6 พ.ค. 2021 เวลา 12:53 • ประวัติศาสตร์
• ประวัติศาสตร์สุโขทัย | ฉบับรวบรัด
1
* เนื้อหาในบทความนี้ จะนำเสนอในรูปแบบที่รวบรัดและเข้าใจง่าย ดังนั้นในบางเหตุการณ์ที่มีความละเอียดซับซ้อน อาจจะไม่ได้ปรากฏอยู่ในบทความนี้
3
** ปีที่ปรากฏจะใช้เป็นปีพุทธศักราช (พ.ศ.)
1
• ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสุโขทัย
จากหลักฐานทางโบราณคดี บันทึกของต่างชาติ รวมไปถึงตำนานและนิทานปรัมปราของไทย แสดงให้เห็นว่ามีอาณาจักรและรัฐโบราณหลายรัฐที่ได้ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ของประเทศไทยมาเป็นเวลายาวนานกว่าหลายพันปีแล้ว อาทิ
1
- อาณาจักรโยนกเชียงแสน อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรล้านนา ในภาคเหนือ
- อาณาจักรอิศานปุระ อาณาจักรโคตรบูร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- อาณาจักรละโว้ อาณาจักรสุพรรณภูมิ ในภาคกลาง
- อาณาจักรลังกาสุกะ อาณาจักรตามพรลิงค์ ในภาคใต้
โดยรัฐทั้งหลายเหล่านี้ไม่ไปอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ได้มีการติดต่อค้าขาย มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ รวมถึงมีการเผยแพร่และรับเอาวัฒนธรรมจากรัฐอื่น
เมื่อถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 เมื่ออาณาจักรเขมรเรืองอำนาจถึงขีดสุด โดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้ทรงสร้างนครวัด และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ผู้ทรงสร้างนครธม บรรดารัฐโบราณที่ตั้งอยู่ในบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ก็ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจและอิทธิพลของอาณาจักรเขมร
ทว่าหลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์ในปี 1762 อาณาจักรเขมรก็ได้เริ่มเสื่อมอำนาจลง เปิดโอกาสให้ดินแดนต่าง ๆ ตั้งตนเป็นอิสระ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือรัฐสุโขทัยซึ่งมีเมืองสำคัญคือสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 รัฐสุโขทัยรวบรวมกำลังก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมา
1
วัดมหาธาตุ วัดสำคัญที่ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังของกรุงสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัยถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1792 บริเวณพื้นที่ของลุ่มแม่น้ำน่าน โดยอาณาจักรสุโขทัยมีพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงปกครองรวมกันทั้งสิ้น 9 พระองค์ ดังต่อไปนี้
(1) พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (1792 - ?)
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์มีพระนามเดิมว่า พ่อขุนบางกลางหาว ในช่วงที่อาณาจักรเขมรเสื่อมอำนาจ พ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมมือกับพ่อของผาเมืองต่อสู้ขับไล่เขมรให้ออกไปจากสุโขทัย
หลังขับไล่อิทธิพลของเขมรได้สำเร็จ พ่อขุนผาเมืองก็ได้ให้พ่อขุนบางกลางหาวเป็นผู้ปกครองเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ นับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง
ในระยะแรกสถานะของกษัตริย์สุโขทัยจะถูกเรียกว่า พ่อขุน อันเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ก่อนที่ในระยะสถานะของกษัตริย์สุโขทัยจะถูกเรียกว่า พระยา แทน
(2) พ่อขุนบานเมือง (? -1822)
เป็นพระโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับพระนางเสือง
(3) พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (1822 - 1841)
พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่จังหวัดสุโขทัย
ทรงเป็นพระอนุชาของพ่อขุนบานเมือง พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาณาจักรสุโขทัย
ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้ทรงผูกสัมพันธไมตรีกับพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา และพญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา เพื่อต่อต้านอำนาจของราชวงศ์หยวนของกุบไลข่านที่ปกครองจีนในช่วงเวลานั้น
นอกจากนี้พระองค์ยังได้นำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) เข้ามาเผยแพร่ในสุโขทัย รวมไปถึงทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทย (ลายสือไทย) ในปี 1826
อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
(4) พระยาเลอไทย (1841 - 1866)
เป็นพระโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง และหลายเมืองได้ตั้งตนเป็นอิสระจากสุโขทัย
(5) พระยางั่วนำถุม (1866 - 1890)
เป็นพระโอรสของพ่อขุนบานเมือง
(6) พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพระยาลิไทย
(1890 - 1911)
3
เป็นพระโอรสของพระยาเลอไทย พระองค์ได้ทรงนำธรรมะในพระพุทธศาสนามาเป็นหลักในการปกครอง ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงมีพระนามว่า พระมหาธรรมราชา อันมีความหมายว่า กษัตริย์ผู้ทรงธรรม
1
วัดศรีสวาย เดิมเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ก่อนที่จะถูกดัดแปลงเป็นวัดในพระพุทธศาสนา
พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงออกผนวชในขณะที่ครองราชย์
โดยในช่วงที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงจำวัดที่วัดป่ามะม่วง ในกรุงสุโขทัย พระองค์ก็ได้ทรงสร้างวัดหลายวัด สร้างพระพุทธรูปที่สำคัญหลายพระองค์ รวมไปถึงทรงพระนิพนธ์ผลงานทางพระพุทธศาสนาอย่าง ไตรภูมิพระร่วง (เตภูมิกถา)
ไตรภูมิพระร่วง วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย
ในช่วงเวลาเดียวกัน ได้มีการก่อตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ของคนไทย ซึ่งก็คืออาณาจักรอยุธยาในปี 1893 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
(7) พระมหาธรรมราชาที่ 2 (1911 - 1942)
เป็นพระโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 1 ในสมัยของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาได้ขยายอำนาจจนมีกำลังที่เข้มแข็งและเข้ารุกรานหัวเมืองต่าง ๆ ของสุโขทัย
1
จนท้ายที่สุดในปี 1921 อาณาจักรสุโขทัยก็ได้ยอมอ่อนน้อมต่ออาณาจักรอยุธยา
1
(8) พระมหาธรรมราชาที่ 3 หรือพระยาไสยลือไทย (1942 - 1962)
เป็นพระนัดดา (หลาน) ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงพยายามฟื้นฟูอำนาจของอาณาจักรสุโขทัยโดยการร่วมมือกับเจ้าผู้ครองเมืองน่าน แต่สุดท้ายก็ไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะอำนาจของอาณาจักรอยุธยายังคงทวีเพิ่มมากขึ้น
1
(9) พระมหาธรรมราชาที่ 4 หรือพระยาบรมปาล
(1962 - 1981)
ภายหลังจากที่พระมหาธรรมราชาที่ 3 สวรรคต ได้เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระโอรสทั้งสองพระองค์คือ พระยารามกับพระยาบรมปาล
ในปี 1962 สมเด็จพระอินทราชากษัตริย์อยุธยาได้ทรงเข้ามาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งของทั้งสอง โดยพระองค์ทรงแต่งตั้งให้พระยาบรมปาลเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 กษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย โดยให้ไปครองเมืองพิษณุโลก
ในขณะที่พระยาราม สมเด็จพระอินทราชาได้ทรงแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปกครองกรุงสุโขทัย
1
เมื่อพระยาบรมปาลสวรรคตในปี 1981 สมเด็จเจ้าสามพระยากษัตริย์อยุธยาได้ทรงแต่งตั้งให้พระราเมศวร พระโอรสที่เกิดจากพระราชเทวีผู้เป็นพระธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ 3 ไปปกครองเมืองพิษณุโลก
ส่วนทางด้านกรุงสุโขทัย พระยายุธิษเฐียรพระโอรสของพระยารามได้ปกครองกรุงสุโขทัยต่อจากพระบิดา แต่ในเวลาต่อมาพระยายุธิษเฐียรก็ได้หันไปเข้าร่วมกับพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์แห่งล้านนาเพื่อต่อต้านอำนาจของอยุธยา
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
ด้วยเหตุนี้สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ซึ่งก็คือ พระราเมศวร) จึงทรงยกทัพบุกโจมตีกรุงสุโขทัยในปี 2005 ก่อนที่ในปีถัดมา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจะทรงผนวกอาณาจักรสุโขทัยให้เป็นส่วนหนึ่งอาณาจักรอยุธยาอย่างเป็นทางการ
*** Reference
- หนังสือประวัติศาสตร์ไทย สำนักพิมพ์ Torch
- สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม 3
1
#HistofunDeluxe
โฆษณา