3 พ.ค. 2021 เวลา 09:36 • สุขภาพ
เจ็บแต่ไม่จบ!!! เมื่ออาการ COVID-19 จะยังคงอยู่แม้ผู้ป่วยจะไม่มีไวรัสแล้วก็ตาม
สำหรับผู้ป่วย COVID-19 หลายท่าน จะมีอาการผิดปกติที่หนักหน่วงจนใช้ชีวิตประจำวันได้ยากลำบาก เช่น มีอาการเหนื่อยล้า หายใจลำบากไปจนถึงขั้นรุนแรงเช่นปอดเสียหายและเสียชีวิตในที่สุด ความหวังของผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวคือเมื่อปราศจากเชื้อไวรัสอยู่ในร่างกายแล้วจะสามารถฟื้นคืนสภาพร่างกายกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่เชื้อ COVID-19 รุนแรงกว่านั้น เพราะผู้ป่วยบางคงไม่สามารถหายป่วยกลับมาเป็นปกติได้ ยังมีอาการตกค้างอยู่เหมือนเป็นคำสาปจากเชื้อครับ มันมีที่มาที่ไปอย่างไร เรามาดูกันครับ
1
สถาณะ Long COVID เมื่ออาการของเชื้อร้ายจะยังอยู่แม้จะไม่มีเชื้อไวรัสในร่างกาย
ถึงแม้ว่าโลกทางการแพทย์ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกัน COVID-19 ผ่านทางการฉีดวัคซีน ไปจนถึงการรักษาชีวิตของผู้ป่วยให้หายจาก COVID-19 ให้ได้มากที่สุด แต่นักวิจัยได้ศึกษาว่าจากผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลก ผู้ป่วยจำนวนมากที่หายจาก COVID-19 แต่ยังมีอาการติดขัดติดมา เช่น หายใจลำบาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือเหนื่อยง่ายแม้กระทั้งการเดินระยะสั้นๆ ก็ทำให้ต้องลงไปพัก ต่อเนื่องหลายเดือน ซึ่งทางการแพทย์เรียกอาการเรื้อรังดังกล่าวว่าอาการ “Long COVID” ครับ
5
จนถึงปัจจุบันยังไม่ทราบว่าทำไมผู้ป่วยหลายๆ คนถึงมีอาการเจ็บป่วยต่อเนื่องหลังจากที่หายจาก COVID-19 แล้ว หรือทำไมลักษณะการเจ็บป่วยของอาการ Long COVID ถึงไม่มีลักษณะตายตัว อาจเหมือนหรือต่างกันก็ได้ แต่สิ่งที่นักวิจัยพบก็คืออาการร่วมกันที่ชัดเจนคือ ความทรุดโทรมและเหนื่อยง่ายครับ นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การไอ การปวดข้อ การปวดกล้ามเนื้อ มีปัญหาทางการมองเห็นและการได้ยิน สูญเสียการการรับรู้กลิ่นและรสชาส ไปจนถึงความเสียหายต่อหัวใจ ปอด ไต ครับ นอกจากอาการทางร่ายกายแล้ว อาการ Long COVID ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจอีด้วยครับ เนื่องจากนักวิจัยพบว่าผู้ป่วยหลายรายมีอาการซึมเศร้า ตระหนกตกใจ ไปจนถึงมีความคิดขุ่นมัวครับ
1
อาการต้องรู้ของ Long COVID
จากการศึกษาผู้ป่วย 143 คนที่ถูกรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาจนตรวจไม่พบเชื้อร้ายในร่างกายแล้ว ทางนักวิจัยได้พบว่าหลังจากผ่านไปแล้ว 2 เดือน 87% ของผู้ป่วยดังกล่าวมีอาการของ Long COVID อย่างน้อย 1 อย่างครับ นอกจากนี้จากการใช้ COVID Symptom Tracker App ที่มีผู้ใช้หลายล้านคนในอังกฤษ การศึกษาพบว่า 30 วันหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาจนหาย 12% ของผู้ป่วยยังพบอาการ Long COVID ครับ และอาจประมาณว่า 2% ของผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 จะมีอาการ Long COVID ภายหลังจากรักษาหาย 90 วันครับ
ถึงแม้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ Long COVID ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีการเสนอไอเดียมากมายเพื่ออธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวครับ หนึ่งในนั้นคือศาสตราจารย์ Tim Spector จาก King’s College London เสนอว่าอาการ Long COVI มาจากการที่ตัว Coronavirus อาจจะยังแฝงตัวอยู่ในส่วนลึกของร่างกายครับ โดยคาดการณ์ว่าแต่ละอาการจะส่งผลกระทบต่ออวัยวะโดยตรง เช่น หากสูญเสียการได้กลิ่น อาจหมายถึงมีเชื้อไวรัสหลบอยู่ที่ระบบประสาทเป็นต้น
อีกทฤษฎีหนึ่งที่กล่าวถึง Long COVID คือการที่ระบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติหลังจากป่วยด้วยเชื้อ COVID-19 ครับ ซึ่งลักษณะนี้จะคล้ายกับผู้ป่วยที่ปอดได้รับความเสียหายถาวรเนื่องจากโดนทำลายโดยไวรัส SARs และ MERs เป็นต้นครับ
โอกาสในการรักษาอาการ Long COVID
เนื่องจาก COVID-19 ถือเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ใหม่มากๆ ถึงแม้ทุกประเทศจะร่วมมือร่วมใจกันรักษา COVID-19 อย่างแข็งขัน แต่ทุกภาคส่วนยังต้องศึกษาองค์ความรู้ทางด้านนี้มากๆ ครับ ดังนั้นหากผู้ป่วยที่มีอาการ Long COVID ก็อาจจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกในอนาคตครับ ดังนั้นจึงพยายามติดตามอาการของผู้ป่วยที่มีอาการ Long COVID ประมาณ 25 ปีครับ
นอกจากนี้ทางระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service: NHS) ของประเทศอังกฤษ ได้ออกแนวปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย COVID ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ดังนี้ครับ
2
3Ps จาก NHS
1. Pace yourself: ค่อยๆ ทำ อย่าหักโหมมาก และต้องพักผ่อนให้เพียงพอ
2. Plan your days: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ล่วงหน้าเพื่อให้กระจายกิจกรรมที่ใช้พลังงานให้เท่าๆ กัน
3. Priorities: พยายามเลือกทำให้สิ่งที่จำเป็นจริงๆ ครับ
กล่าวโดยสรุปก็คือการเป็น COVID-19 นั้นนอกจากจะอันตรายถึงชีวิตแล้ว เมื่อรักษาหายก็อาจจะไม่เป็นปกติก็ได้ครับ การป้องกันที่ดีที่สุดคือพยายามรักษาระยะห่าง สวม Mask ตลอดเวลาที่เจอคน และล้างมือบ่อยๆ ครับ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนเพื่อฝ่าฟันวิกฤติโรคร้ายนี้ไปให้ได้ครับ สู้ๆ ครับ
โฆษณา