8 พ.ค. 2021 เวลา 13:01 • สุขภาพ
'เชียงใหม่' ในวันที่ไม่เหมือนเดิม
จากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 2019 ในระลอก 3 ที่ผ่านมา ซึ่งโดยรวมระยะเวลาตอนนี้เข้าเดือนที่ 3 ของระลอกใหม่แล้วจากคลัสเตอร์สถานบันเทิงภายในประเทศ
1
'เชียงใหม่' เมืองที่ได้ขึ้นชื่อว่าไม่ว่ายังไงสักครั้งในชีวิตก็ต้องมาเยือนให้ได้ ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าได้รับผลกระทบจากตรงนี้ไปเต็มประตู
เมืองเชียงใหม่ที่เคยตื่นตาตื่นใจทุกครั้งที่มาเยือนตั้งแต่ผมเรียนอยู่สมัยมหาวิทยาลัยหรือย้อนกลับไปเมื่อไม่นานหลังกลับมาจากต่างประเทศได้เพียง 1 ปีบ้านเราก็รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดนี้ในปี 2020 ซึ่งเป็นระลอกแรกของการระบาด(ผมเชื่อว่าทุกคนยังจำกันได้ดี)
ในฐานะคนหนุ่มคนสาว สิ่งที่ไม่แย่ไปกว่ากันก็คือสภาวะเด็กนักศึกษาที่กำลังจบใหม่ไฟแรงพร้อมจะทำงานในตลาดแรงงานตามธรรมเนียมปฏิบัติของบ้านเรานั้น(เรียนจบ=ทำงานต่อ)
กลับต้องมาเผชิญหน้ากลับปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้จากรัฐบาลกลางที่ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน ว่าจะดูแลประชาชนแบบนั้นแบบนี้
'ซึ่งผ่านมาแล้วมากกว่า 7 ปีกลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปเลย'
ในขณะที่น้องจบใหม่บางคนเลือกเส้นทางชีวิตที่แตกต่างมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วร้อยละ 80 ของเด็ก gen z นั้นล้วนที่มีความฝันที่อยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อาจจะเป็นเพราะแรงกดดันจากสังคมที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันผ่าน 'โทรศัพท์มือถือ' ที่มำให้เราได้รับรู้ถึงเรื่องราวต่างๆจากภายนอก
แต่ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่แย่เป็นทุกเดิมมาตั้งแต่ก่อนที่จะเจอปัญหาโควิด พอเราโดยโรคระบาดนี้ฮุคหมัดขวาเข้าเต็มคาง ถึงกับทำให้อนาคตของนักศึกษารุ่นที่เราเรียกว่า 'อนาคตของชาติ' กลุ่มนี้นั้น เซล้มลงไปกองกับพื้นเลยทันที
...
ใช่แล้วครับสิ่งที่ผลเกริ่นมาทั้งหมด เชียงใหม่ก็ได้รับผลกระทบเต็มๆ
เมืองแห่งแสงสีเสียงที่นี่นั้น ถูกขับเคลื่อนด้วยกลุ่มของคนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านเหล้า ร้านคาเฟ่ต่างๆ(เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีคาเฟ่น่ารักๆเต็มไปหมด) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งทำเงินในฐานะที่เรารู้จักกัน 'เมืองท่องเที่ยว'
จากผลกระทบนี้นั้น ย่อมส่งผลให้เจ้าของกิจการเหล่านี้ ลามไปจรถึงพ่อค้าแม่ขาย หาบเร่ กาดเมืองนั้น กาดเมืองนี้ ต้องมีแต่คนขายแต่ 'ไม่มีคนซื้อ'
ตามหลักเศรษฐศาสตร์นั้น จะเรียกอะไรแบบนี้ง่ายๆว่า 'ความต้องการขายมันมากกว่าความต้องการซื้อ'
โดยปกติถ้าเกิดอะไรแบบนี้ 'กลไกราคา' หรือตลาดจะทำหน้าที่ของตัวมันเองด้วยการ "ลดราคา" สินค้าที่ขาย
แต่ในเมื่อลดราคาแล้วมันเข้าเนื้อหรือสุดท้ายแล้วไม่มีใครซื้อ เพราะด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ 'คนไม่มีเงิน' จริงๆแล้วมันถูกก่อขึ้นมาตั้งแต่การระบาดของระลอกแรก
ทำอะไรไปมันก็แทบจะไม่ช่วยอะไร
เมืองที่เรียกได้ว่าเป็นแสงสีเสียงของทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่รักในความสโลว์ไลฟ์และต้ะต่อนยอนของเชียงใหม่ ถูกพับเก็บโครงการในทันที เพราะเงินที่ทำให้เชียงใหม่เลี้ยงตัวเองได้ 'ล้วนมาจากนักท่องเที่ยว' เกือบทั้งหมด
...
ภาวะที่กลืนไม่เข้า คลายไม่ออกนี้ ทำให้ทุกคนต้องดิ้นรนเพื่อนที่จะหาเงินมาหล่อเลี้ยงชีวิตเพื่อ 'ให้ตัวเองรอดวันนี้ไปก่อน'
การที่จะขอความร่วมมือให้ทุดคน lockdown ตัวเองอยู่ที่บ้านนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะคิดมาตั้งแต่แรก เพราะผลประโยชน์จากการที่ lockdown นั้น ณ เวลานี้มันเท่ากับ 0
ผู้คนต้องดิ้นรนทำมาหากิน
"โควิดก็กลัวเป็น แต่อีกใจก็กลัวคนที่บ้านอดตาย"
เป็นประโยคที่ผมได้ยินแล้วรู้สึกได้เป็นอย่างดีเลยว่า 'ความเท่าเทียมกันในสังคมมันเป็นสิ่งที่ควรจะมีกับทุกที่ในประเทศที่เจริญแล้วไม่ใช่เหรอ ?
'ทำไมเขาเหล่านี้ถึงกลับต้องทำงานอยู่ ทั้งๆที่คนอีกกลุ่มกลับอยู่บ้านเฉยๆกักตัวก็ได้ ไม่ได้ลำบากลำบนอะไรนี่หน่า สบายด้วย'
'ก็มีเงินจะทำอะไรก็ได้'
ยังคงจุกกับประโยคนี้อีกรอบ
...
ในฐานะนักเขียน(ที่นานๆทีจะเขียน) ที่อายุยังน้อย ถ้าเทียบประสบการณ์กับคนรุ่นเก่าแล้วเรียกว่าช่างต่างกันมากนัก
แต่ด้วยการที่เรามองโลกผ่านสิ่งต่างๆมากมาย ทำให้ความคิดของเรานั้นค่อนข้างจะแตกต่างกับคนรุ่นก่อนพอสมควร การมีความคิดว่าจะพัฒนานู่นนี่นั่นกลับถูกกีดกัน พร้อมกับการบริหารที่สุดแสนจะเรียกว่า 'ใช้ไม่ได้' ของผู้ใหญ่ในกลุ่มนี้นั้น
การปลงกับเรื่องทุกอย่าง พร้อมที่จะแบกกระเป๋าไปเสี่ยงกับที่ใหม่ การย้ายประเทศจึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัวอีกต่อไป
'ภาวะสมองไหล' คงจะเกิดขึ้นในไม่ช้า เพราะคนเหล่านี้เป็นหัวหอกสำคัญของการพัฒนาประเทศ
เราไม่ได้สำคัญตัวเองว่าตัวเองดีแบบนั้นแบบนี้
แต่เราเพียงคิดว่า เราทำหน้าที่ของเราไปเต็มที่แล้ว ทั้งเป็นกระบอกเสียงเอง ให้ความร่วมมือเอย
แต่ทุกอย่างผลลัพธ์ คือ 'เหมือนเดิม'
...
และเชียงใหม่เองก็อาจจะเป็นเมืองแรกๆที่คนหนุ่มสาวเหล่านี้ พร้อมจะแบกกระเป๋าออกไปจากที่นี่โดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวใคร
ยินดีต้อนรับสู่เชียงใหม่(ใหม่) ครับ.
ปล. ไปวิ่งมาน่ะครับ รูปคือไม่เกี่ยวอะไรกับบทความเลยทั้งนั้น 555555
Cr. Zepp application
โฆษณา