Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นานาสาระ By Kru Ruji
•
ติดตาม
9 พ.ค. 2021 เวลา 18:56 • การเกษตร
ซีรี่ย์ วิถีเกษตร
ตอน "โคก หนอง นา โมเดลสู้ภัยแล้ง"
ท่ามกลางปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไร้ขอบเขตของมนุษย์ จึงส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกร โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งซึ่งนับวันจะส่งผลกระทบมากขึ้นทุกปี วันนี้แอดจึงจะพาพวกเรามารู้จักการจัดการกับปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน โดยการน้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในรูปแบบ "โคก หนอง นาโมเดล"
ขอบคุณภาพจาก Thai PBS NEWS
โคก หนอง นา โมเดลคืออะไร?
โคก หนอง นาโมเดล เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการจัดการปัญหาเรื่องน้ำในการทำการเกษตร โดยการน้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาใช้ในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านอย่างลงตัว โดยแบ่งสัดส่วนพื้นที่ออกเป็น 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้ 30% สำหรับแหล่งน้ำขุดบ่อเป็นหนอง และขุดคลองไส้ไก่ 30% ต่อมาเป็นพื้นที่ในการเพาะปลูกข้าว 30% สำหรับทำเป็นโคกโดยการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ก็คือไม้ใช้สอย ต้นไม้สำหรับกินผลหรือไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ มีกิน มีอยู่ มีใช้ มีความสมบูรณ์ ส่วนอีก 10% ที่เหลือสำหรับที่อยู่อาศัย และการทำปศุสัตว์
ขอบคุณภาพจาก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์
โคก หนอง นาโมเดล ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้งได้อย่างไร?
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับการระเหยของน้ำไว้ว่าใน 1 วัน จะมีการระเหยประมาณ 1 เซนติเมตรต่อวัน ดังนั้นจึงควรมีการจัดเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรให้พอตลอดทั้งปี โดยอาศัยรูปแบบ โคก หนอง นาโมเดล โดยหลักการสำคัญของ โคก หนอง นาโมเดล คือ การจัดเก็บน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอในการทำการเกษตร โดยการให้ความสำคัญด้านการกักเก็บน้ำไว้ 3 ด้าน ดังนี้
1. กักเก็บน้ำไว้ในหนอง โดยการขุดในรูปแบบฟรีฟอร์ม และควรมีระดับตื้นลึกแตกต่างกันออกไป ซึ่งก่อนจะขุดต้องคำนวณปริมาณน้ำเพื่อจะใช้ให้เพียงพอต่อการเกษตรในพื้นที่ของเรา
2. กักเก็บไว้บนโคก ทำได้โดยการปลูกป่า และกักเก็บไว้ในระบบรากของต้นไม้ที่ปลูก 5 ระดับ คือ ไม้ระดับสูง ระดับกลาง ระดับเตี้ย ระดับเรี่ยดิน และระดับกินหัว โดยอย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่า 21 ชนิด เพื่อให้เกิดการหลากหลายของระบบรากเมื่อฝนตกลงมาระบบรากจะช่วยอุ้มน้ำไว้ในดิน
3. กักเก็บไว้ในนา โดยการยกคันนาให้สูง และกว้างเพื่อช่วยในการกักเก็บน้ำไว้ใช้เวลาฝนทิ้งช่วง ส่วนคันนายังสามารถปลูกพืชผักสวนครัวได้อีกด้วย
ขอบคุณภาพจาก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์
การออกแบบ โคก หนอง นา ควรคำนึงถึงอะไร?
การออกแบบพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล จะคำนึงถึง “ภูมิสังคม” เป็นสำคัญ
“ภูมิ” คือ สภาพทางกายภาพ เช่น สภาพดิน นํ้า ลม "สังคม" คือ วัฒนธรรม ความเชื่อ ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่นั้น ซึ่งในการออกแบบจะให้ความสำคัญกับ “สังคม” มากกว่า “ภูมิ” คือต้องออกแบบตามสังคมและวัฒนธรรมของคนที่อยู่ แม้ว่าภูมิประเทศ จะเหมือนกันก็ตาม หากสังคมต่างกัน การออกแบบก็จะต่างกันโดยสิ้นเชิง
ขอบคุณภาพจาก www.mgronline.com
ดังนั้น โคก หนอง นาโมเดล จึงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อช่วยเกษตรกรในการจัดการบริหารน้ำอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การ พออยู่ พอกิน พอร่มเย็น และยังสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ตลอดทั้งปี
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันพระจุลจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
1 บันทึก
7
5
9
1
7
5
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย