5 พ.ค. 2021 เวลา 07:11 • การเมือง
ไอติม – ขันน็อตการศึกษา ประชาธิปไตยก้าวหน้า (ตอนที่ 2)
บทบาทการศึกษา – บริษัทเอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี จำกัด
กับภาคการเมือง – ขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญ “ไอติม- พริษฐ์ วัชรสินธ์”
เดินคู่ขนานไปด้วยกัน
จะให้ผมทำการศึกษาแล้วพักเรื่องการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ไว้ก่อนก็ไม่ได้
ในฐานะประชาชนคนหนึ่งก็ต้องลุกขึ้นมา ร่วมรณรงค์
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
อีกมุมหนึ่ง ด้านการศึกษาก็สำคัญเหมือนกัน เพราะแทบทุก
ปัญหาในประเทศนี้
ผมว่ามันไม่สามารถแก้ได้ ถ้าไม่แก้ด้านการศึกษาด้วย
อยากให้เศรษฐกิจเติบโต ก็ต้องปรับหลักสูตรการศึกษา
ที่ช่วยพัฒนาทักษะ ที่ตอบโจทย์โลกแห่งอนาคต
ทั้ง 2 เป็นเรื่องที่ปล่อยไม่ได้จริง ๆ !!
ในส่วนบริษัทฯ “ไอติม” ย้ำ!! ผมพยายามแยกออกจากกัน
พนักงานหลายคนจะเห็นว่า ผมพยายามหลีกเลี่ยงพูดถึง
เรื่องการเมือง
"บริษัทเราเปิดรับคนที่หลากหลายทางการเมืองได้
ไม่ใช่คุณเข้ามาแล้วจะต้องเห็นด้วยกับผม"
เพื่อให้เห็นว่าคนในบริษัทที่คิดต่างทางการเมือง
กับผมยังรู้สึกสบายใจที่จะทำงานอยู่
แต่ก็กังวล!!
“ไม่อยากถูกมองว่าบริษัทเกี่ยวข้องกับการเมือง ผมจะเจ็บปวดมาก
ถ้าถูกมองอย่างนั้น”
เพราะหลายคนมีเจตนารมณ์ เข้ามาทำงานเพื่อการศึกษา
เขาก็คงไม่อยากให้การที่ผมขับเคลื่อนทางการเมืองไปส่งผลต่อเขา
แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า!?
 
แวดวงการศึกษา - แวดวงการเมือง มันสัมพันธ์กัน
และทั้ง 2 อย่างสำคัญมากสำหรับอนาคตประเทศ
เห็นเด็กนักเรียนหลายคนเคลื่อนไหวทางการเมือง ก็เคลื่อนไหว
ด้านปฏิรูปการศึกษาด้วย
เพราะ “หากต้องการมีประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
เราต้องทำให้ห้องเรียนส่งเสริมคุณค่าประชาธิปไตยก่อน”
ถ้าห้องเรียนยังส่งเสริมคุณค่าอำนาจนิยมอยู่
 
คุณครูมีอำนาจลงโทษนักเรียนเกินขอบเขต
นักเรียกตั้งคำถามแล้วโดนคุณครูลงโทษ - ปิดกั้น
ถ้ายังมีโรงเรียนไม่ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ ไปเหยียด ไปบูลลี่
 
เราก็มีสังคมที่เป็นประชาธิปไตยไม่ได้!!
สมัยก่อนอาจจะบอกว่า..
ต้องอัดฉีดความรู้ให้นักเรียน
ให้นักเรียนท่องจำข้อมูลได้
ตอนนี้ไม่จำเป็นแล้ว เพราะเด็กเข้าถึงข้อมูลผ่านกูเกิลได้
สิ่งที่สำคัญกว่า คือ
ทำอย่างไรให้ประชาชนมีทักษะการคิด วิเคราะห์ การสื่อสาร
ทักษะการทำงานเป็นทีม
ทำอย่างไรถ้าอยากลดความเหลื่อมล้ำในสังคมนี้
ความเหลื่อมล้ำจะหายไปจากตรงนี้ไม่ได้ ถ้าเด็กสองคนเกิดขึ้นมา
ยังเข้าถึงการศึกษาที่แตกต่างกัน
หมายความว่า "ความเหลื่อมล้ำมันถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น"
เด็กเกิดมาร่ำรวยก็ได้รับการศึกษาที่ดีไป
เด็กอีกคนเกิดมาในครอบครัวที่ฐานะไม่ค่อยสูงมาก
ก็ได้รับการศึกษาที่ไม่ดี
กลายเป็นว่าถึง “เด็กสองคนเก่งเท่ากัน แต่เด็กคนแรกย่อม
ได้เปรียบเด็กคนที่สองเสมอ”
จะพัฒนาคน ลดความเหลื่อมล้ำตรงนี้ได้ จากการปรับหลักสูตร
และวิธีการสอนในโรงเรียน
ในช่วงการเมืองเป็นแบบนี้มีหนังสืออะไรแนะนำให้อ่านไหม?
 
ผมว่าหนังสือเล่มหนึ่งที่ควรอ่าน เป็นประเด็นร้อนแรงในปัจจุบัน
ยกให้หนังสือของ อ.ณัฐพล ใจจริง “ขุนศึก ศักดินา พญาอินทรี”
มีความเคลื่อนไหวของฝ่ายไม่เห็นด้วยพยายามปิดกั้น
ผมเป็นเด็กที่ไม่ชอบวิชาประวัติศาสตร์มากสมัยเรียนประถมศึกษา
ที่ไทย
แต่พอได้ทุนไปเรียนมัธยมที่อังกฤษ วิชาประวัติศาสตร์กลับเป็น
วิชาที่ผมชอบมากที่สุด เพราะวิธีการสอนมันต่างกัน
ผมมองว่าการสอนประวัติศาสตร์ที่ดี คือการไม่พยายามยัดเยียดว่า
เหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นจากชุดข้อมูลเดียว พยายามมีชุดข้อมูล
ที่หลากหลาย โต้แย้ง - หักล้างกัน เอามาให้นักเรียนดู
แล้วคุณไปวิเคราะห์เอาเองว่า..อะไรน่าเชื่อถือกว่ากัน
ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญในการสอนประวัติศาสตร์
เป็นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วย
ถ้าเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตประจำวัน คือทักษะการแยกแยะ
ข่าวสารที่หลากหลายจากแหล่งที่มา
งานซุกแบบนี้มีเวลาออกกำลังกายบ้างหรือไม่?
ก่อนหน้านี้ไปเช่าสนาม เล่นฟุตซอลกับคนในบริษัทฯ
แต่พอโควิด-19 หยุดเล่นไปเลย
ส่วนตัวผมชอบเล่นฟุตบอล
เชียร์หงส์มาตลอด ทำให้เราโม้มาได้หนึ่งปี มาปีนี้ต้องเจียมตัวมากขึ้น
สมัยก่อนผมตัวเล็ก พอไปเรียนมัธยมที่อังกฤษ ลงแข่งฟุตบอลด้วย
เขาตัวใหญ่กว่าเราเยอะมาก
เราเลยชอบ “ไมเคิลโอเวน – Michael James Owen”
ศูนย์หน้าตัวเล็ก แต่สู้ได้!!
เลยเชียร์ลิเวอร์พูลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ไม่นาน “ไมเคิลโอเวน” ทรยศออกจากทีม
แต่เรายึดติดที่ทีมไง! แม้ไม่มีลิเวอร์พูลในพรีเมียร์ลีก
จะให้เลือกไปเชียร์คู่ปรับอย่าง “แมนยู – แมนซิตี้”
ไม่เอา ไม่ขอเชียร์ ๆ ทีมไหน
เปรียบเหมือนการเลือกตั้ง..ขอ Vote No ดีกว่า!!
ตอนนี้ขอมุ่งมั่น บ่มเพาะวงการศึกษา เติมปุ๋ยประชาธิปไตยก่อนตะลุยการเมือง
- จบบริบูรณ์ -
“ไอติม – ขันน็อตการศึกษา ประชาธิปไตยก้าวหน้า”
มีทั้งหมด 2 ตอน
สามารถเข้าไปติดตามอ่าน..ตอนที่ 1 ตามลิงค์นี้เลยค่ะ
อ่านจบ..คิดเห็น – รู้สึกอย่างไร บอกกันสักกะนิดนะคะ
 
ขอบคุณสำหรับทุกการติดตาม
Credit :
เรื่อง : หุงข้าวเตาถ่าน
ภาพ + Creative : WhoChillDay
# WhoChillDay #หุงข้าวเตาถ่าน #ไอติม
#พริษฐ์วัชรสินทธ์ #การศึกษา #Startdee #เหลื่อมล้ำ
#การเมือง #ประชาธิปไตยก้าวหน้า #โหวตโน
#ลิเวอร์พูล#Blockdit

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา