Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Q Man
•
ติดตาม
14 พ.ค. 2021 เวลา 10:00 • ปรัชญา
เทคนิคง่ายๆ ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ สู่การสร้างนวัตกรรม
EP1: การจดบันทึก
จากบทความตอนที่แล้ว ได้พูดถึงเรื่องนวัตกรรม ซึ่งการที่เราจะสร้างนวัตกรรมกรรมขึ้นมาได้ ก็ต้องมีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ที่จะเป็นแกนหลักในการต่อยอดทางความคิด
เริ่มต้นด้วยเทคนิคง่ายๆ ในการช่วยและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเราให้ดีขึ้นยิ่งๆ ขึ้นไป
“การจดบันทึก”
หลายๆ คนเคยผ่านช่วงเวลาการเรียนหนังสือ ต้องเคยผ่านการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านการเรียนการสอนมาบ้าง
ปัญหาหนึ่งของมนุษย์คือ เราไม่สามารถจำทุกอย่างได้ภายในระยะเวลาอันสั้น การจดบันทึก จะช่วยแก้ปัญหานี้
แล้วการจดบันทึกก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร ?
มีนักวิทยาศาสตร์อยู่ท่านหนึ่งชื่อว่า ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์ (Charles Robert Darwin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้เสนอทฤษฎีวิวัฒนาการว่า “ วิวัฒนาการโดยการคัดเลือกตามธรรมชาติ ”
ทฤษฎีของดาร์วินได้มาจากข้อมูลทางธรรมชาติที่เขาจดบันทึกและเก็บรวบรวมได้ ขณะที่เขาเดินทางไปกับเรือสำรวจตามแนวฝั่งทวีปรอบโลก การจดบันทึกของเขาดังกล่าว ได้นำไปสู่การเสนอทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่ส่งต่อความรู้มาถึงปัจจุบัน
Darwin's first sketch of the tree of life ที่มา www.nhm.ac.uk
ลีโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ศิลปินที่วาดภาพ “โมน่าลิซ่า” แต่ที่จริงเค้าเป็นอัจฉริะยะบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตย์แบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ รวมถึงเป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน และวิศวกรรมโยธาอีกด้วย ลีโอนาร์โด ดาวินชี เขาสมุดโน้ต ที่ชื่อว่า ‘Codex Arunde’ ซึ่งเขาได้จดบันทึกความรู้ต่างๆ มากมาย ที่ส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน
da-vinci-notebook ที่มา www.openculture.com
จากแดนตะวันตก มาสู่ฝั่งตะวันออก ที่ประเทศจีน มีนักประวัติศาสตร์คนหนึ่งชื่อว่า “ซือหม่าเชียน” ซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นการบันทึกประวัติศาสตร์จีน หรือ พงศาวดารที่เรียกในภาษาจีนว่า สื่อจี้ อันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ทรงคุณค่า ทำให้คนรุ่นหลังสามารถอ่านแล้วสืบค้นข้อมูลในยุคประวัติศาสตร์จีนเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อนได้อย่างน่าสนใจ โดย สื่อจี้ หรือ บันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ ซือหม่าเชียนได้เขียนขึ้นนั้น มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่สมัยฮฺว๋างตี้ จนถึงสมัยพระเจ้าฮั่นอู่ตี้ รวมแล้วกินความช่วงเวลาในประวัติศาสตร์กว่า 3,000 ปี บันทึกเรื่องราวชีวประวัติกษัตริย์ 12 บท เหตุการณ์สำคัญในแต่ละยุคอีก 10 บท พร้อมบทความแง่มุมต่างๆ เช่น ดาราศาสตร์ และปฏิทิน อีก 8 บท เรื่องเกี่ยวกับขุนนางอีก 30 บท บุคคลในประวัติศาสตร์ 72 บท รวมแล้วมีทั้งหมด 130 บท คิดเป็นตัวหนังสือร่วม 526,500 ตัวอักษร
Sima Qian ที่มา worldhistory.org
Shi ji ที่มา wdl.org
จากตัวอย่างที่กล่าวมา ของตัวอย่างบุคคลที่เป็นคนในยุคก่อน จะเห็นได้ว่าการจดบันทึกนั้น ไม่ใช่เพียงแค่เป็นประโยชน์ต่อผู้บันทึกเองเท่านั้น แต่มันอาจจะกลายเป็นสิ่งสำคัญและทรงคุณค่าสำหรับมนุษยชาติก็อาจจะเป็นไปได้
สรุปได้ว่า การจดบันทึกนั้น จะช่วยให้เกิดประโยชน์ เช่น
1. ป้องกันการลืม
2. ช่วยบันทึกไอเดียดีๆ ที่แว่บผ่านเข้ามา
3. ช่วยบันทึกเรื่องราวต่างๆ
4. ช่วยฝึกทักษะด้านการเขียน
5. สามารถส่งต่อและถ่ายทอดให้กับคนอื่นได้
6. เพิ่มความเข้าใจ ในเนื้อหาที่เรียนรู้มากขึ้น
7. ช่วยให้เราจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้น
8. ใช้เป็นแหล่งสืบค้นในภายหลัง
การจดบันทึกนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจดลงสมุดด้วยการเขียน หรือการบันทึกลงในโปรแกรมหรือในแอพพลิเคชั่นด้วยการพิมพ์ หากใครอยากกระตุ้นให้การทำงานของสมองดีขึ้น แนะนำว่าควรจดบันทึกด้วยการเขียน โดยขออ้างอิงผลการทดลองของ แพม มูลเลอร์ (Pam Mueller) จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) ได้บอกถึงข้อดีของการใช้มือจดข้อมูลว่า การจดบันทึกด้วยการเขียนมือทำให้เข้าใจคอนเซ็ปต์ของเนื้อหาได้ดีกว่าการพิมพ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
แต่ใช่ว่าการพิมพ์นั้นจะไม่มีประโยชน์ ไม่เช่นนั้นคงไม่กลายเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ข้อดีของการบันทึกด้วยการพิมพ์คือสามารถเก็บรายละเอียดได้มากกว่าคนที่จดบันทึกด้วยมือ และสามารถบันทึกแบบคำต่อคำได้มากกว่า
แต่ละคนนั้น จะมีเทคนิคการจดบันทึกที่ไม่เหมือนกัน ตามความชอบและความถนัด
แต่การจดบันทึกเป็นสิ่งจำเป็นในการเรียนรู้และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งช่วยกระตุ้นก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ดีๆได้ ตามมา
ลองเริ่มต้นจดบันทึกกันดู ก็ยังไม่สายนะ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย