11 พ.ค. 2021 เวลา 15:50 • ธุรกิจ
Bore-Out | Burnout | Brownout | I'M OUT!
#MustRead ในวันนี้ เราได้ไปทำการบ้าน หาข้อมูล และเรียบเรียงมาจากหลายแหล่งและจากประสบการณ์ตรงในการทำงานมา 7 ปีกว่า มาให้ทุกคนได้รู้จัก terms ต่างๆที่ใช้พูดถึง workplace anxiety หรืออาการเหนื่อยล้าจากการทำงานมาให้ทุกคนได้รู้จักกันมากขึ้น พยายามเขียนให้เข้าใจง่ายๆ จะได้เอาไปเม้าท์กับเพื่อนได้มันส์!
คำแรกเลยที่รู้จักกันมาเนิ่นนานคือ Burnout สั้นๆคือ หมดไฟ ต่อมาเมื่อไม่กี่ปีมานี้มีคำใหม่มาแรง นั่นคือ Brownout แปลว่าหมดใจ และพอลองหาข้อมูลลึกลงไปอีก อ่ะมาอีกคำ Bore-Out ก็คืออาการเบื่องาน เพราะงานมันน่าเบื่อ ทั้ง 3 อาการนี้ ก็มาจากสาเหตุที่ต่างกัน แต่อาการร่วมกันก็เช่น ขาดลามาสายบ่อยขึ้น (เห้ยยแก ชั้นรู้สึกป่วยล่วงหน้าว้ะ), ซึมเศร้า, ไม่โฟกัส, ความจำแย่ลง, ก้าวร้าวมากขึ้น (แก เราลงไปข้างล่าง เอาไรป่ะ? สัสส กุยุ่งอยู่ อย่ามาถาม!) เป็นต้น
มาทำความรู้จักแต่ละอาการกันดีกว่า ระหว่างอ่านก็ลองเช็คตัวเองไปด้วย ว่าเรามีอาการไหนกันอยู่รึเปล่า ก่อนจะสายไปและนำไปสู่ I'M OUT! ในที่สุด (คุ้นๆ)
.
Bore-Out | the work-boredom syndrome | อาการเบื่องาน |
- อาการเหนื่อยล้าจากการทำงาน เพราะว่ารู้สึกเบื่องานที่ทำ ดูแล้วคือตรงข้ามกับ Burnout เพราะ Burnout คืองานเยอะ งานท่วมจนหมดไฟ แต่การ Bore-Out ก็นำไปสู่อาการทรมานทางจิตใจได้เหมือนกัน มันเป็นอาการที่เกิดกับคนที่ไม่พึงพอใจกับสายงานของตัวเอง หรือรู้สึกว่าไม่ค่อยมีงานให้ทำ หรือไม่มีความท้าทายใดๆให้ก้าวข้าม
- มักเกิดกับพนักงานที่มีการศึกษาและทักษะอยู่ในระดับนึง แต่งานที่ทำ เอาง่ายๆคือยิ่งทำยิ่งโง่ลง เพราะไม่มีอะไรท้าทายใดๆ ทำเป็นหมด ให้กุมาทำอะไรฟร้ะ?!
- สาเหตุอาจจะมาจากโครงสร้างงาน การแบ่งงานไม่เท่าเทียม ได้รับงานน้อยเกินไป ง่ายเกินไป หรือเด็กจบใหม่ที่เข้ามาแล้วให้ทำแต่อะไรง่ายๆซ้ำไปซ้ำมา จนมันไม่มีความท้าทายใดๆมากระตุ้น หรือเป็นแรงจูงใจให้เราได้อีก ทุกๆวันทำงาน กลายเป็นวันที่แทบทนไม่ได้ เพราะมันนำไปสู่ความคิดว่าตัวเองไร้ค่า เอางานไรให้ทำว้ะเนี่ย จนสุดท้ายอาการไร้ค่า สามารถส่งผลรุนแรงในแง่จิตใจได้
.
Burnout | the work-exhaustion syndrome | หมดไฟ |
- อาการเหนื่อยล้าจากการทำงานทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ที่มาจากงานเยอะ งานท่วม งาน demanding (หรือทำงานของ 3-4 คนในคนๆเดียว อ่ะ แยกย้าย)
- "To burn out, actually means “to burn internally, to consume oneself”
- WHO ให้คำจำกัดความของ Burnout ไว้ว่าเป็นภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นซ้ำซากจากงานที่ไม่สามารถจัดการให้สำเร็จได้
- องค์ประกอบ 3 อย่างของการ Burnout คือ รู้สึกหมดพลัง (ชั้นเหนื่อยเหลือเกิน ซาร่า), รู้สึกมีแต่ความคิดลบๆกับงานที่ทำอยู่ (ทำไปด่าไป เช่น โอ้ยย แสสส ฟายยย) และประสิทธิภาพการทำงานลดลง (โอ้ย ไม่ไหว ให้พิมพ์ excel อีกแค่ cell เดียวก็จะตุย)
.
Brownout | the withdrawal-from-work syndrome | หมดใจ |
- อาการเหนื่อยล้าจากการทำงานที่เกิดจากการขาดแรงจูงใจ และไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม ทำงานนี้ไปเพื่ออะไร
- คำนี้กำเนิดมาจากอุตสาหกรรมพลังงาน ที่แรงดันไฟฟ้าเกิดตกลง ทำให้ไฟมันหรี่ลง กระพริบติดๆดับๆจึงเรียกว่า Brownout นั่นเอง ก็เปรียบเสมือนพนักงานที่รู้สึกว่าพลังงานตกลง ทำให้หมดใจ เอาตัวออกห่างงานมากขึ้น
- ต่างจาก Burnout ตรงที่ Burnout เป็นภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้นในทันที แต่ Brownout มีผลกระทบในระยะยาว กระทบงานไม่พอ กระทบไปถึงชีวิตส่วนตัวอีก! Brownout นี่เป็นปัญหามาก เพราะอะไร? เพราะสังเกตเห็นได้ยากมากด้วยตาเปล่า พนักงานที่มีอาการนี้ยังสามารถ perform งานได้ปกติ จัดประชุม เข้าประชุมได้ ตอบคำถามได้ไม่ผิด ไม่เอ๋อ แต่ในใจนั้นรู้สึก overwhelm ตลอดเวลา และสิ่งที่ตามมาก็คือ disengagement กับงานนั่นเอง เพราะฉะนั้นหัวหน้า หรือนายจ้างหลายคนอาจจะช็อคไปเลย เมื่อพนักงานที่เป็นตัว top ทำงานดี จู่ๆก็ลาออกไปเลย โดยไม่มีอาการใดๆ (บางคนก็ไม่ช็อค เพราะยังไม่รู้ตัวว่า เอ้ย ลูกน้องกุออกหราา)
- ว่าไป Brownout ไม่ได้กระทบแค่ตัวพนักงานนะ หัวหน้าที่มีอาการ Brownout ก็ทำให้บรรยากาศการทำงาน toxic สุดๆ เพราะจะมีลักษณะที่ให้แต่พลังงานลบๆ ไม่สนใจไอเดียใหม่ๆ ไม่คิด ไม่ตัดสินใจ งานตัวเองก็ไม่ทำแล้วว (เอ๊ะไร อ่านต่อ!)
- สาเหตุหลักๆ 3 ข้อที่ทำให้พนักงานเกิดอาการ Brownout คือ
1. องค์กรปฏิบัติกับทุกคนเท่าเทียมกันหมดเลย - การ treat ทุกคนเท่ากันหมดโดยไม่สนว่าคนๆนี้ perform ได้สูงหรือดีแค่ไหน ก็ทำให้หมดใจ ไม่อยากทำผลงานใดๆเพิ่มเติม
2. องค์กรไม่ทำอะไรกับพวกที่ไม่ทำงาน หรือผลงานแย่ - เมื่อองค์กรอนุญาตให้มีคนไม่ทำงานแล้วยังให้อยู่ในทีม โดยไม่จัดการอะไร (despite of countless feedback อ่ะ ไม่ต้องหยุดคิด ไปต่อ) ก็จะฉุดประสิทธิภาพการทำงานทุกคนลง โดยเฉพาะ top performers
3. ไม่สนใจพนักงาน - มากกว่าครึ่งของคนที่ลาออกจากงาน ออกเพราะหัวหน้า องค์กรที่ฉลาดเขาจะทำให้มั่นใจว่าหัวหน้าแต่ละคนสามารถ balance being professional with being human (อ่าว ละหัวหน้าที่ไม่ได้ทั้งเรื่องงาน และเรื่องคนอ่ะ????) เพราะมันเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะทำงานกับหัวหน้าเป็นเวลา 8 ชั่วโมงต่อวัน หรือมากกว่า โดยที่เขาไม่มาสนใจเราเลย (กระซิกๆ)
.
จบไปแล้วกับ #mustread ในวันนี้ อย่าลืม! ถ้าอ่านแนวนี้แล้วชอบ ช่วยกด Like กด Share กดมาให้หมด จะได้หาแนวนี้มาเขียนอีก
.
โฆษณา