Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นานาสาระ By Kru Ruji
•
ติดตาม
10 พ.ค. 2021 เวลา 11:59 • การเกษตร
ซีรี่ย์ วิถีเกษตร
ตอน "ชันโรง ผึ้งจิ๋วมหัศจรรย์"
"ชันโรง" หลายคนอาจจะไม่รู้จัก หรืออาจจะรู้จักในชื่ออื่น เช่น ขี้สูด ติ้ง ขี้ตังนีอุง หรือผึ้งจิ๋ว แล้วแต่ละภูมิภาคจะเรียก ทั้งหมดนั้นล้วนแต่เป็นชื่อของชันโรงทั้งสิ้น ทุกคนเคยทราบหรือไมว่าชันโรงเห็นตัวจิ๋ว ๆ แบบนี้ แต่มีภารกิจสำคัญอันยิ่งใหญ่ต่อระบบนิเวศ
วันนี้แอดจึงจะพามาทำความรู้จักกับ "ชันโรง" ผึ้งตัวจิ๋วที่มาพร้อมกับภารกิจที่ไม่จิ๋วกัน
ขอขอบคุณภาพจาก www.farmerspace.co
ชันโรงหรือผึ้งจิ๋ว (Stingless bees)
"ชันโรง" เป็นสัตว์จำพวกแมลงผสมเกสรตัวเล็ก จัดอยู่ในกลุ่มของผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กไน ชันโรงมีวิวัฒนาการสูงกว่าผึ้งป่า นอกจากนี้ชันโรงยังสามารถให้น้ำหวานที่มีคุณภาพสูงกว่าผึ้ง และมีราคาแพงกว่าเพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า
อีกทั้งชันโรงยังเป็นตัวช่วยที่ดีของเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกไม้กินผล เพราะชันโรงไม่เลือกชนิดในการผสมเกสร จึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการผสมเกสรทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นไปด้วย
ขอขอบคุณภาพจาก www.bangkokbiznews.com
ที่อยู่อาศัยของชันโรง
ชันโรง เป็นแมลงพื้นถิ่นของไทย อาศัยอยู่ในโพรงไม้ โพรงใต้ดิน และโพรงเทียมที่มนุษย์ทำขึ้น ชันโรงเป็นผึ้งที่สร้างรังถาวร อาศัยในรังนานนับสิบปี ปกติไม่มีนิสัยทิ้งรัง ไม่เลือกตอมดอกไม้ มีระยะทางบินหากินที่จำกัด และมีพฤติกรรมเก็บเกสรมากกว่าน้ำหวาน
ขอขอบคุณภาพจาก www.technologychaoban.com
วงจรชีวิตชันโรง
แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
1. ระยะไข่
2. ระยะตัวอ่อน
3. ระยะดักแด้
4. ระยะโตเต็มวัย
นางพญาของชันโรง จะวางไข่ในหลอดรวง โดยมีชันโรงวรรณะงาน คอยเลี้ยงตัวอ่อนจนพัฒนาเป็นดักแด้ และเป็นตัวเต็มวัย ไข่จะพัฒนาไปเป็นชันโรงวรรณะใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าได้รับการผสมจากน้ำเชื้อหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะพัฒนาไปเป็นชันโรงเพศผู้ แต่ถ้าได้รับการผสมก็จะพัฒนาไปเป็นชันโรงเพศเมีย คือ วรรณะงาน และนางพญา
ขอขอบคุณภาพจาก www.realmetro.com
ปัจจุบันในประเทศไทยการเลี้ยงชันโรงยังไม่เป็นที่แพร่หลายเหมือนการเลี้ยงผึ้ง มีเลี้ยงบ้างสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน เงาะ และผลไม้ต่างๆ เพราะชันโรงจะไม่มีการเลือกผสมเกสร และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
ขอขอบคุณภาพจาก www.buyburapha.com
ในส่วนของน้ำหวานชันโรงนั้นยังมีประโยชน์ในหลายด้าน เช่น
- ด้านการแพทย์ เป็นส่วนผสมในการทำยาบางชนิด
- ด้านความสวยงาม น้ำหวานชันโรงเป็นส่วนผสมในการทำเครื่องสำอาง เพื่อรักษาโรคผิวหนัง และเสริมสร้างเซลล์ผิวหนังที่รับผลกระทบจากเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย
- ใช้ในเทคโนโลยีการอาหาร โดยนำชันผึ้งมาเป็นส่วนผสมในการถนอมอาหาร ยับยั้งการหมักบูดที่เกิดจากเชื้อรา และแบคทีเรียในอาหาร
จะเห็นได้ว่า ชันโรง ถึงตัวจะจิ๋วแต่หน้าที่ไม่จิ๋วเลย ยังเป็นตัวช่วยเกษตรกรชั้นดี และยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากน้ำหวานชันโรง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้อีกด้วย
ในซีรีย์ต่อไปเราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงชันโรงกันนะครับ
🙏🙏🙏ฝากติดตามเพจ คอมเม้น และกดถูกใจ เพจ นานาสาระ ไว้ด้วยนะครับ🙏🙏🙏
ไว้เจอกันใหม่ในซีรีย์ วิถีเกษตร เพจสำหรับคนรักการเกษตรนะครับ
บันทึก
3
3
7
3
3
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย