Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Going Vegan
•
ติดตาม
17 พ.ค. 2021 เวลา 04:40 • สิ่งแวดล้อม
5 Reasons to go Vegan
เหตุผล 5 ประการ มาเป็นชาววีแกนกัน!!
เหตุผลที่ 2 การกินเนื้อสัตว์ทำให้โลกร้อน
ทุกวันนี้ที่โลกร้อน ปัจจัยมีสองส่วน ส่วนแรกคือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ) ไปสู่ชั้นบรรยากาศที่มากขึ้นของมนุษย์
อีกส่วนคือการลดลงของต้นไม้ที่เคยช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ให้ขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ
และอุตสาหกรรมปศุสัตว์ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่ส่งผลทั้งสองทาง จึงทำให้กิจกรรมนี้ของมนุษย์สงผลต่อภาวะโลกร้อนอย่างหนัก
โดยทั่วไปเวลาเราคิดถึงภาวะโลกร้อนเราจะมองว่าเกิดจากการเผาไหม้สารพัดที่มากขึ้นของมนุษย์ ตั้งแต่จากโรงงานอุตสาหกรรมไปจนถึงการใช้รถยนต์ ซึ่งก็ไม่ผิด
แต่ในความเป็นจริง สถานการณ์ภาวะโลกร้อนมันแย่ในระดับปัจจุบันก็เพราะ “ป่า” เราน้อยลงเยอะ
ทุกวันนี้มนุษย์เรามีการผลิตเนื้อสัตว์มากกว่าเมื่อ 50 ปีก่อนประมาณ 6 เท่าตัว โลกเราก็พื้นที่เท่าเดิม เราผลิตเนื้อสัตว์มากขนาดนี้ได้ยังไง
คำตอบง่ายๆ ก็คือก็เพราะเราถางป่าเพื่อจะสร้างพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์และสร้างพื้นที่ในการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์มากขึ้น
ซึ่งการใช้ผืนป่าปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์นี่แหละคือภัยเงียบที่เรามักจะมองไม่เห็น
เวลาเราพูดถึงการเลี้ยงสัตว์เพื่อการบริโภค เรามักจะนึกถึงฟาร์มที่มีสัตว์อัดแน่นกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นหมูหรือไก่
แต่สิ่งที่เรามักจะไม่คิดกันก็คือ “อาหาร” ของสัตว์เหล่านั้นมันมาจากไหน
คำตอบก็คือ เราต้องถางป่าเพื่อสร้างพื้นที่ทางการเกษตรปลูกพืชธัญญาหารเชิงเดี่ยวเอาไว้เป็นอาหารสัตว์ และนั่นกินพื้นที่ที่เรา “มองไม่เห็น” อย่างมากมายมหาศาลในโลก
Industrial Livestock Farms and the Environmental Impacts
มากแค่ไหน? เปรียบเทียบง่ายๆ คือพื้นที่ทางการเกษตรในโลกนี้เกิน 80% คือพื้นที่ที่อุทิศให้ระบบการผลิตเนื้อสัตว์มาให้เรากินทั้งระบบ
แต่การผลิตเนื้อสัตว์ทั้งระบบให้พลังงานกับมนุษย์ไม่ถึง 20% ของการผลิตทางการเกษตรทั้งหมด
และให้โปรตีนกับมนุษย์ไม่ถึง 40% ของการผลิตทางการเกษตรทั้งหมดของมนุษย์
พูดง่ายๆ คืออุตสาหกรรมเนื้อสัตว์นั้น มองในเชิงการผลิตสารอาหาร มันเป็นการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพอย่างร้ายแรงมากๆ ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองมากถ้าเทียบกับการปลูกพืชเพื่อบริโภคโดยตรง
นี่แค่เรื่องของการถางป่าเท่านั้น เรายังไม่ได้พูดถึงกิจกรรมอย่างการขนส่งอาหารสัตว์และเนื้อสัตว์ ไปจนถึงการปั๊มน้ำในปริมาณมหาศาลเพื่อให้การเลี้ยงสัตว์ทั้งระบบเป็นไปได้
รวมถึงการใช้น้ำเพื่อขั้นตอนการชำระล้างในโรงฆ่าสัตว์
สิ่งเหล่านี้ก็มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศและทำโลกร้อนทั้งนั้น
ถ้ามองในเชิงโภชนาการเพื่อลดโลกร้อนแล้ว สิ่งที่โลกควรทำอย่างเร่งด่วนก็คือการปลูกป่าเพิ่ม ลดพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อเลี้ยงสัตว์ลง
โดยที่เราสามารถลดการบริโภคเนื้อสัตว์ และหาโปรตีนทดแทนจากพืชผักได้
เพราะการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ประหยัดพื้นที่กว่ามาก
Source : The Savvy Dietitian
บทความวิชาการในวารสาร Nature บอกมาตั้งแต่ปี 2561 แล้วว่า..ถ้ามนุษย์จะอยู่ในโลกได้ถึงปี 2593 ยังไงมนุษย์ก็ต้องกินเนื้อสัตว์ต่อหัวลดลง
เพราะสิ่งที่เราลดและคุมไม่ได้แน่ๆ ก็คือการเพิ่มขึ้นของประชากร ซึ่งตอนนี้แม้ว่าโลกตะวันตกจะมีอัตราการเพิ่มของประชากรต่ำ แต่ภูมิภาคที่มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุดคือแอฟริกา
ถ้าทวีปแอฟริกามีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แล้วคนในทวีปบริโภคเนื้อสัตว์มากขึ้นแบบที่คนตะวันตกและคนเอเชียทำมาในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา ยังไงโลกก็รับไม่ไหว
งานวิจัยล่าสุดจากทางคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ก็ได้เพิ่งออกรายงานพิเศษมาในเดือนสิงหาคม 2562 ว่า
มนุษย์มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินโดยการรับโปรตีนจากพืชมากขึ้น และบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลงเพื่อต่อสู้กับภาวะโลกร้อน
หรือก็คือ ณ ตอนนี้ทั่วโลกยอมรับแล้วว่าการกินเนื้อสัตว์ของเราทำให้โลกร้อนจริง และเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเราสามารถจะสู้กับภาวะโลกร้อนได้ด้วยการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลง
ซึ่งแนวทางแบบนี้ก็สอดคล้องกับแนวทางด้านโภชนาการและสาธารณสุขในโลกที่พยายามให้มนุษย์ลดการบริโภค “เนื้อแดง” มานานแล้ว เพราะถือว่ามีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดโรคมะเร็งและโรคหัวใจในระยะยาว
ลองเปลี่ยนมากินอาหารวีแกนสัก 1 มื้อเพื่อลดโลกร้อนกันเถอะ
Sources:
UN Food and Agriculture Organization
Joseph Poore and Thomas Nemecek, “Reducing food’s environmental impacts through producers and consumers”
World Economic Forum
greenpeace.org
บันทึก
2
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย