Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เศรษฐศาสตร์สามก๊ก
•
ติดตาม
8 พ.ค. 2021 เวลา 10:16 • ปรัชญา
บังทองเสนอแผน 3 ระดับ ยึดเสฉวน
ไม่ช้า ไม่เร็ว กำลังดี
ในขณะที่เล่าปี่ตั้งทัพอยู่ที่ด่านแฮบังก๋วน
เพื่อหาโอกาสที่จะยึดเสฉวนของเล่าเจี้ยง
จึงปรึกษากับบังทอง กุนซือที่ติดตามมาด้วย
ถึงแผนการที่จะยึดเสฉวนของเล่าเจี้ยง
บังทองเสนอแผนการ 3 ระดับ
ให้เล่าปี่เลือกใช้ตามใจชอบ คือ
ระดับที่ 1 แบบเร่ง ๆ
รีบจัดกองทัพ เกณฑ์ทหารเจนศึก
ฉวยโอกาสที่เล่าเจี้ยงยังไม่เตรียมตัว
บุกยึกเสฉวน
ระดับที่ 2 แบบเรื่อย ๆ
ยึดด่านด่านโปยสิก๋วนเสียก่อน
จากนั้นค่อยยึดเสฉวน
ระดับที่ 3 แบบรอ ๆ
ยกทัพกลับเกงจิ๋ว
รอโอกาสหน้าค่อยยกทัพมาใหม่อีกครั้ง
พอเล่าปี่ได้ฟังแผนทั้ง 3 ระดับของบังทองแล้ว
ก็สรุปกับบังทองว่า
แผนระดับที่ 1 ดูรีบร้อนไป
แผนระดับที่ 3 ก็ช้าเกินไป
แต่แผนระดับที่ 2 ไม่เร่งไป ไม่ช้าไป เหมาะสมกำลังดี
จึงตัดสินใจเลือกใช้แผนระดับที่ 2
การที่เล่าปี่ไม่เลือกใช้แผนระดับที่ 1
เพราะหากรีบร้อนยึดเสฉวน
จะทำให้ผู้คนครหาได้ว่ายึดเมืองคนแซ่เดียวกัน
เสียชื่อเล่าปี่ ผู้มีคุณธรรม
และที่สำคัญถึงจะยึดเสฉวนได้ ก็ปกครองยาก
เพราะขุนนางและชาวเมืองไม่ยอมรับ
ทำให้แทนที่จะเข้าไปพัฒนาเสฉวนได้เลย
กลับต้องมาแก้ปัญหาภายในก่อน
และหากเล่าปี่เลือกใช้แผนระดับที่ 3
โดยการยกทัพกลับเกงจิ๋วไปก่อน
จะทำให้โอกาสที่จะยึดเสฉวนเป็นอันต้องหลุดลอยไป
และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะมีโอกาสทองแบบนี้อีก
กระทบต่อแผนการใหญ่ที่จะรวบรวมแผ่นดิน
เล่าปี่จึงเลือกใช้แผนระดับที่ 2
ที่สามารถยึดเสฉวนได้
โดยที่ไม่ต้องกังวัลว่าจะมีข้อครหาตามมา
ขุนนางและชาวบ้านให้การยอมรับ
และทำให้ไม่ต้องเสียโอกาสในการยึดเสฉวนด้วย
ในกรณีของเล่าปี่เรื่องนี้ ทำให้เห็นว่า
บางอย่างเร็วไปก็ไม่ดี ช้าไปก็เสียโอกาส เช่น
หากต้องการปรับเปลี่ยนองค์กร
โดยการนำ "ระบบ" หรือนำ IT มาใช้
หากปรับเปลี่ยนเร็วเกินไป พนักงานไม่ทันได้ตั้งตัว
จะทำให้พนักงานปรับตัวไม่ทัน
และอาจบานปลายถึงขั้นต่อต้านได้
ผู้บริหารก็ต้องมานั่งปวดหัวกับปัญหาที่จะตามมา
แต่หากปรับเปลี่ยนช้าเกินไป
ในขณะที่คู่แข่งหรือสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว
จะทำให้ปรับตัวไม่ทันและเสียโอกาสได้
ผู้บริหารก็ต้องมานั่งเสียดายกับโอกาสที่หลุดลอยไป
แต่การที่ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยน
ไม่ช้าเกินไป ไม่เร็วเกินไป
ทำให้พนักงานมีเวลาในการปรับตัวและเรียนรู้
แข่งขันกับคู่แข่งได้ ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ทัน
ถึงแม้อาจจะไม่ชนะในเกมส์การแข่งขัน
แต่ก็ไม่ได้แพ้ เต็มที่ก็เสมอตัว
ดีกว่าตกขบวนและพลาดโอกาสดี ๆ ไป
ในการทำงานก็เช่นกัน เช่น หัวหน้ามอบหมายงานมา
แต่งานนั้นไม่เร่งด่วน แต่ต้องเสร็จภายในเวลาที่กำหนด
หากเร่งทำงานนั้นให้เสร็จ ๆ ไป
ก็อาจทำให้งานนั้นเสร็จแบบลวก ๆ
เจ้านายเห็นผลงานแล้ว ก็คงจะส่ายหน้า
แต่ถึงแม้จะทำเสร็จแบบมีคุณภาพก็ตาม
กว่าจะเสร็จก็คงใช้พลังงานไปมาก หมดเรี่ยวแรง
และมีความเครียด โดยไม่จำเป็นด้วย
(เพราะเป็นงานไม่ด่วน มีเวลาทำ)
แต่หากปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป
ทำช้าเกินไป ก็อาจทำให้งานนั้นเสร็จไม่ทัน
หรือถ้าทำเสร็จทันก็เสร็จแบบลวก ๆ ไฟลนก้น
สุดท้ายอาจทำให้มีปัญหากับหัวหน้าได้
การที่ค่อย ๆ ทำเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอ
ไม่ต้องรีบทำให้เสร็จจนเกิดความเครียด
มีเวลาลงลึกในรายละเอียด
จนสุดท้ายมีงานส่งหัวหน้าได้ทันตามที่กำหนด
ซึ่งทำให้ไม่เครียดเกินไป ไม่ต้องใช้พลังงานจนเหนื่อย
และงานเสร็จอย่างมีคุณภาพด้วย
หากสามารถมีทางเลือกได้ว่าจะทำเมื่อไหร่
การคิดถึงผลได้และผลเสียของแต่ละทางเลือก
แล้วนำมาเปรียบเทียบย่อมเป็นสิ่งที่ดี
เพราะจะทำให้ ไม่ช้าไป ไม่เร็วไป กำลังดี
#เศรษฐศาสตร์
#สามก๊ก
#บังทอง
#เสฉวน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย