13 พ.ค. 2021 เวลา 10:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
มูลค่าเงินตามกาลเวลา ตอนที่ 2 เงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด (Annuity)
จากหัวข้อที่แล้วที่เราได้เขียนถึงมูลค่าเงินตามกาลเวลาที่เป็นเงินแบบก้อนเดียว (Single Sump) บทความนี้เราจะมาขยายต่อในเรื่องของกระแสเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด (Annuity)
โดยจะแสดงเป็นเส้นไทม์ไลน์ (Time Lines) ประกอบกับการใช้สูตร (Formula) เพื่อที่จะให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น
เราหวังอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ต่อได้ ดังนั้นเราไปเริ่มเนื้อหากันเลย
1. มูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด จะมีลักษณะคือ เงินสดในแต่ละงวดจะต้องเท่ากัน และจำนวนงวดที่ชัดเจน โดยมูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1.1 มูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Future Value of An Ordinary Annuity)
2.1 มูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกต้นงวด (Future Value of An Annuity Due)
1.1 มูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Future Value of An Ordinary Annuity)
สูตรในการการหา มูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Future Value of An Ordinary Annuity) มีลักษณะตามดังรูป
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าเงินสดที่เข้ามาก่อนจะได้รับผลจากการทบต้น (Compounding Process) มากกว่า
อีกหนึ่งทางเลือกนอกจากการใช้เส้นไทมไลน์ในการหามูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Future Value of An Ordinary Annuity) คือการใช้สูตร
1.2 มูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกต้นงวด (Future Value of An Annuity Due)
สูตรการหามูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกต้นงวด (Future Value of An Annuity Due) มีสูตรดังตามรูป
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าเงินสดที่เข้ามาก่อนจะได้รับผลจากการทบต้น (Compounding Process) มากกว่า
จะต่างจาก มูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Future Value of An Ordinary Annuity) ตรงที่จำนวนงวดที่ถูกคิดทบต้นนั้นมากกว่าหนึ่งงวด
อีกหนึ่งทางเลือกนอกจากการใช้เส้นไทมไลน์ในการหา "มูลค่าในอนาคตของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกต้นงวด" คือการใช้สูตร
2. มูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
2.1 มูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Present Value of An Ordinary Annuity)
2.2 มูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกต้นงวด (Present Value of An Annuity Due)
2.1 มูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Present Value of An Ordinary Annuity)
สูตรการหา มูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Present Value of An Ordinary Annuity) มีสูตรตามรูปดังนี้
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าเงินสดที่เข้ามาก่อนจะได้รับผลจากการคิดลด (Discounting Process) มากกว่า
อีกหนึ่งทางเลือกนอกจากการใช้เส้นไทมไลน์ในการหา มูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Present Value of An Ordinary Annuity) คือการใช้สูตร
2.2 มูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกต้นงวด (Present Value of An Annuity Due)
สูตรของการหา มูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกต้นงวด (Present Value of An Annuity Due) มีสูตรดังตามรูป
จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่าเงินสดที่เข้ามาก่อนจะได้รับผลจากการคิดลด (Discounting Process) มากกว่า
จะต่างจากมูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกปลายงวด (Present Value of An Ordinary Annuity) ตรงที่จำนวนงวดที่ถูกคิดทบต้นนั้นมากกว่าหนึ่งงวด
อีกหนึ่งทางเลือกนอกจากการใช้เส้นไทมไลน์ในการหา มูลค่าในปัจจุบันของเงินสดที่เกิดขึ้นเป็นงวด ที่มีกำหนดจ่ายทุกต้นงวด (Present Value of An Annuity Due) คือการใช้สูตร
โฆษณา