8 พ.ค. 2021 เวลา 09:43 • สุขภาพ
ความสัมพันธ์ในครอบครัว เครียด ซึมเศร้าในวัยรุ่น
สถานการณ์ปัญหาสุขภาพและภาระโรคต่อเนื่องซึ่งน่าจับตามองในปี 2564 คือ ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่น โดยเฉพาะเรื่องเครียดและภาวะซึมเศร้า
ปัจจุบันวัยรุ่นไทยมีปัญหาซึมเศร้ามากกว่าในอดีตมาก สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาคือ ความสัมพันธ์ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 60 รองลงไปคือ เรื่องการเรียน ความรุนแรง ปากท้อง การกลั่นแกล้ง หน้าที่การงาน
ครอบครัวเป็นเซฟโซนที่ป้องกันลูกไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าหรือเกิดอารมณ์ซึมเศร้าได้”
เพื่อให้ครอบครัวเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยและทำให้ความสัมพันธ์ในบ้านดีขึ้น
ให้ใช้การสื่อสารเชิงบวกคือ ไอ เมสเสจ (I Message) คือ แทนที่พ่อแม่ผู้ปกครองหรือครูจะบ่นดุด่าว่ากล่าว แต่ให้บอกพฤติกรรมที่ไม่ชอบ (ไม่ใช่บุคลิก) หรือพฤติกรรมที่ชอบแทน เช่น เด็กเล่นมือถือแล้วไม่ทำการบ้านให้เสร็จ แทนที่จะดุด่าว่ากล่าวหรือบ่นเด็ก ก็ให้พ่อแม่หรือครูบอกความรู้สึกของตัวเอง (I) ออกมา
“รู้สึกดี ๆ เป็นห่วง รัก ให้ถ่ายทอดออกไป แล้วสุดท้ายก็บอกไปเลยว่า อยากให้เกิดอะไรขึ้น ไม่ต้องบ่นยาว เช่น ‘เล่นมือถือแล้วงานก็ยังไม่เสร็จ แม่เป็นห่วงนะ ปิดโทรศัพท์มาทำได้แล้ว’ หรือถามว่าจะทำกี่โมง พูดสั้น ๆ เด็กอาจจะไม่ทำ แต่ถ้าเราเลิกบ่นและทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ โอกาสที่เราพูดแล้วเด็กจะทำมีมากขึ้น เป็นทักษะง่าย ๆ เกี่ยวกับการสื่อสาร เราทำเองได้เพื่อให้เกิดเซฟโซนในสังคม ในครอบครัว สุขภาพใจก็จะได้แข็งแรง สุขภาพจิตก็จะได้ดีขึ้น”
ในกรณีที่พ่อแม่และลูกมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน แนะนำให้พ่อแม่ลองปรับเปลี่ยนตัวเองก่อน ต้องไม่บอกว่า ความเห็นของลูกผิด แต่ให้บอกความรู้สึกของตัวเองออกไป เป็นการสื่อถึงความรักและความห่วงใย
“ถึงจะขัดแย้งกัน แต่เขาก็จะรู้ว่า เราเป็นห่วง เรารัก สุดท้ายก็จะคุยกันและฟังกันได้ดีขึ้น ทำให้บรรยากาศในครอบครัวดีขึ้น สร้างต่อไปเรื่อย ๆ ถ้าได้ลองทำจะพบว่าคุณเปลี่ยน ลูกเปลี่ยนจริง ๆ แต่ถ้าจะรอให้ลูกเปลี่ยนก่อน เขาไม่เปลี่ยนหรอกค่ะ ก็จะเหมือนเดิมไปเรื่อย ๆ
ลดบ่นลง ทะเลาะกันให้น้อยลง คุณพ่อคุณแม่เปลี่ยน ลูกเปลี่ยนแน่นอน แต่เปลี่ยนได้ดั่งใจ 100% หรือเปล่านั่นคืออีกประเด็นหนึ่ง แล้วอีกเรื่องที่สำคัญคือ พ่อแม่อย่าลืมดูแลตัวเอง เราเหนื่อยทั้งงาน เหนื่อยทั้งการดูแลเขา สุดท้ายเราก็อาจจะเป็นคนที่มีภาวะซึมเศร้าเองก็ได้”
ปัญหาวัยรุ่นนั้นส่วนใหญ่มาจากครอบครัวเป็นอันดับหนึ่ง “ปัญหาเรื่องการถูกกลั่นแกล้งรังแก ใช้ถ้อยคำ ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ หรือว่าบูลลี่ (Bully) ตามมา จริง ๆ เราป้องกันได้ เราตัดไฟตั้งแต่ต้นลมได้”
ปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่นนั้น อาจจะนำมาซึ่งผลที่ใหญ่โตเกินคาดคิด ถ้าได้เข้าไปสำรวจในทวิตเตอร์ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียที่วัยรุ่นนิยมใช้เป็นพื้นที่ระบายความในใจ แล้วลองค้นหาใน #โรคซึมเศร้า #ปัญหาครอบครัว #บูลลี่ สิ่งที่จะพบเห็นเสมอคือ ภาพเด็กวัยรุ่นทำร้ายร่างกายตัวเอง
บ้านหรือโรงเรียนถูกสร้างให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย มีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อ-แม่-ลูก ครู-นักเรียน มีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ก็จะสามารถช่วยให้วัยรุ่นมีสุขภาพจิตแข็งแรง ห่างไกลจากความเครียด และภาวะซึมเศร้าได้
Cr.: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ความสัมพันธ์ในครอบครัว เครียด ซึมเศร้าในวัยรุ่น
โฆษณา