12 พ.ค. 2021 เวลา 09:29 • ธุรกิจ
เศรษฐกิจเชิงแบ่งปันอย่าง Sharing Economy ช่วยเราก้าวให้ทันยุคใหม่ ในการสร้างรายได้อย่างไร
เศรษฐกิจเชิงแบ่งปันแบบ Sharing Economy คืออะไร
นักวิจัยได้ยกคำนิยามของ Oxford English Dictionary ถึง Sharing Economy ว่า(https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/AAA/SharingEconomy_V8.pdf) หมายถึงระบบ เศรษฐกิจที่มีการแบ่งปันสินทรัพย์หรือบริการระหว่างบุคคล ซึ่งมีทั้งแบบที่ต้องจ่ายและแบบที่ไม่ต้องจ่ายค่าใช้สินค้าหรือบริการดังกล่าว โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นแพลตฟอร์มหลักในการเชื่อมโยงธุรกรรมที่เกิดขึ้น.
ดังนั้น เศรษฐกิจเชิงแบ่งปัน หรือ Sharing Economy ก็คือธุรกิจที่มีการออกแบบให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ในแบบที่แบ่งกัน ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อย่างในส่วนของโลกออนไลน์ ธุรกิจเชิง Sharing Economy นี่ล่ะ ที่จะเข้ามาดูแลเรื่องหน้าร้านหรือจุดให้บริการ แบบที่ผสานกับเทคโนโลยี เพื่อการบริการที่ดีกว่า หรือแม้แต่ไม่ต้องใช้พนักงานประจำร้านเลยทีเดียว เช่น ธุรกิจ Bike-Sharing การยืมจักรยาานแล้วนำไปคืนยังจุดที่ตั้งไว้ , Make Up Booth หรือตู้แต่งหน้า แม้ยังไม่แผ่หลายในไทย เท่า Grab หรือ Uber แต่เชื่อว่าอีกไม่นาน คงจะมีผู้ประยุกต์ธุรกิจแนวนี้ขึ้นอีกมาก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในสังคม
ความเป็นมาของ Sharing Economy นั้น เริ่มแนวคิดนี้ตั้งปี 1978 โดยนักสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย lllinois at Urbana-Champagne ด้วยปัจจัยสำคัญของวิกฤตการเงินโลกที่ส่งผลต่ออัตราการว่างงาน และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อทราบความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้นนั่นเอง
ข้อดีของ Sharing Economy
แนวคิดหลักของธุรกิจเชิงแบ่งปัน ที่เกิดผลดีก็คือการลดค่าใช้จ่ายได้จริง จากการซื้อสินทรัพย์ มาเป็นการเช่าสินทรัพย์แทน. เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต่างจากเดิม ทำให้สามารถจัดสรรสินค้าหรือทรัพยากรที่มีมูลค่าสูง มาเป็นการแบ่งปันกัน เช่น ยานพาหนะ เครื่องมือเครื่องใช่ ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายจริงในครัวเรือนได้ถึง 25 % นอกจากช่วยประหยัดเงินแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นในเรื่องเศรษฐกิจ เพื่อมีการนำรายได้มาลงทุนต่อยอดได้อีก ผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บริหารค่าใช้จ่ายได้คุ้มค่าขึ้นด้วย
ร่วมธุรกิจแห่งการแบ่งปัน
กดลิ้งค์นี้,, https://bit.ly/38GlU66
สมัครฟรี
โฆษณา