4 พ.ค. 2021 เวลา 07:47 • ประวัติศาสตร์
ฉัตรมงคล
พระราชพิธีที่แสดงความสมบูรณ์แห่งพระมหากษัตริย์ ตามที่กำหนดในโบราณราชประเพณี เป็นแบบแผนอันศักดิ์สิทธิ์ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
1
ในสมัยกรุงรัดนโกสินทร์ มีมาตั้งแด่ครั้งรัชกาลที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี 2325 ด้วยการปราบดาภิเษก ซึ่งในทางพระราชพิธีถือว่ายังไม่สมบูรณ์ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างพระบรบมหาราชวัง จึงรวบรวมรูปแบบการพระราชพิธี สร้างเครื่องราชกกุธภัณฑ์ พระมหาเศวตฉัตร เครื่องราชูปโภคและพระแสงอัษฎาวุธสำหรับพระนคร ก่อนประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อความสมบูรณ์แห่งพระมหากษัตริย์ ในปี 2328
ในพระราชพิธีมีขั้นตอนสำคัญคือ สรงมูรธาภิเษก หมายถึง การใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์รดพระเศียรและรับน้ำอภิเษกโดยพระราชครูพราหมณ์ ซึ่งตามคติเชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพที่อุบัติมาเพื่อขจัดความทุกข์เข็ญและให้ความร่มเย็นแก่พสกนิกรใต้พระบรมโพธิสมภาร
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก จึงกลายเป็นแบบแผนที่ปฏิบัติเรื่อยมา แต่ในบางรัชกาลก็มีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย เช่น ในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีสัมพันธไมตรีกับประเทศในยุโรป และทรงรับคติการสวมพระมหาพิชัยมงกุฎในการพระราชพิธีฯ อย่างราชสำนักยุโรป และโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มพระราชพิธีสงฆ์ด้วย ในชั้นนี้น้ำอภิเษกจึงมีทั้งน้ำพระพุทธมนต์และน้ำพระเทพมนต์
นอกจากนั้นยังมีพิธีสำคัญที่ปฏิบัติสืบมา คือ การบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกประจำปีเรียกว่า วันฉัตรมงคล
ในสมัยรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีอย่างย่นย่อ และมีการตัดทอนการพิธีลงหลายอย่าง โดยมีกำหนดพระราชพิธี 5 วัน คือ 4 - 8 พฤษภาคม 2493 ครั้งนั้นมีเหตุการณ์สำคัญที่คนไทยจดจำได้ดี คือพระปฐมบรมราชโองการ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
ล่วงมาถึงในสมัยรัชกาลที่ 10 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2562 โดยทรงมีพระปฐมบรมราชโองการแก่ประชาชนชาวไทยความว่า "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป"
ดวงตราไปรษณียากรที่ออกในวาะวันฉัตรมงคลนั้นมีหลายชุดครับ แต่ที่จะนำมาให้ชม เป็นชุดที่ออกในวาระพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกของรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ครับ
ชุดแรก ชื่อชุดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493
วันแรกจำหน่าย มีการนำออกมาจำหน่าย 3 ครั้ง คือ
5 พฤษภาคม 2493 จำหน่ายชนิดราคา 5 สตางค์ และ 20 สตางค์
15 สิงหาคม 2493 จำหน่ายชนิดราคา 80 สตางค์
1 ตุลาคม 2493 จำหน่ายชนิดราคา 10 สตางค์ 15 สตางค์ 1 บาท 2 บาท และ 3 บาท
พิมพ์ที่ Waterlow & Sons Ltd., England
แสตมป์ชุดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 พุทธศักราช 2493
ชนิดราคา จำนวนพิมพ์และราคาปัจจุบัน (ยังไม่ใช้, ใช้แล้ว)
5 ส.ต. 3,000,000 ดวง 200 บาท 20 บาท
10 ส.ต. 4,300,000 ดวง 200 บาท 20 บาท
15 ส.ต. 500,000 ดวง 800 บาท 250 บาท
20 ส.ต. 12,000,000 ดวง 200 บาท 10 บาท
80 ส.ต. 300,000 ดวง 1,600 บาท 250 บาท
1 บาท 3,000,000 ดวง 400 บาท 20 บาท
2 บาท 600,000 ดวง 1,600 บาท 80 บาท
3 บาท 300,000 ดวง 4,000 บาท 350 บาท
ชุดที่สอง ชุด พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 10
วันแรกจำหน่าย 4 พฤษภาคม 2562
พิมพ์ที่ Cartor Security Printing Company Limited, France
แสตมป์ชุดพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 10 พุทธศักราช 2562
แสตมป์เป็นชนิดราคา 10 บาท จัดพิมพ์ทั้งสิ้น 3 ล้านดวง หรือ 3 แสนแผ่น ซึ่ง 1 แผ่นจะมี 10 ดวง ความพิเศษของแสตมป์ชุดประวัติศาสตร์ชุดนี้ คือ การใช้เทคนิคพิมพ์สี่สีบนฟอยล์กระจกเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อเพิ่มความสวยงามแวววาวให้แก่ภาพบนดวงแสตมป์ พร้อมปั๊มดุนนูนอักษรพระปรมาภิไธย วปร ข้อความชื่อประเทศ ชนิดราคา และองค์พระฉายาลักษณ์
สามารถอ่านเพิ่มเติมที่
ขอบคุณที่ติดตามครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา