Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
14 พ.ค. 2021 เวลา 01:33 • สิ่งแวดล้อม
รู้จักผีเสื้อใบไม้!!
1
ผีเสื้อใบไม้แห้งนี้มีลักษณะที่แตกต่างจากผีเสื้อชนิดอื่นด้วยลักษณะของปีกที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก เพราะมันมีปีกที่ดูเหมือนกับใบไม้มากเลยทีเดียว หากใครที่ชอบเดินป่าแล้วบังเอิญเดินผ่านผีเสื้อใบไม้แห้งเข้า ก็แทบไม่รู้เลยว่านี่คือ “ผีเสื้อ” ที่เป็นแมลงชนิดหนึ่ง บินได้ ขยับได้
รู้จักผีเสื้อใบไม้!!
ตัวโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 8.5-11 เซนติเมตร ปีกส่วนบนจะเป็นสีน้ำเงิน ปลายปีกมีสีดำพาดด้วยสีส้มเหลืองระหว่างกลางสีสันสวยงาม ส่วนปีกล่างมีสีน้ำตาลลักษณะจะเหมือนใบไม้แห้ง
ไม่เพียงแต่ลักษณะภายนอกเท่านั้นที่เหมือนใบไม้แห้ง ลักษณะการเกาะอยู่กับต้นไม้แบบนิ่ง ๆ อยู่กับที่ ก็เป็นพฤติกรรมที่น่าสนใจของผีเสื้อใบไม้แห้งเช่นกัน หากได้ลองสังเกตดู จะพบว่าผีเสื้อที่เราพบเห็นได้ทั่วไปตามสวนดอกไม้ จะมีจังหวะการกระพือปีกและการเกาะกับต้นไม้ที่ต่างออกไปจากผีเสื้อใบไม้แห้ง
โดยผีเสื้อทั่ว ๆ ไปนั้น เมื่อตอนที่เกาะดูดน้ำหวานจะมีการขยับตัวบ้าง เล็กน้อย และไหวตัวเร็ว รีบบินหนีทันทีเมื่อเราเข้าไปใกล้ แต่ผีเสื้อใบไม้แห้งนั้นกลับอยู่นิ่งมาก ไม่ขยับตัวเลยเมื่อเราเข้าไปใกล้ ราวกับจะกลายเป็นใบไม้ใบหนึ่งที่บังเอิญตกลงมาจากเรือนยอดของต้นไม้จริง ๆ
ทั้งพฤติกรรมและลักษณะภายนอกของผีเสื้อใบไม้แห้งนี้ เรียกว่า “การพรางตัว” (Camouflage) เกิดจากการปรับตัวตามธรรมชาติของแมลง และการที่ผีเสื้อใบไม้ต้องพรางตัวจากนักล่านั้น ก็เพื่อรักษาชีวิตรอดโดยไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินแมลงอื่นๆ เช่น งูบางชนิด นก เป็นต้น
#สาระจี๊ดจี๊ด
การพรางตัวเรียกได้ว่าเป็น “วิวัฒนาการ” ของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติรูปแบบหนึ่ง โดย “การพรางตัว” แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ “Crypsis” คือการพรางตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพื่อให้ถูกมองเห็นยากขึ้น เช่น การพรางตัวของกบ คางคก จิ้งจก กิ้งก่า งู เป็นต้น
นอกจากนี้การปรับตัวตามธรรมชาติยังมีอีกรูปแบบหนึ่งที่ต่างออกไป เรียกว่า “Mimesis” คือการเลียนแบบเป็นสิ่งอื่น ซึ่งการพรางตัวของผีเสื้อใบไม้แห้งก็จัดอยู่ในลักษณะที่เป็น “Mimesis” นี้เช่นกัน
ข้อสังเกตของการปรับตัวแบบ “Mimesis” ก็คือ การที่มี “ตัวต้นแบบ (Model)” และ “สัตว์ตัวที่ทำการเลียนแบบ (Mimic)” สองอย่างนี้มาคู่กันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในกรณีของผีเสื้อใบไม้แห้ง จะมี “ใบไม้แห้ง”เป็นตัวต้นแบบ (Model) และผีเสื้อชนิดนี้ก็ทำการวิวัฒนาการปีกของมันขึ้นมาให้ลวดลายเหมือนกับใบไม้แห้ง รวมถึงสังเกตและลอกเลียนพฤติกรรมของใบไม้ออกมาได้อีกด้วย เรียกได้ว่า “ผีเสื้อ” คือผู้ลอกเลียนแบบ (Mimic) นั่นเอง โดยการเลียนแบบลักษณะนี้ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทฤษฎี “Batesian mimicry”
#สาระจี๊ดจี๊ด
Batesian mimicry เป็นการเลียนแบบของเหยื่อเพื่อป้องกันตัวจากสัตว์ผู้ล่า ซึ่งในกรณีของผีเสื้อใบไม้ ก็คือการทำให้สัตว์ผู้ล่าคิดว่าผีเสื้อตัวนี้ไม่สามารถกินได้
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
https://www.scimath.org/article-biology/item/11365-2020-03-12-03-28-01
https://www.facebook.com/samrujlok/posts/10155474389637226
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
3 บันทึก
15
9
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สิ่งมีชีวิต ธรรมชาติ สิ่งเร้นลับ มหัศจรรย์
3
15
9
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย