13 พ.ค. 2021 เวลา 10:39 • ข่าว
วัคซีนตัวไหนดีกว่ากันแน่ เปรียบเทียบอย่างไรจึงจะใช่ ใช้โมเดลม้าแข่งสนามเดียวกันเป็นคำตอบ
2
มีคำถามเกิดขึ้นกับผู้คนทั่วโลกว่า วัคซีนตัวไหน ผลิตด้วยเทคโนโลยีอย่างไร จึงจะดีที่สุด
เราจะได้เลือกวัคซีนตัวที่ดีที่สุด ฉีดให้กับตนเองและครอบครัว
คำถามดังกล่าวจะว่าตอบยากก็ยาก
จะว่าง่ายก็ง่าย
เพียงแต่ต้องเข้าใจพื้นฐานของการเปรียบเทียบระหว่างวัคซีนต่างชนิดกันให้ดีเสียก่อน
โดยผู้เขียนจะพยายามใช้การเปรียบเทียบ เวลาม้าแข่งกัน เพื่อที่จะดูว่าม้าตัวไหนวิ่งได้เก่งและเร็วกว่ากัน
เพื่อมาอธิบายเทียบเคียงกับวัคซีนว่า ตัวไหนมีประสิทธิผล (Effectiveness) ป้องกันโรคได้ดี ได้สูงกว่ากัน
ถ้าเราดูเฉพาะลักษณะภายนอกของม้า ประวัติการเลี้ยงดู การฝึกซ้อม แล้วบอกว่าม้าตัวไหนเก่งกว่ากัน ก็คงจะตอบได้ยาก
1
เช่นเดียวกับการดูข้อมูลของวัคซีนว่า วัคซีนนั้นใช้เทคโนโลยีอะไร ผลิตโดยบริษัทอะไร มีกรรมวิธีผลิตอย่างไร แล้วจะสรุปว่าวัคซีนบริษัทไหนดีกว่ากันก็คงจะตอบยากเช่นกัน
เวลาจะเปรียบเทียบความสามารถของม้า เราจำเป็นจะต้องดูม้าที่วิ่งแข่งกัน ในสนามเดียวกัน ในเวลาเดียวกัน จึงจะบอกได้ว่าม้าตัวไหนเก่งกว่ากัน
1
ถ้าเราเปรียบเทียบม้า ที่ต่างก็แยกย้ายกันวิ่งที่สนามของตัวเอง จับเวลากันเอง แล้วนำเวลามาเปรียบเทียบกัน คงจะเปรียบเทียบได้ลำบาก
2
เพราะม้าที่วิ่งแข่งกันคนละสนาม ถ้าสภาพสนามดีก็วิ่งได้เร็ว ถ้าไม่มีแสงแดดไม่มีลมพัดต้านการวิ่ง ก็จะวิ่งได้เร็ว
แต่ถ้าม้าตัวไหนโชคไม่ดี ซ้อมวิ่งจับเวลาในสภาพสนามที่ขรุขระ แดดแรง ลมพัดต้านแรง สถิติก็จะออกมาไม่ดี ทั้งที่ม้าตัวนั้นอาจจะวิ่งได้เก่ง
ลองกำหนดรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้นะครับ
1) กำหนดให้สภาพของสนามแข่งก็คือ สภาพของประเทศที่ทดลองวัคซีน ว่ามีความชุกในการติดเชื้อของการเกิดโรคระบาดมากน้อยเพียงใด
ถ้ามีการระบาดของโรคมากถือว่าสนามขรุขระ ถ้าการระบาดของโรคน้อยก็ถือว่าสนามเรียบ ม้าจะวิ่งได้เร็ว วิ่งได้ง่าย
1
2) กำหนดให้แสงแดดซึ่งจะทำให้ม้าอ่อนล้าและวิ่งได้ช้าลงก็คือ ชนิดหรือสายพันธุ์ของไวรัส ถ้าไวรัสกลายพันธุ์ดื้อต่อวัคซีนมาก ก็ถือว่ามีแสงแดดที่แรง
 
ถ้าไวรัสสายพันธุ์ปกติ ไม่ดื้อต่อวัคซีนก็ถือว่าแสงแดดอ่อน
 
3) แรงลมที่มาปะทะ หรือพัดสวนกับการวิ่งของม้า ก็คือ กลุ่มตัวอย่างของอาสาสมัคร ถ้าอาสาสมัครมีความเสี่ยงต่อการติดโรคมาก ก็แปลว่ามีลมพัดแรง ถ้ามีความเสี่ยงที่จะติดโรคน้อย ก็ถือว่ามีลมพัดอ่อนหรือไม่มีลมพัดเลย
 
เราลองมาดูการซ้อมจับเวลาของม้าสองตัวนี้ดูนะครับ
ตัวแรกชื่อ ม้า Pfizer โชคดีได้ซ้อมวิ่งจับเวลาทดลองเฟสสามในสนามแข่งขันที่เรียบมาก วิ่งได้ง่ายและเร็ว (การระบาดของโควิดในประเทศขณะนั้น มีน้อย)
มีแสงแดดอ่อนอ่อนไม่ร้อน ทำให้วิ่งได้สบาย (ไม่มีไวรัสกลายพันธุ์ที่ดื้อต่อวัคซีน)
ไม่มีลมพัดต้านการวิ่งทดสอบ (อาสาสมัครมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อย)
 
ผลออกมา ม้า Pfizer วิ่งจับเวลาได้ดีมากคือ วิ่งได้เร็วมาก (ประสิทธิผล : Efficacy ป้องกันโรค 95% )
3
ส่วนม้า AstraZeneca ไปซ้อมวิ่งจับเวลาอีกสนามหนึ่ง และคนละเวลากัน พบว่า สนามซ้อมวิ่งค่อนข้างขรุขระ วิ่งทำเวลายาก (มีการระบาดหรือความชุกของโรคขณะทดลองสูง)
มีแสงแดดแรงมาก ร้อนจัด ทำให้เหนื่อยง่าย (มีไวรัสกลายพันธุ์ที่ดื้อต่อวัคซีน)
มีลมพัดต้านตลอดเวลาในการวิ่ง(อาสาสมัครที่ทดสอบวัคซีน มีความเสี่ยงต่อการติดโควิดมาก)
ผลคือม้า AstraZeneca วิ่งจับเวลาได้เร็วปานกลาง (ประสิทธิผล : Efficacy 70% ) เพราะวิ่งในสนามขรุขระ มีแดด และลมแรง ทำให้วิ่งได้ไม่เต็มศักยภาพ
3
ก็มีผู้ที่นำเวลาของม้าแข่งสองตัวนี้ มาสรุปเปรียบเทียบกันว่า
1
ม้า Pfizer เก่ง วิ่งได้เร็วกว่าม้า AstraZeneca มาก โดยไม่สนใจข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้น
2
โชคดีที่มีโปรโมเตอร์จัดแข่งม้า นำม้าแข่งสองตัวนี้มาแข่งขันกันที่สนามสกอตแลนด์
 
โดยจัดให้วิ่งในสนามเดียวกัน มีแดดมีลมเท่าๆกัน คือ มีการฉีดวัคซีนทั้งสองตัวนี้ในประชากรของสกอตแลนด์ 1.4 ล้านเข็ม (เมื่อต้นปี 2564)
1
สภาพสนามของวันแข่ง เป็นสภาพสนามที่เรียบพอสมควรไม่ขรุขระแบบสนามซ้อมของ AstraZeneca แต่ก็เรียบไม่เท่าสนามซ้อมของ Pfizer มีแดดปานกลาง มีลมพัดเบาๆ
 
ผลคือ ม้าPfizer ซึ่งเคยวิ่งในสนามชั้นยอด วิ่งได้ช้าลงกว่าตอนซ้อม (ประสิทธิผล : Efficacy 95% เหลือประสิทธิผล : Effectiveness 91%)
 
ส่วนม้า AstraZeneca วิ่งได้ดีกว่าตอนซ้อม เพราะสภาพสนาม แดด และลมอำนวย (ประสิทธิผล : Efficacy 70% เพิ่มเป็นประสิทธิผล : Effectiveness 88%)
1
ผลการตัดสินด้วยสายตาของกรรมการ และผู้ชมที่สนามสกอตแลนด์ สรุปว่า ม้าทั้งสองตัวนี้เข้าเส้นชัยพร้อมกัน จับเวลาได้เท่ากัน (91% กับ 88% ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ)
 
สรุปว่า ม้า Pfizer วิ่งเก่งทำเวลาได้เท่ากับม้า AstraZeneca เมื่อนำมาแข่งในสนามเดียวกัน
 
ทั้งที่เวลาของม้าทั้งคู่ จากการฝึกซ้อมมาล่วงหน้า แตกต่างกันค่อนข้างมาก(95% กับ 70%)
 
แฟนผู้ชมการแข่งม้า ต่างเลิกพูดถึงเรื่องความเก่งของของม้าแต่ละตัว ที่เคยเชื่อว่าเก่งต่างกันตอนซ้อม ไปจนหมดสิ้น
เหลือแต่คำชม ที่บอกต่อกันไปว่า ม้าสองตัวนี้เก่งเท่ากัน
คือ วัคซีนทั้งสองชนิดมีประสิทธิผลในการป้องกัน
การติดเชื้อที่แสดงอาการ (Symptomatic infection)
ที่ต้องนอนโรงพยาบาล (Hospitalization)
และทำให้เสียชีวิต (Death)
ดีเท่าเทียมกัน
หมายเหตุ : การเปรียบเทียบประสิทธิผลของวัคซีนใช้คำสองคำที่แตกต่างกันในภาษาอังกฤษ คือ
 
ประสิทธิผลในโลกทดลอง (Efficacy) คือ ความสามารถในการป้องกันโรค ที่ใช้บอกในระหว่างทดลองในอาสาสมัครเฟสสาม (จำนวนหลักหมื่นคน) ที่เรียกกันว่า ประสิทธิผลในโลกทดลอง (หรือประสิทธิศักย์)
2
ประสิทธิผลในโลกจริง (Effectiveness) คือ ความสามารถในการป้องกันโรคในโลกจริง(Real World) ใช้กับประชาชนจำนวนมาก(หลักล้านคน) เรียกว่าประสิทธิผลในโลกจริง คือของจริง
ถ้าผลแตกต่างกัน ต้องยึดถือประสิทธิผลในโลกจริงเป็นหลัก
 
ขณะนี้ชัดเจนว่า ประสิทธิผลในโลกจริง ของวัคซีน Pfizer เท่ากับวัคซีน AstraZeneca
โลกกำลังทยอยจัดแข่งม้าในสนามเดียวกันมากขึ้นเรื่อยเรื่อย คือการฉีดวัคซีนในประเทศเดียวกัน ไวรัสสายพันธุ์เดียวกัน ประชากรเสี่ยงเท่าๆกัน และในห้วงเวลาเดียวกัน
 
แล้วก็เริ่มมีข้อมูลทยอยออกมาเป็นลำดับว่า วัคซีนมีประสิทธิผล (Effectiveness) ใกล้เคียงกันมากขึ้นทุกขณะ จนอาจเรียกได้ว่าประสิทธิผลเท่ากัน
มีวัคซีนตัวไหน ฉีดได้เลยครับ
Reference
1
โฆษณา