Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Lawลี กับ ลีLaw
•
ติดตาม
12 พ.ค. 2021 เวลา 11:47 • การศึกษา
ทำธุรกิจออนไลน์อย่างไร ? ให้ถูกต้อง
ตามกฏหมาย
ปัจจุบันการเป็นผู้ประกอบการหรือร้านค้าออนไลน์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านให้วุ่นวาย แค่โพสต์ขายของ ตอบคำถามลูกค้า เช็กเงิน ส่งของ ฯลฯ ดูเป็นเรื่องง่ายๆ สบายๆ ใช่ไหมครับ
แต่รู้หรือไม่ กฎหมายได้กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อรองรับการทำธุรกิจออนไลน์ไว้ด้วย และนี่คือเรื่องสำคัญที่ต้องรู้ก่อนเริ่มทำธุรกิจออนไลน์
รูปภาพจาก Lawลี กับ ลีLaw (ธุรกิจออนไลน์ ต้องทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย)
จดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ ส.ค.บ.
ผู้ประกอบธุรกิจที่ทำการค้าขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ สคบ. จึงจะสามารถประกอบกิจการได้ มิใช่ดำเนินการไปก่อนแล้วจึงไปจดทะเบียนภายหลัง มิฉะนั้น จะมีความผิดจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกวันละ 1 หมื่นบาท จนกว่าจะได้รับอนุญาตให้ถูกต้อง การจดทะเบียนนั้นใช้เวลา 45 วันหลังยืนเอกสาร และไม่มีค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน
1
📍📍📍 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับจดทะเบียนการตลาดแบบตรงกับ ส.ค.บ.ได้ที่ 👉🏼👉🏼👉🏼
https://www.ocpb.go.th/index.php?filename=index
ธุรกิจที่ไม่อยู่ในข่ายต้องจดทะเบียน
หากทำการโฆษณาสินค้าผ่านสื่อต่างๆ โดยประสงค์เพียงโฆษณาสินค้าหรือบริการผ่านสื่อเพียงอย่างเดียว โดยมิได้ประสงค์หรือมุ่งที่จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่อ เพื่อให้บริโภครู้จักมักคุ้นกับชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้า หรือตัวสินค้าเท่านั้น
1
หากผู้บริโภคต้องการจะซื้อสินค้าก็สามารถไปเลือกซื้อได้ที่ร้านจำหน่ายทั่วไป โดยผู้บริโภคสามารถเห็นตัวสินค้า เห็นฉลากสินค้า เห็นรายละเอียดต่างๆ ที่ตัวผลิตภัณฑ์นั้นโดยตรง ซึ่งต่างจากการสั่งซื้อสินค้าผ่านสื่อที่ผู้บริโภค ไม่มีโอกาสได้เห็นตัวสินค้าก่อนที่จะทำการซื้อขาย แบบนี้ ไม่ต้องไปจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ. แต่อย่างใด
1
ข้อควรระวัง ❕❕
นอกจากมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงต่อ สคบ. แล้ว ยังมีหน้าที่ #ต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้ว่า มีตัวตนจริงหรือไม่ อยู่ที่ไหน ทำธุรกิจอะไรบ้าง สรุปง่ายๆ คือ ต้องจดทะเบียนทั้งต่อ สคบ. และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ครับ
1
📍📍📍 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ 👉👉👉https://dbdregcom.dbd.go.th/mainsite/
ต้องเสียภาษีเงินได้ สำหรับการเสียภาษีเงินได้ของทำธุรกิจออนไลน์แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. หากธุรกิจของคุณมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยยื่น ภ.ง.ด.51 กลางปีเพื่อประเมินรายได้ และยื่น ภ.ง.ด.50 ยื่นงบประมาณการทั้งปี พร้อมส่งงบดุล และมีการตรวจสอบบัญชี
2. หากเป็นบุคคลธรรมดาต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องยื่น ภ.ง.ด.94 ในครึ่งปีแรก และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้งในครึ่งปีหลัง โดยคิดจากรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว หากรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทก็ไม่ต้องเสียภาษี
ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากการเสียภาษีเงินได้แล้ว หากการขายของออนไลน์มีรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องมีการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.01) เพื่อคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
📍📍📍 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเสียภาษีได้ที่ 👇👇https://www.rd.go.th/286.html
รูปภาพจาก Lawลี กับ ลีLaw (กฎหมายเกี่ยวกับสินค้าและโฆษณา)
กฎหมายเกี่ยวกับตัวสินค้าและการโฆษณา
สินค้าบางประเภท เช่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยาและสารเคมีบางชนิด, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางชนิด, สุรา เป็นต้น จะต้องได้รับอนุญาตหรือขึ้นทะเบียนก่อนจึงสามารถ “ผลิต” “จำหน่าย” หรือ ”นำเข้า” ได้ โดยการขออนุญาตหรือขึ้นทะเบียนนั้นก็เป็นไปตามกฎระเบียบของแต่ละหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรศึกษาหรือตรวจสอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แน่ชัดต่อไป
ในส่วนของสินค้านั้น จะต้องแสดงรายละเอียดของสินค้า ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
(1) ราคาของสินค้า ต้องแสดงราคาเป็นตัวเลขให้ชัดเจนและเปิดเผย หากต้องให้ลูกค้าส่งข้อความถามราคาจะถือว่าผิดกฎหมาย รวมทั้งราคาที่แสดงต้องตรงกับราคาที่จำหน่ายจริง
1
(2) ค่าใช้จ่ายอื่น เช่น ค่าขนส่ง ค่าบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องแสดงให้ชัดเจนและเปิดเผย
1
(3) รายละเอียดสินค้า แสดงรายละเอียดประเภท ชนิด ลักษณะ ขนาด น้ำหนัก และรายละเอียดอื่นๆ ของสินค้าให้ชัดเจน โดยแสดงรายละเอียดเป็นภาษาไทยและอาจมีภาษาอื่นร่วมด้วยก็ได้ นอกจากนี้ ในกรณีที่ทำผิดแล้วมีคนแจ้ง อาจเจอค่าปรับสูงสุด 10,000 บาท
1
สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้า ได้แก่ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการโฆษณาไว้ว่าการโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความ (รวมถึงภาพของสินค้า) จะต้องไม่มีลักษณะดังนี้
(1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
1
(2) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม
1
(3) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือ ศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ
1
(4) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
1
(5) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
1
ส่วนการโฆษณาขายสินค้าที่ผิดกฎหมาย มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาขายสินค้าออนไลน์คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ซึ่งสรุป สาระสำคัญคือของการกระทำผิดได้ดังนี้
(1) ฝากร้านใน Instagram
หากเจ้าของระบุว่า #ห้ามฝากร้าน #กรุณางดฝากร้าน #ไม่ฝากร้าน หรือข้อความอื่นๆ ที่มีความหมายถึงการไม่อนุญาตในการโฆษณาสินค้าหรือบริการ บนพื้นที่ส่วนตัวของเจ้าของบัญชี แต่หากไม่ได้ระบุข้อความนี้ไว้ เมื่อมีร้านค้ามาขอฝากร้าน ให้แจ้งกลับไปว่าไม่ต้องการโฆษณาและให้ลบออก แต่ถ้าแจ้งไปแล้วหากยังมีการฝากร้านต่อ แบบนี้ถือว่ามีความผิด
1
(2) อีเมล์โฆษณา
การส่งอีเมล์เสนอขายสินค้าหรือบริการ โดยที่ไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของอีเมล์ ต้องมีมาตรการในการบอกยกเลิกรับอีเมล์โฆษณาให้กับผู้บริโภค ยกเว้นแต่ มีการเสนอขายกันมาก่อนหน้านี้
1
(3) การส่งข้อความส่วนตัว
ไม่ว่าจะเป็นทางโซเชียลมีเดียต่างๆ บางครั้งมีการอินบ็อกซ์เสนอโฆษณาเข้ามาทั้งๆ ที่ไม่ได้สนใจ ให้ปฏิเสธ แต่ถ้าหากยังส่งมาอีก แบบนี้ถือว่ามีความผิด
1
(4) การส่งข้อความ SMS ทางโทรศัพท์มือถือ
ไม่ว่าจะเป็นประกัน เงินกู้ หรืออื่นๆ หากจะส่งได้อย่างไม่ผิดกฎหมายจะต้องมีระบุไว้ในข้อความด้วยว่า หากไม่ประสงค์รับข้อความให้ติดต่อที่หมายเลขนี้ หากร้านค้าฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ต่อครั้ง!!
1
รูปภาพจาก Lawลี กับ ลีLaw (กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา)
กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ควรตรวจสอบว่าสินค้าที่นำมาจำหน่ายนั้น เป็นสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ (สินค้าเถื่อน เช่น แผ่นดีวีดีภาพยนตร์และเพลงที่ทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต) หรือละเมิดเครื่องหมายการค้าหรือไม่ (สินค้าปลอมหรือ สินค้าเลียนแบบ เช่น พวกกระเป๋าแบรนด์เนมของปลอม น้ำหอมเกรด AAA เป็นต้น) หรือละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่นหรือไม่
เนื่องจากหากผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ได้จำหน่ายสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาก็อาจมีโทษอาญาทั้งจำทั้งปรับได้ รวมทั้ง ก็ยังมีความรับผิดทางแพ่งต่อเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาด้วย ดังนั้น ไม่ว่าจะประกอบธุรกิจจำหน่ายสินค้าออนไลน์หรือธุรกิจประเภทอื่น ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ต้องศึกษาข้อกฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจที่ต้องการทำให้ดี รวมทั้ง อาจปรึกษาเจ้าหน้าที่รัฐและที่ปรึกษากฎหมาย หรือทนายความ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนและไม่ต้องประสบปัญหาภายหลัง
ดังนั้น หากท่านใดที่วางแผนจะทำธุรกิจออนไลน์ อย่าลืมเช็คเรื่องสำคัญทั้งหมดเหล่านี้กันด้วย
อย่าลืม!! การป้องกันปัญหาที่ดี ย่อมดีกว่าการแก้ไขปัญหาเสมอ
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่
Facebook -
https://www.facebook.com/LawleeleeLaw/
Website -
https://www.lawleeleelaw.page
Blockdit -
https://www.blockdit.com/lawlee.leelaw
Instagram -
https://instagram.com/lawlee_leelaw
แหล่งที่มาของข้อมูล
สุวิทย์ วิจิตรโสภา. (๒๕๖๐). การขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตเป็นธุรกิจตลาดแบบตรงที่ต้องจดทะเบียนต่อ สคบ. (ออนไลน์)
http://www.tdsa.org/content/485/1/
.
๑๐ กฎหมาย “ต้องรู้” ในการทา e-Commerce. (ออนไลน์)
http://www.manager.co.th/Smes/ViewNews.aspx?NewsID=95800001170
.
ขายของออนไลน์ ต้องรู้! โฆษณาสินค้าแบบไหน ผิด พ.ร.บ.คอมพ์? (ออนไลน์)
https://www.thairath.co.th/content/956288
.
1 บันทึก
1
3
1
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย