Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Blockพูดได้byข้าวน้อยฯ
•
ติดตาม
8 พ.ค. 2021 เวลา 00:29 • ความคิดเห็น
ผมเพิ่งเข้าใจว่าทำไมการฆ่าสัตว์ใหญ่จึงบาปกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
เคยมีข้อถกเถียงกันระหว่างผมกับเพื่อนถึงเรื่องบุญ บาปในการทำลายชีวิตสัตว์
ต้นเรื่องก็มาจากเพื่อนผมเป็นคนไม่กินเนื้อ หมายถึงเนื้อวัว เนื้อควาย ด้วยความเชื่อว่า การฆ่าสัตว์ใหญ่นั้นสร้างบาปกรรมมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
ความเห็นของผม(เวลานั้น)กลับคิดตรงกันข้าม
ผมเถียงเพื่อนไปว่า การฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ผมคิดว่าการฆ่าสัตว์เล็ก ควรจะบาปมากกว่า..
เพื่อนผมถามกลับว่า เพราะอะไร ทำไมจึงคิดแบบนั้น?
ผมตอบกลับไปว่า..
ก็การฆ่าสัตว์เล็กเพื่อเป็นอาหาร มันต้องฆ่าจำนวนมาก เพื่อให้พอกิน ดังนั้นเมื่อต้องฆ่ามาก มันก็ต้องตายหลายชีวิต อย่างกุ้งฝอย ปลาจิ้งจั้ง แมลงทอด อะไรจำพวกนี้
1
หากเราคิดว่า ทุกชีวิตมีค่าเหมือนกัน ยิ่งเราต้องฆ่ามากเท่าไหร่
มันก็น่าจะยิ่งบาปมากขึ้นตามจำนวนที่ฆ่า จริงไหม?
ส่วนการฆ่าสัตว์ใหญ่ อย่างวัว หมู หรือปลาตัวใหญ่ ๆ การตายเพียงหนึ่งชีวิต มันสามารถทำเป็นอาหารสำหรับคนจำนวนมากได้
มันก็น่าจะเป็นการทำลายชีวิตจำนวนน้อยแต่คุ้มค่า
จึงสมควรจะบาปน้อยกว่า..
..
ประเด็นนี้ คาใจผมมานาน จนผมได้ฟังเทศนาธรรมจาก พระอาจารย์ท่านหนึ่ง เรื่องการฆ่าสัตว์ใหญ่เล็ก ทำไมบาปต่างกัน ผมจึงเข้าใจ..
ท่านพระอาจารย์อธิบายว่าตามหลักธรรม คำสอนของพระพุทธองค์ กรรมจากการฆ่า ต้องมีองค์ประกอบ 5 อย่างคือ
1.สัตว์นั้นมีชีวิต
2.รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
3.ตั้งใจที่จะฆ่า
4.พยายามที่จะฆ่า
5.สัตว์นั้นตายลงจากการฆ่า
1
โดยเครื่องชี้วัดสำคัญคือตัวเจตนา
หากมีเจตนาฆ่า ถือว่าเป็นบาปทั้งสิ้น
ในส่วนของการฆ่าสัตว์ใหญ่
ทำไมบาปมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก ก็อธิบายได้ด้วยเจตนาเช่นกัน
ยกตัวอย่าง หากเราคิดจะล้มวัวมาทำอาหารเลี้ยงฉลองอะไรสักอย่าง เราต้องมีการจัดหาวัว เตรียมการฆ่า เตรียมเครื่องปรุงอาหาร ต่างกับการตบยุง ที่เพียงเราได้ยินเสียงมันบินวี่ ๆ เราก็ตบมันโดยอัตโนมัติทันที
1
เมื่อเป็นดังนี้ การล้มวัวนั้นมีเจตนาในการฆ่ามากกว่าการฆ่ายุง จึงมีบาปมากกว่า...
1
1
หากนำมาเทียบกับกฏหมายในทางโลก ก็คล้าย ๆ กับความผิดจากการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนกับการฆ่าโดยประมาท การลงโทษก็แตกต่างกัน
ฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ถือว่ามีเจตนาแรงกล้าที่จะทำให้เขาตาย เพราะถือว่ามีเวลาเตรียมตัว มีเวลาทบทวน แต่ก็ยังฆ่า
3
..
อีกข้อที่ ท่านพระอาจารย์กรุณาอธิบายเพิ่ม คือกรณีการซื้อปลาในตลาดแบบเป็น ๆ แล้วเราสั่งให้เขาทุบกับการซื้อแบบที่เขาทุบไว้แล้ว
แบบไหน บาปมากกว่ากัน?
ข้อนี้ ท่านพระอาจารย์ อธิบายว่า
ก็ให้เราย้อนไปดูองค์ประกอบ 5 ข้อ บาปแห่งการฆ่า
อย่างการสั่งฆ่าปลาในตลาดนั้น
ปลายังเป็น ๆ อยู่ แสดงว่าสัตว์ยังมีชีวิต
ตอนเราคิดจะซื้อมัน เราก็คิดว่ามันต้องตาย เราถึงจะนำไปทำอาหารได้ แสดงว่าเรามีเจตนาให้มันตาย
1
เมื่อเราสั่งปลาตัวนั้น ก็เท่ากับบอกให้แม่ค้าทุบหัวปลา เสมือนหนึ่งเราฆ่าให้มันตาย
เราเห็นแม่ค้าทุบหัวปลา เราก็นิ่งดูว่ามันตายรึยัง? แสดงว่าเรามิได้ห้ามปราม คือเราต้องการให้มันตายได้สำเร็จ
4
2
และสุดท้าย เมื่อปลานั้นได้ตายลง
กรรมจากการสั่งฆ่าปลาก็สมบูรณ์
ส่วนการซื้อปลาที่ตายแล้ว ถามว่าบาปไหม จริง ๆ ก็บาปแต่บาปน้อยกว่าตรงที่การฆ่าปลาตัวนั้นเกิดขึ้นก่อนที่เราจะมาซื้อ
ซึ่งไม่ว่าเราจะมาซื้อหรือไม่ก็ตาม ปลาตัวนี้ต้องถูกแม่ค้าทุบหัวเพื่อขายแน่นอนอยู่แล้ว
บาปแห่งการซื้อปลาที่ทำไว้ล่วงหน้าจึงเบากว่า
2
หลายคนอาจจะนึกแย้งว่า
ก็ถ้าเราไม่ซื้อ ปลาก็อาจตายน้อยลง เพราะแรงจูงใจให้แม่ค้าฆ่าปลาเพื่อนำมาขายลดลง
ข้อนี้ ธรรมะไม่อาจอธิบายแบบหลักเศรษฐศาสตร์ได้
ความต้องการซื้อทำให้เกิดความต้องการฆ่าเพื่อขาย อันนี้ถือเป็นคนละเรื่องกัน
1
สิ่งสำคัญของบุญและบาปที่เราพึงระลึกไว้เสมอคือ...เจตนา...
3
4
เพราะฉะนั้นการฝึกคิดดีเป็นอาจิณจะช่วยให้เรามีเจตนาในทางกุศลอยู่เสมอ ก่อนจะคิดลงมือทำอะไร
..
2
น้อมในธรรมขององค์พระผู้มีพระภาคเจ้า🙏
นมัสการในคำสอนของพระคุณเจ้า
ติดตามอ่านบทความได้ที่
https://www.blockdit.com/n.sp
13 บันทึก
149
104
49
13
149
104
49
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย