8 พ.ค. 2021 เวลา 18:36 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จีนยืนหนึ่งอีกครั้ง แซงทุกชาติมหาอำนาจ !!
1
แต่หาใช่เรื่องดีไม่ เพราะยืนหนึ่งในเรื่องการเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกแบบทิ้งห่างชาติอื่นชนิดไม่เห็นฝุ่น
1
สภาพของเมืองใหญ่ในจีนที่เห็นในทุกวันนี้
ปัจจุบันเศรษฐกิจของจีนกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดและเริ่มทรงอิทธิพลในเวทีโลก แต่หนึ่งเรื่องที่จะส่งผลกระทบต่อพลเมืองโลกนั้นก็คือเรื่องสิ่งแวดล้อมอันเป็นผลจากการที่จีนเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ล่าสุดได้มีงานวิจัยที่สำรวจปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศต่าง ๆ ในโลกโดย Rhodium Group ซึ่งเปิดเผยว่าในปี 2019 จีนได้กลายเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก
1
จีนยืนหนึ่งแบบทิ้งห่าง
ด้วยอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 14,093 ล้านตันทิ้งห่างสหรัฐฯ ไปกว่า 2 เท่าครึ่ง และมากกว่าผลรวมของประเทศในกลุ่มประเทศ OECD รวมกันเสียอีก
** OECD (Organization for Economic Cooperation and Development) คือองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจประเทศ ปัจจุบันมีสมาชิก 36 ประเทศ
เพียง 30 ปีก็แซงกลุ่ม OECD ไปแล้ว
โดยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาจีนได้มีการเพิ่มปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นกว่า 3 เท่า และยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลงในเร็ววันนี้แน่สร้างความกังวลต่อการแก้ใขปัญหาภาวะโลกร้อน
แต่ทั้งนี้มันก็ไม่ใช่เรื่องที่จะมาโทษแต่จีนเพียงประเทศเดียว เพราะความจริงแล้วมันก็เกิดจากการโยกฐานการผลิตมาตั้งโรงงานอยู่ที่จีน จนทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลกนั่นเอง
3
** แล้วปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีอะไรที่จะมาแก้ปัญหานี้?? **
เทคโนโลยีในการดึงเอาก๊าซเรือนกระจกซึ่งหลัก ๆ ก็คือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศในปัจจุบันที่เริ่มมีการใช้งานแล้วก็ได้แก่ ระบบที่ดึงแยกเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศนำมาอัดด้วยแรงดันสูงกว่า 70 บรรยากาศ
4
และนำไปผสมกับน้ำก่อนนำไปเก็บลงไว้ใต้ดินในบริเวณของชั้นหินบะซอลล์ ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้ก็จะแปลงสภาพกลายเป็นหินปูนในที่สุด
1
เครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของ Climeworks บริษัทจากสวิสเซอร์แลนด์
ปัจจุบัน Climeworks บริษัทจากสวิสเซอร์แลนด์ที่พัฒนาระบบนี้ได้ติดตั้งเครื่องดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปแล้วกว่า 14 แห่ง แต่ก็ด้วยต้นทุนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงถึงตันละ 18,000-30,000 บาท
1
และแม้จะพัฒนาให้มีสเกลขนาดใหญ่ขึ้นก็ยากที่จะสามารถลดต้นทุนลงให้ต่ำกว่าตันละ 8,000 บาทได้ภายในปี 2035 ซึ่งเป็นปีที่ EU ตั้งเป้าให้ประเทศสมาชิกเป็นประเทศที่ไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
แต่ปัจจุบันด้วยการประกาศรางวัล XPrize โดย Elon Musk และ Peter Diamandis ด้วยเงินรางวัลกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (และมีการประกาศเพิ่มรางวัลอีก 100 ล้าน) ในการแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ
ความหวังใหม่จาก High Hopes Labs
ล่าสุดก็เริ่มมีแนวคิดที่น่าสนใจออกมาให้เราได้เห็นกัน หนึ่งในนั้นก็คือไอเดียการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศด้วยเทคนิคเดียวกับการทำน้ำแข็งแห้งโดย High Hopes Labs จากประเทศอิสราเอล
ทั้งนี้ต้นทุนหลักของการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศนั้นก็คือพลังงานอย่างระบบของ Climeworks นั้นต้องใช้ทั้งพัดลมและเครื่องอัดแรงดัน
แต่แนวคิดของ High Hopes นั้นใช้หลักการของการทำน้ำแข็งแห้งโดยทำให้อากาศเย็นตัวจัดลงไปถึงประมาณ -80 องศาเซลเซียส ซึ่งที่จุดนี้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจะกลายสถานะเป็นของแข็งหรือที่เรารู้จักกันว่าน้ำแข็งแห้งนั่นเอง
1
ไม่ต้องใช้แรงดันสูงมากก็ทำให้เป็นน้ำแข็งแห้งได้แล้ว
ซึ่งการทำน้ำแข็งแห้งอย่างที่ทำอยู่นี้แน่นอนว่าต้องใช้พลังงานสูงจากทั้งเครื่องอัดอากาศและเครื่องทำความเย็น
ดังนั้น High Hopes จึงมีไอเดียใหม่ว่า ก็เอาเครื่องทำน้ำแข็งแห้งนี้ใส่บอลลูนลอยขึ้นไปที่ความสูงประมาณ 15-18 กิโลเมตรจากพื้น ซึ่งที่ระดับนั้นอุณหภูมิอากาศเย็นกว่า -50 องศาเซลเซียสและยังมีกระแสลมที่รุนแรงทำให้ประหยัดพลังงานกว่าการทำที่พื้นดินมาก
เอาเครื่องทำน้ำแข็งแห้งไปดักเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่บนฟ้า
ซึ่งน้ำแข็งแห้งที่ได้จะถูกเก็บไว้ในถังจนเมื่อได้น้ำหนักมากพอบอลลูนก็จะบินกลับลงสู่พื้น และน้ำแข็งแห้งจะกลายเป็นไอแต่ก็ถูกขังไว้ในถังเก็บก๊าซแรงดันสูงนี้ก่อนจะถูกส่งต่อไปยังระบบอัดเก็บลงใต้ติดต่อไป
ไอเดียของ High Hopes นี้สามารทำได้เลยเพราะเทคโนโลยีการทำน้ำแข็งแห้งแบบนี้ก็มีใช้อยู่แล้วรวมถึงบอลลูนยักษ์ที่ลอยขึ้นไปถึงความสูงระดับที่ต้องการก็มีอยู่แล้วอย่างเช่นบอลลูนของ Google's Project Loon
1
บอลลูนของ Google's Project Loon
โดย High Hopes ได้เริ่มทดสอบการทำงานของแนวคิดดังกล่าวและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่ง High Hopes ก็ได้ประเมินว่าด้วยสเกลการดักจับขนาด 1 ตันต่อเที่ยวบินนั้นจะทำให้ต้นทุนการดักจับอยู่ที่ตันละ 1,500-3,000 บาทเท่านั้น
1
แม้ว่าต้นทุนของระบบดักจับแบบนี้ตอนแรกอาจจะดูสูงอยู่บ้างเพราะต้องมีตัว Fuel Cell หรือเซลล์เชื้อเพลิงที่เป็นตัวผลิตพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบรวมถึงค่าก๊าซไฮโดรเจนทีใช้เป็นทั้งเชื้อเพลิงและก๊าซที่ทำให้บอลลูนลอยขึ้นไป
บอลลูนของ High Hopes ที่ใช้ทดสอบคอนเซปใหม่ในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แต่เมื่อผ่านการใช้งานไปซักพักต้นทุนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตันก็จะยิ่งถูกลง
ซึ่งหากทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี High Hopes ก็อาจจะเป็นผู้ชนะรางวัล XPrize ก็เป็นได้ และไอเดียใหม่ในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้ก็อาจจะมาช่วยเราสู้กับปัญหาโลกร้อนได้

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา