10 พ.ค. 2021 เวลา 04:39 • การเกษตร
ทุเรียนเทศหรือทุเรียนน้ำ
ผลและดอกทุเรียนเทศ
ทุเรียนเทศคนใต้เรียกว่า “เรียนน้ำหรือทุเรียนน้ำ” ลูกเวลาสุกกินอร่อยรสชาติหวานเปรี้ยว เปลือกนอกเหมือนทุเรียน ส่วนเนื้อในคล้ายเนื้อน้อยหน่า แต่ละต้นกว่าปลูกใช้เวลานานพอสมควร ส่วนต้นที่ปลูกมาก่อนออกผลได้กินแต่แย่งกับกระรอก ชอบมากินก่อน (น่าเสียดาย) ปลูกไว้หลายต้น ตายเกือบหมดเหลือเพียงต้นเดียวที่กำลังออกช่อดอก ติดผล 2-3 ลูก (ภาพที่ถ่ายคือต้นปัจจุบัน)
รู้ไหม? ทุเรียนน้ำ มีคุณค่าประโยชน์มากมาย แต่เราไม่ค่อยจะสนใจหรือให้ความสำคัญ คนต่างจังหวัดมักนำมาทำเป็นยาสมุนไพร สำหรับใบมีประโยชน์มาก นำมาตากแดด ชงเป็นชาดื่ม หรือเข้าตู้อบ ใบที่เราควรเลือกคือใบที่ไม่อ่อนมากเกินไปและไม่แก่เกินควร เลือกมาล้างให้สะอาด ตากแดดให้ดี เก็บไว้อย่าให้ขึ้นรา ส่วนคุณค่าประโยชน์นั้น ไม่ต้องอธิบายเยอะ (ที่สำคัญต้นนี้ให้ใบคนไปเยอะแล้ว นำไปชงเป็นชาดื่ม เป็นยาดีนักแลฯ
ทุเรียนเทศ หรือทุเรียนน้ำ มีวิทยาศาสตร์ว่า Annona muricata Linn. ชื่อสามัญ Soursop, Prickly custard apple อยู่ในวงศ์ Annonaceae (วงศ์เดียวกับน้อยหน่า น้อยโหน่ง กระดังงา และการเวก เสาวรส )
ทุเรียนเทศมีชื่อเรียกตามประเทศและท้องถิ่นที่ต่างๆ กัน เช่น soursop, graviola, prickly custard apple, Nangka blanda, Brazilian pawpaw, guanabana, durian benggala, zuurzak, Sirsak, Sauersack เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกา ปัจจุบันปลูกได้ทั่วโลกในประเทศแถบเขตร้อนชื้น ในทวีปเอเซียพบได้ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ สำหรับประเทศไทยพบได้มากทางตอนใต้
สำหรับประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปเช่น ชื่อท้องถิ่น ทุเรียนแขก (ภาคกลาง) , มะทุเรียน (ภาคเหนือ) , หมากเชียดหลบ , หมากพิลด (ภาคอีสาน) , ทุเรียนน้ำ (ภาคใต้) ,ทุเรียนนก , ทุเรียนเบา , ทุเรียนรอปา ,รอปา
ดอกทุเรียนเทศ
ทุเรียนเทศเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 5–6 เมตร ใบสีเขียวเข้ม ผลขนาดใหญ่รับประทานได้ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15–20 เซนติเมตร เปลือกผลสีเขียว มีหนาม เนื้อในสีขาว มีขายในตลาดเป็นผลไม้ เครื่องดื่ม หรือ sherbets ในประเทศบราซิลและแถบรัฐปีนังของประเทศมาเลเซีย
ทุเรียนเทศแปรรูปกินอร่อย
ทุเรียนเทศมาแปรรูปเป็นน้ำทุเรียนเทศเข้มข้นซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก
ทุเรียนเทศนำมาทำแกงบวดอร่อยและนิยมกันอย่างแพร่หลายทางภาคใต้
ทุเรียนเทศมีสรรพคุณทางสมุนไพร
ตั้งแต่สมัยโบราณ ทุเรียนน้ำเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้รักษาโรคในแถบแอฟริกาใต้ โดยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ราก ต้น เมล็ด ใบ ดอก ผล และเมล็ด ดังนี้
ผล
แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน แก้โรคบิด กระตุ้นการผลิตน้ำนมแม่
เมล็ด
ใช้สมานแผลห้ามเลือด ใช้ฆ่าแมลง
ใบ
นำมาขยี้ผสมกับปูนใช้ทาบริเวณท้องแก้ท้องอืด
รักษาโรคผิวหนัง
นำมาปูรองให้คนที่เป็นไข้นอนจะช่วยลดไข้ แก้ไอ ปวดตามข้อ ลดอาการปวด ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อเรียบในลำไส้ ขยายหลอดเลือดป้องกันความดันสูง กำจัดเซลล์มะเร็ง ฆ่าเชื้อโรค ลดเบาหวาน
แก้ปวดฟันนำใบสดไปต้มกับน้ำเกลือใช้กลั้วปากรักษาอาการ
แก้อาการเมา ด้วยการใช้ใบขยี้ลงในน้ำกับน้ำมะนาว 2 ลูก แล้วนำมาจิบเล็กน้อย
หน่ออ่อน
กำจัดเซลล์มะเร็ง
ดอก
บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ
ราก
กำจัดแมลง
แก้ปวดจาการโดนครีบปลาแทง โดยนำรากทุเรียนเทศตำให้ละเอียดผสมกับน้ำซาวข้าวประคบบริเวณแผล
เปลือกไม้
กำจัดแมลง ฆ่าเชื้อโรค พยาธิ อะมีบา แบคทีเรีย และรักษาโรคกระเพาะ
ผลทุเรียนเทศ
วิธีใช้ทุเรียนน้ำ รักษามะเร็ง
สำหรับการใช้ทุเรียนน้ำเพื่อรักษามะเร็งให้ได้ผลนั้น ให้นำใบทุเรียนน้ำตามธรรมชาติ สด ๆ มารับประทาน โดยคัดเลือกใบที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่แก่หรือมีสีเขียวเข้มมากเกินไป หรือการนำใบแห้งจากกระบวนการอบแห้งด้วยการเป่าลมร้อน (Air Dry) มาชงเป็นชาดื่ม โดยมีวิธีในการชงชาจากใบทุเรียนน้ำ ดังนี้
ฉีกใบแห้งเป็นชิ้นเล็ก ๆ และตวงให้ได้ 1 ถ้วยตวงต่อน้ำ 1 ลิตร
นำใบทุเรียนเทศไปต้มกับน้ำ และลดไฟให้ต่ำ เคี่ยวอีก 20 นาที
ใช้ดื่ม 3 ถ้วยต่อวัน 30 นาทีก่อนมื้ออาหาร
โดยให้ดื่มน้ำชาแบบนี้ทุกวันเป็นระยะเวลา 30 วัน เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย หากดื่มติดต่อกันมานานเกิน 30 วันแล้ว แต่ร่างกายยังไม่ดีขึ้น ให้พักก่อนสัก 1 สัปดาห์จึงค่อยดื่มชาต่อ
ในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศทางยุโรปมีผลิตภัณฑ์ใบทุเรียนเทศหลายรูปแบบ
ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมกับยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรคมะเร็ง ได้แก่
รูปแบบชาชง (infusion) โดยรับประทานครั้งละ 1 ถ้วย วันละ 3 ครั้ง
รูปแบบยาทิงเจอร์ รับประทานครั้งละ 3-4 มิลลิลิตร วันละ 3 ครั้ง
รูปแบบยาผงบรรจุแคปซูล รับประทานขนาด 2 กรัม วันละ 3 ครั้ง
ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
1.ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร
2.ควรระวังในการใช้ ในกรณีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและรับประทานยาลดความดัน จะต้องติดตามตรวจสอบความดันโลหิต เพราะใบทุเรียนเทศมีผลลดความดันโลหิต
3.ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด ควรระวังในการใช้ ทั้งนี้เพราะใบทุเรียนเทศมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
4.การกินทุเรียนเทศติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เนื่องจากในผลทุเรียนเทศมีสารที่เรียกว่า “ แอนโนนาซิน ” (Annonacin) มีคุณสมบัติในกาทำลายเซลล์สมอง และอาจเกิดภาวะไตวายได้
5.ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องการใช้ทุเรียนเทศในการรักษามะเร็งนั้น ควรใช้ควบคู่ร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันด้วย
***ขอบคุณข้อมูล
โฆษณา