5 พ.ค. 2021 เวลา 00:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
อัลกอริทึม Social Media กับวิธีที่พวกมันส่งผลต่อการมองโลกของมนุษย์เรา
2
ต้องบอกว่าในโลกยุคปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารนั้นมีเยอะไปหมด เพราะทุกคนสามารถที่จะเข้ามาเป็นสื่อได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่มี account ใน social media แต่นั่นเองที่ทำให้เครือข่าย social media ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายกำลังควบคุมสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่เราอ่านผ่าน อัลกอริธึมที่มีความซับซ้อนของพวกเขา
11
อัลกอริทึม Social Media กับวิธีที่พวกมันส่งผลต่อการมองโลกของมนุษย์เรา
เราบอกลา feed ที่สามารถมองเห็นทุกอย่างทุกแง่มุมของข่าวสารต่าง ๆ มาเป็นเวลานานมากแล้ว แม้กระทั่ง เพจ ที่เราปักหมุดไว้ว่าเราต้องการดูมันเป็นอันดับแรก เหมือนที่เคยมีใน features อย่าง see first ของ facebook ตอนนี้มันก็ได้หายไปจากระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
3
เราอยู่ในยุคที่ถูกคอนโทรลโดยสมบูรณ์ผ่าน ระบบเครือข่าย Social Media ยักษ์ใหญ่ทั้งหลายที่จะป้อนข้อมูลอะไรมาให้เราอ่าน
5
ในบทความของ The Wall Street Journal ที่เขียนโดย Joanna Stren นั้นมีบทวิเคราะห์ในเรื่องนี้ได้อย่างน่าสนใจที่ผมอยากจะนำมาเล่าให้ฟัง
ปัญหานี้มันได้เกิดขึ้นมานาน โดยจุดเริ่มต้นน่าจะมาจากการเกิดขึ้นของ News Feed ของ Facebook ที่เริ่มถูกขับเคลื่อนโดยอัลกอริธึมในปี 2009 และพัฒนาต่อเนื่องมาจากความสนใจ และ พฤติกรรมของผู้ใช้งาน
1
แม้ facebook จะพยายามปรับอัลกอริธึมดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามดูเหมือน ปัญหาทั้งเรื่อง Fake News หรือ Bias Content นั้น ดูจะไม่มีทีท่าจะลดลงไปเลย ยิ่งโลกเราเกิดปัญหาเรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 มันยิ่งทำให้ fake news กระจายเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น
4
ก่อนหน้านี้ ทั้งเรื่องปัญหาการก่อความไม่สงบ ผู้ก่อการร้าย หรือ ข้อมูลทฤษฏีสมคบคิดต่าง ๆ ได้แพร่กระจายเต็มไปหมดในโลก Social Media
มันได้เกิดสถานการณ์ร้ายแรงขึ้น แม้กระทั่งในประเทศบ้านเกิดของ Facebook เองอย่างประเทศอเมริกา การเกิดขึ้นของ QAnon , ชาตินิยมผิวขาว ที่สุดท้ายได้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน อย่างที่เกิดขึ้นในรัฐสภาของอเมริกา ซึ่งมันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศที่มีเสรีภาพเต็มเปี่ยมอย่างอเมริกามาก่อน ปัจจัยสำคัญก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากเครือข่าย Social Media
4
แนวคิดที่น่าสนใจของ Joanna Stren ที่ได้แบ่งปันแนวคิด เพื่อแก้ปัญหาทั้งหมด โดยเธอได้เสนอ idea ไว้สามอย่างที่น่าสนใจ
3
แนวคิด #1 : ไม่มีอัลกอริธึม ไม่มีโฆษณา
1
แน่นอนว่า พื้นฐานหลักของเครือข่าย Social Media ก็คือโฆษณา ที่เป็นทุนสำคัญในการ-ขับเคลื่อนระบบของพวกเขา
แต่โฆษณา ก็เป็นสิ่งสำคัญในการผลักดันให้เกิดการสร้างข้อมูลผิด ๆ หรือ fake news ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาทางด้านการเมือง เนื้อหาทางด้านสุขภาพแบบผิด ๆ การกำจัดโฆษณา ก็ทำให้ไม่มีสมาชิกคนใดในแพล็ตฟอร์มสามารถเพิ่มเนื้อหาลงไปใน feed ของคนอื่นได้นั่นเอง
2
มีความน่าสนใจของ app ตัวนึงที่ชื่อว่า MeWe เครือข่าย Social Media ที่คิดมุมกลับ กับทุกสิ่งที่เราเห็นในแพล็ตฟอร์มใหญ่ ๆ ในทุกวันนี้ พวกเขาทำการตลาดตัวเองว่าต่อต้าน Facebook มี feed ที่ไม่ใช้อัลกอริธึมใด ๆ และสร้างรายได้จาก features แบบชำระเงิน รวมถึงตัวเลือกสมาชิกแบบพรีเมี่ยมเท่านั้น
5
MeWe เครือข่ายโซเชียลที่ทำการตลาดตัวเองว่าต่อต้าน Facebook มีฟีดที่ไม่ใช่อัลกอริทึม ภาพ: MEWE
แนวคิด # 2: จัดลำดับความสำคัญของข้อมูลใหม่
เหล่าผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้แพล็ตฟอร์มต่าง ๆ จริงจังกับการลดความสำคัญของ การสร้างความเกลียดชัง เรื่องทฤษฏีสมคบคิด และ ทำการจัดลำดับความสำคัญตามความน่าเชื่อถือของข้อมูลอย่างรอบคอบ
1
มีข้อพิสูจน์ที่น่าสใจว่าสิ่งเหล่านี้ทำได้ ถ้าเหล่าผู้บริหารแพลตฟอร์มตั้งใจจะทำมันจริง ๆ ไม่คิดถึงเรื่องเงินเป็นใหญ่ โดยในการศึกษาในปี 2020 ศาสตราจารย์ ฟาริด จาก UC Berkeley และ นักวิจัยคนอื่น ๆ พบว่า Youtube ได้ลดการโปรโมตวีดีโอที่เป็นทฤษฏีสมคบคิด หลังจากที่บริษัทได้เริ่มทำการเปลี่ยน อัลกอริธึม การแนะนำวีดีโอ
1
Facebook ก็ทำเช่นเดียวกัน ในช่วงหลายสัปดาห์ที่นำไปสู่การเลือกตั้ง Facebook และ Instagram ได้ดำเนินการเพื่อ จำกัด การแพร่กระจายของข้อมูลที่จัดว่าเป็นข้อมูลที่ผิด รวมถึงการอ้างสิทธิ์ที่ถูกหักล้างเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งและการฉ้อโกงบัตรเลือกตั้ง ซึ่งมันมีผลในการเพิ่มการแสดงผลให้กับแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้
1
แนวคิด # 3: ให้การควบคุมกลับคืนมาสู่ผู้ใช้งาน
“จะเป็นอย่างไรหากผู้คนสามารถพูดว่า ‘ฉันต้องการดูข่าวจากแหล่งข้อมูลทางการเมืองจากทุก ๆ แหล่งข้อมูล’ หรือ ‘ฉันต้องการดูโพสต์จากเพื่อนและครอบครัวเท่านั้น’” Jesse Lehrich ผู้ร่วมก่อตั้ง Accountable Tech องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศตนเพื่อต่อต้านการบิดเบือนข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย กล่าว
2
อย่างน้อย Facebook ก็ช่วยให้เราเห็นข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับสาเหตุที่เราได้เห็นในบางสิ่งจากหน้า feed เพียงแค่แตะจุดแนวนอนสามจุดบนโพสต์ใดก็ได้ในฟีดของคุณจากนั้น เพียงแค่คลิกที่ “ทำไมฉันจึงเห็นโพสต์นี้”
ฟีดตามลำดับเวลา คือคำตอบ ที่ดี่ที่สุด มีวิธีที่จะคืนค่าบริการบางอย่าง อย่างน้อยก็ชั่วคราว อย่างไรก็ตามการตั้งค่าเหล่านี้มักจะถูกซ่อนไว้ให้ใช้งานยาก
1
Facebook : ในเว็บเบราว์เซอร์ไปที่ไอคอนหน้าแรกที่ด้านบนของฟีดเลื่อนดูเมนูทางด้านซ้าย เลือก “ดูเพิ่มเติม” แล้วเลือก “ล่าสุด” ในแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปที่เส้นแนวนอนสามเส้นที่ด้านบนหรือด้านล่างขวาของหน้าจอแล้วมองหา “ล่าสุด” แต่มันจะไม่สามารถตั้งค่าถาวรได้
Twitter: Twitter ง่ายกว่ามาก รูปดาวเล็ก ๆ ที่มุมขวาบนของเว็บไซต์และแอปช่วยให้เรา “ดูทวีตล่าสุด” แทน “ทวีตยอดนิยม”
1
Twitter ทำให้การเข้าถึงฟีดตามลำดับเวลาง่ายกว่าแอปโซเชียลมีเดียอื่น ๆ เพียงคลิกประกายไฟที่ด้านบนขวาของแอปและเว็บไซต์ ภาพ: TWITTER
YouTube: เราไม่สามารถปิดคำแนะนำอัลกอริทึมทั้งชุดได้ แต่สามารถเปลี่ยนเป็น “วิดีโอล่าสุด” ในแต่ละหมวดหมู่หรือคำค้นหา และยังสามารถปิดการเล่นอัตโนมัติ ในเว็บเบราว์เซอร์ให้มองหาปุ่มเปิด-ปิด เล็ก ๆ ที่มีปุ่มเล่นที่ด้านล่างของโปรแกรมเล่นวิดีโอ ในแอปให้มองหาปุ่มเปิด-ปิด เล็ก ๆ ที่ด้านบนของโปรแกรมเล่นวิดีโอ
Instagram: ไม่สามารถทำได้ ใช้ระบบการคัดเลือกโพสต์แบบอัลกอริทึมเท่านั้น โฆษกหญิงของ Facebook อธิบายว่าด้วยฟีดตามลำดับเวลาแบบเก่าผู้คนพลาดโพสต์ถึง 70% ในฟีดซึ่งเป็นโพสต์ของเพื่อนและครอบครัวเกือบครึ่งหนึ่ง หลังจากทำการเปลี่ยนแปลงฟีดอัลกอริทึม บริษัท พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้คนเห็นโพสต์ของเพื่อนมากกว่า 90%
2
แน่นอนว่า หากข้อมูลใน feed เหล่านี้ป็นเพียงเรื่องของเพื่อนและครอบครัวของเรา นั่นก็เป็นเรื่องหนึ่ง แต่หลายปีที่ผ่านมา Social Media ไม่ได้เป็นเพียงแค่การติดตามเรื่องราวของเพื่อน ๆ หรือครอบครัวเราเท่านั้น แต่ตอนนี้มันได้กลายเป็นช่องทางที่สร้างมุมมองกับเราที่มีต่อโลก หรือ แอบยัดเยียดแนวคิดต่าง ๆ ให้กับเราด้วยนั่นเองครับผม
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
=========================
ร่วมสนับสนุน ด.ดล Blog และ Geek Forever Podcast
เพื่อให้เรามีกำลังในการผลิต Content ดี ๆ ให้กับท่าน
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog ผ่าน Line OA เพียงคลิก :
=========================
ฟัง PodCast เรื่องเกี่ยวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ที่ Geek Forever’s Podcast
——————————————–
ฟังผ่าน Podbean :
——————————————–
ฟังผ่าน Apple Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Google Podcast :
——————————————–
ฟังผ่าน Spotify :
——————————————–
ฟังผ่าน Youtube :
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา