12 พ.ค. 2021 เวลา 11:52 • ธุรกิจ
CPALL กำไรหาย เพราะแบกโลตัส
1
เมื่อไม่กี่นาทีที่ผ่านมา บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL
เจ้าของเซเว่น, แม็คโคร และโลตัสในประเทศไทย
ได้ประกาศผลประกอบการไตรมาสที่ 1 ปี 2564 กำไรลดลง 54%
เรื่องนี้เป็นเพราะอะไร ? เป็นเพราะโควิด หรือเป็นเพราะเรื่องอื่นด้วย
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
13
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)
รายได้ 133,431 ล้านบาท ลดลง 8.5%
กำไรสุทธิ 2,599 ล้านบาท ลดลง 54.0%
6
โดยสัดส่วนรายได้ของทั้งบริษัท แบ่งออกเป็น
- ร้านสะดวกซื้อและธุรกิจอื่น ๆ 61% (เซเว่น อีเลฟเว่น)
- ร้านธุรกิจค้าส่ง 39% (แม็คโคร)
1
สำหรับสาเหตุที่รายได้ลดลง
ทางบริษัทแจ้งว่าเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิดระลอกใหม่
ทำให้การบริโภคภายในประเทศและกำลังซื้อลดลง
รวมถึงการท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นกลับมาเป็นปกติ
1
อย่างไรก็ตาม ที่กำไรของบริษัทลดลงเกินกว่าครึ่ง
นอกเหนือจากสาเหตุที่รายได้ลดลงแล้ว
CPALL ยังมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากเงินกู้ยืมระยะยาวกับธนาคาร
1
ซึ่งพอเรามาดูค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่บริษัทกู้ยืมจากสถาบันการเงิน
1
ไตรมาสที่ 1 ปี 2563 บริษัทต้องจ่ายดอกเบี้ย 1,881 ล้านบาท
ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 บริษัทต้องจ่ายดอกเบี้ย 2,901 ล้านบาท
3
จะเห็นได้ว่า CPALL มีต้นทุนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมามากถึง 54%
1
ทีนี้หลายคนคงสงสัยว่า กู้เงินมาซื้อกิจการโลตัส โลตัสก็ต้องมีกำไรเอามาจ่ายดอกเบี้ยได้
แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ พีก
เพราะไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ที่ผ่านมา โลตัสไม่มีกำไร..
11
จากข้อมูล บริษัท CPALL เข้าไปถือหุ้น 40% ในโลตัส แต่มีการบันทึกส่วนแบ่งกำไรเพียง 36 ล้านบาทในไตรมาสที่ 1 ปี 2564..
5
แล้ว CPALL ซื้อกิจการโลตัสด้วยต้นทุนเท่าไร ?
1
เมื่อเทียบกับมูลค่าที่กลุ่ม CP ซื้อโลตัส ทั้งหมดคือ 338,000 ล้านบาท
เมื่อคูณตามสัดส่วน 40% CPALL ก็ต้องจ่ายเงิน 135,200 ล้านบาท
แต่ CPALL ไม่มีเงินมากขนาดนี้ไปจ่ายให้ ดังนั้น CPALL ก็ต้องกู้เงินเพิ่ม
ซึ่งทำให้ CPALL มีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มถึง 1,020 ล้านบาทต่อไตรมาส
และที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ CPALL มีหนี้ที่กู้ยืมสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 246,690 ล้านบาท
7
ก็ต้องติดตามกันดูต่อไปว่าโลตัสที่ CPALL ร่วมลงทุนไป เมื่อผ่านสถานการณ์โควิดไปแล้ว จะกลับมาทำกำไรได้เมื่อไร
2
ทีนี้ เรามาดูตัวเลขสำคัญอื่น ๆ ของ CPALL
สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2564 CPALL มีสาขาร้านสะดวกซื้อรวมทั้งหมด 12,567 สาขาทั่วประเทศ
เพิ่มขึ้น 155 สาขา ซึ่งหลัก ๆ ก็มาจากการที่บริษัทขยายสาขาด้วยตัวเอง
1
มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการ 70,450 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 15%
ยอดขายเฉลี่ยของร้านสาขาเดิม ลดลง 17%
โดยมียอดซื้อต่อบิลประมาณ 77 บาท และมีลูกค้าเฉลี่ยต่อวัน 845 คน
ซึ่งลดลงจากปีก่อนแทบทุกตัวเลข
4
ปิดท้ายด้วยคำถามที่น่าสนใจ
ตัวเลขที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นตัวเลขของไตรมาส 1 ที่สถานการณ์โควิดยังกระจุกตัวอยู่แค่จังหวัดสมุทรสาคร
1
แต่ในไตรมาส 2 ที่เรากำลังเจออยู่ตอนนี้มันหนักหนากว่าไตรมาส 1 หลายเท่า
เมื่อผสมกับการแบกโลตัสที่น่าจะได้รับผลกระทบตามกัน
แล้วผลประกอบการ CPALL ในไตรมาส 2 จะเป็นอย่างไร..
5
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
CPALL เคยแบกโลตัสมาแล้วครั้งหนึ่งในอดีต
แต่เป็นโลตัสที่ประเทศจีน
พอ CPALL เลิกแบกโลตัสจีน
หลังจากนั้นหุ้น CPALL ก็พุ่งขึ้นหลายเท่า
และเหตุการณ์นี้ทำให้ความมั่งคั่งของนักลงทุนท่านหนึ่งเพิ่มขึ้นสูงตามเช่นกัน นักลงทุนคนนั้นก็คือ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนเน้นคุณค่าชื่อดังของประเทศไทยนั่นเอง..
4
โฆษณา