14 พ.ค. 2021 เวลา 09:59 • อาหาร
.. บทความ SCITH ..
บทความก่อนหน้านี้เราได้รู้จักกับหลักการให้คะแนนการ Cupping ตามมาตรฐาน SCA กันไปแล้ว
วันนี้ SCITH จึงนำได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อกำหนดของอัตราส่วนและอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องมาให้ทุกท่านได้ทราบกัน
ข้อกำหนดการ Cupping หรือที่เรียกกันว่า “Cupping Protocol” มีอะไรบ้างไปดูกัน
>>>
1. ปริมาณกาแฟ และอัตราส่วนของน้ำสำหรับการ Cupping
เมื่อจะทำการ Cupping / Ratio ที่ใช้คือ
- กาแฟ 8.25 กรัม (+- ไม่เกิน 0.25 กรัม) ต่อน้ำ 3 ออนซ์ / 150 มิลลิลิตร หรือเทียบได้ว่า กาแฟ 1.63 กรัม ต่อน้ำ 1 ออนซ์ / 30 มิลลิลิตร หรือกาแฟ 0.055 กรัม ต้องใช้น้ำ 1 มิลลิลิตร
ตัวอย่าง : ถ้าถ้วย Cupping ขนาด 200 มิลลิลิตร จะได้กาแฟกี่กรัม?
คำตอบ : 200*0.055 เท่ากับ 11 กรัม
.
2. ถ้วย Cupping
ถ้วย Cupping จะต้องทำมาจาก กระจกเทมเปอร์ หรือ เซรามิค เท่านั้น ขนาด 7-9 ออนซ์ หรือ 207-266 มิลลิลิตร โดยมีความสูงระหว่าง 76-89 มิลลิเมตร แก้วที่ใช้จะต้องมีวัสดุ ขนาด และมาตรฐานเหมือนกันทุกแก้ว และต้องมีฝาปิด
.
3. อุณหภูมิของน้ำที่ใช้
อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ในการ Cupping อยู่ระหว่าง 92.2-94.4 องศาเซลเซียส เมื่อทำการเท
.
4. น้ำที่ใช้ในการ Cupping
กลิ่น : สะอาด สดชื่น / ไม่มีกลิ่น
ไม่มีคลอรีน
calcium hardness : 50-175 ppm CaCO3
Alkalinity : 40 ppm / หรือใกล้เคียงกับ 40-70 ppm CaCO3
5. ขนาดเมล็ดกาแฟที่บดแล้ว สำหรับการ Cupping
เมล็ดกาแฟสำหรับการ Cupping จะต้องผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 20 (0.081 มิลลิเมตร ประมาณ 800-850 ไมครอน) ได้ประมาณร้อยละ 70-75
6. การคั่วกาแฟ สำหรับการ Cupping
ต้องคั่วกาแฟให้ได้เวลาระหว่าง 8-12 นาที และต้อง Cupping ปิ้งภายใน 8 – 24 ชั่วโมง หลังจากการคั่วกาแฟ
7. ระดับการคั่ว สำหรับการ Cupping
ระดับการคั่ว สำหรับการ Cupping ต้องวัดระหว่าง 30 นาที – 4 ชั่วโมง หลังจากการคั่ว และใช้เบอร์บด อุณหภูมิห้องที่ได้มาตรฐานของห้องที่ใช้ในการ Cupping (ประมาณ 20-25 องศาเซลเซียส) และค่าการวัดระดับการคั่วของกาแฟจะเพี้ยนได้ไม่เกิน 1 หน่วย โดยวัดเมล็ดที่บดแล้วจากการใช้เครื่องวัดค่าสี ดังนี้
- เครื่องวัดสี Gourmet, Lighttells, RoastRite. ใช้เบอร์ 63
- เครื่องวัดสี Agtron “Commercial” เบอร์ 48
- เครื่องวัดสี Agtron “Colortrack” เบอร์ 62
- เครื่องวัดสี Agtron “Probat Colorette 3b l” เบอร์ 96
- เครื่องวัดสี Agtron “Javalytics” สามารถเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง Gourmet หรือ Commercial Scale
8. ขนาดของห้อง Cupping
ห้อง Cupping จะต้องมีความกว้างต่ำสุดที่สามารถรองรับโต๊ะ Cupping ได้ 1 โต๊ะ แต่ต้องไม่เล็กกว่า 10.22 ตร.ม. ห้อง Cupping ต้องมีขนาดเพียงพอที่จะรองรับนักเรียนทุกคนในการจัด Cupping ได้ทั้งหมดในเวลาเดียวกัน พื้นที่ว่างรอบโต๊ะอยู่ที่ 90 ซม. สำหรับการรองรับผู้ Cupping และ ห้ามไม่ให้มีเฟอร์นิเจอร์หรือวัสดุอุปกรณ์อื่นๆตั้งอยู่ใกล้โต๊ะ Cupping น้อยกว่า 90 ซม. ถ้ามีโต๊ะ Cupping 2 โต๊ะขึ้นไปอยู่ในห้อง จะต้องมีรัศมีไม่น้อยกว่า 150 ซม. ระหว่างโต๊ะ
9. ช้อน Cupping
ช้อน Cupping จะต้องสามารถใส่น้ำกาแฟได้ 4-5 มิลลิลิตร และต้องไม่ใช้วัสดุที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาอื่นๆได้
10. โต๊ะสำหรับการ Cupping
โต๊ะ Cupping (สำหรับ 6 คน) ต้องมีหน้าโต๊ะขนาด 0.92 ตร.ม. และโต๊ะต้องมีขนาดความสูงเหมาะสมกับความสูงของนักเรียน รวมทั้งผู้พิการ (โต๊ะ Cupping จะต้องวางอยู่กับที่ และนักเรียนจะต้องเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ โต๊ะ ไม่ควรใช้โต๊ะที่หมุนได้ ยกเว้นแต่เพียงนักเรียนไม่สามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก)
#Cupping #การทดสอบรสชาติกาแฟ #SCITH
โฆษณา