3 พ.ค. 2021 เวลา 10:08 • ประวัติศาสตร์
การกำเนิดชั้นวรรณะในอินเดีย
อินเดียเป็นแหล่งต้นกำเนิดของอารยธรรม ศาสนาและปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ ที่มีอิทธิพลต่อหลากหลายภูมิภาคโดยเฉพาะเอเชีย หนึ่งในวัฒนธรรม ความเชื่อพื้นฐานของประเทศอินเดียคือระบบชนชั้นวรรณะ ที่คอยขันเคลื่อนสังคมจนกระทั่งยุคปัจจุบันนี้ แต่ระบบนี้มันเริ่มต้นเมื่อไหร่ และได้ยังไงล่ะ โดยข้อมูลทั้งหลายเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้นซึ่งมีหลากหลาย มาก ๆ เราพยายามรวบรวมข้อมูลแหละสรุปให้ง่ายที่สุดนะครับ
เรามาเริ่มกันตั้งแต่สมัยห้าพันปีที่แล้ว อินเดียมีชื่อเรียกมาตั้งแต่โบราณว่าชมพูทวีปมีความหมายโดยนัยะว่าเป็นภูมิภาคที่มีความกว้างใหญ่ไพศาล จนในที่สุดก็เรียกว่าอินเดียในปัจจุบันโดยกร่อนมาจากสินธุซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่สายสำคัญ
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Indus_Valley_Civilisation#
อินเดียนั้นเป็นดินแดนที่มีประวัติศาสตร์เคลื่อนไหวตลอดห้าพันปี สมัยนั้นไม่มี "ประวัติศาสตร์" เพราะไม่มีเอกสารร่วมสมัย การจดบันทึกทำโดยใช้ไม้และหนังสัตว์ ทำให้ทิ้งร่องรอยทางโบราณคดีไว้น้อยมาก โดยก่อนจะมาเป็นอินเดียที่เห็นในปัจจุบัน ดินแดนแถบกลุ่มอารยธรรมเรียบแม่น้ำสินธุเป็นที่อยู่อาศัยของชนเผ่าดั้งเดิมอย่าง "ชาวทัศยุ" หรือเรียกว่า "ปาณิ"
เวลาสี่พันปีก่อนมีกลุ่มคนเรียกตัวเองว่า "อารยัน" ซึ่งเป็นชนเผ่าอินโด-ยูโรเปียน คือกลุ่มคนเร่ร่อนพเนจรเข้ามาบุกรุกชนพื้นเมืองดั้งเดิม นี่คือเหตุสำคัญที่เปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของอินเดียโบราณไปเลย
ในตอนนั้นชาว " อารยัน " มีเทคโนโลยีทางการทหารมากกว่าใคร มีทั้งม้าและรถศึกเทียมม้ารวมถึงอาวุธที่เป็นโลหะ ทั้งหมดนี้ทำให้ชาวอารยัน มีกองทัพที่แข็งแรง และสามารถเดินทัพได้รวดเร็ว  พวกเขาเข้ามารุกรานอารยธรรมเรียบแม่น้ำสินธุ และทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางสังคม
จนเมื่อชาวอารยันตั้งหลักแหล่งและมีอาหารมากเพียงพอ ก็เริ่มนำอาหารนั้นไปแลกเปลี่ยนสินค้า โดยสินค้านั้นรวมถึง "แรงงานคน" ด้วย ทำให้ก่อกำเนิดทางชนชั้นผู้รับใช้ขึ้น ก็คือ "ทาส"
" ทาส " ในฐานะวรรณะที่ไม่อำนาจใด ๆ ทั้งสิ้น ห้ามมีอาวุธ ห้ามมีทรัพย์สิน " ทาส " คนหนึ่งจะเป็นสมบัติของนายอารยันเหมือนกับ วัว ตัวหนึ่งเท่านั้น
ในข้อสันนิษฐานหนึ่งว่าด้วยเรื่องเบื้องหลังของ ระบบวรรณะ คือแนวคิดการเหยียดสีผิว ระหว่างชาวอารยันและชนพื้นเมือง โดยชารยันจะมีสีผิวที่สว่างกว่าชนพื้นเมืองที่ผิวออกสีคล้ำ ดำ , อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งบอกว่านี่เป็นวิธีที่พวกอารยันใช้ในการปกครองพวกชนพื้นเมือง กีดกันไม่ให้พวกพื้นเมืองมีโอกาสผสมกลมกลืนกับเผ่าพันธุ์ของตัวเอง เพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของเผ่าพันธิ์ไว้ โดยอาศัยความเชื่อในศาสนาพราหมฌ์เป็นเครื่องมือบีบบังคับระบบวรรณะให้ศักดิ์สิทธิ์ และต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเท่านั้น
ซึ่งตามเดิมแล้วการแบ่งชนชั้นวรรณะนั้นเป็นเรื่องว่าด้วยการแบ่งตามหน้าที่ ใครทำหน้าที่อะไรก็แบ่งวรรณะไปตามหน้าที่นั้น ๆ มีความยืดหยุ่นไม่เข้มงวด แต่ต่อมาได้เสื่อมความหมายเดิมกลายเป็นประเพณีที่ถือกันแบบเถรส่องบาตร วรรณะที่สูงเอารัดเอาเปรียบ เหยียดหยามและเหยียบย่ำวรรณะต่ำ
เวลาผ่านไป ชาวอารยันก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น มีหน้าที่กระจัดกระจายหลากหลายขึ้น จนในที่สุดก็เกิดการแยกชนชั้นได้เป็น สี่ วรรณะ อย่าง พราาหมณ์ กษัตริย์ ไวศยะ ซึ่งเป็นวรรณะของพวกอารยัน และ ศูทร ซึ่งเป็นของชนพื้นเมืองดั้งเดิมในที่สุด
Source : พระจริยาวัตรของพระพุทธเจ้าที่มีต่อชนชั้นล่าง The Buddha’s Altruistic Treatment Toward the Lower Class พระมหาโยธิน โยธิโก, ผศ.
Source : ชาวอารยันในอินเดียโบราณกับกำเนิดวรรณะ (gypzyworld.com)
โฆษณา