไม้ซึ่งขึ้นอยู่ตามสภาพป่าธรรมชาติเพื่อ เป็นการเพิ่มปริมาณอาหารตามธรรมชาติของช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆ
⭕ปี 57 ที่นครศรี พบว่ามีช้างพลายกินทุเรียนหมอนทองทั้งลูกเกิดติดค้างอยู่กลางคอ มีเลือดออกจากคอเป็นจำนวนมาก สัตวแพทย์ใช้เวลากว่า 2 ชม. ช่วยเหลือนำเอาลูกทุเรียนออกมา ควาญช้างเผยว่าปกติช้างจะใช้เท้าทุบทุเรียนให้แตกก่อนแล้วค่อยกิน ครั้งนี้คาดว่าช้างหิวมากจึงรีบกิน
⭕งาช้างเป็นฟันตัดขากรรไกรบนคู่ที่สอง ใช้ในการขุดหาน้ำ หาแร่ธาตุหรือรากไม้ ขูดเปลือกไม้เพื่อกินเปลือก อีกทั้งขุดย้ายต้นไม้และกิ่งในการเปิดเส้นทาง บางครั้งใช้เป็นอาวุธ และช้างยังใช้ทำสัญลักษณ์บนต้นไม้เพื่อสร้างอาณาเขต
⭕ช้างพลายหรือช้างเพศผู้ตัวเต็มวัยจะค่อย ๆ ปลีกตัวไปอยู่สันโดษ จนในที่สุดก็จะแยกตัวออกจากโขลงอย่างถาวร บางครั้ง ช้างเพศผู้จะใช้เวลาไปกับการต่อสู้แย่งชิงความเป็นใหญ่มากกว่าเพศเมีย แน่นอนมีเพียงผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้นที่จะสามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียได้
การแยกตัวออกมาหากินเองของช้างพลาย ก็อาจเป็นสาเหตุรองที่ต้องออกมาหากินนอกพื้นที่ป่า
อ้างอิงจาก
https://shareforchang.org/food-for-elephant-2/
https://humanelephantvoices.org/elephants-thailand/
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
1 บันทึก
17
25
8
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Pic of the day
1
17
25
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย