Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รอบรู้รอบครัว
•
ติดตาม
17 มิ.ย. 2021 เวลา 13:30 • อาหาร
ส้มตำ
เราๆท่านๆคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า ส้มตำ
มาจากการคลุกรวมกันโดยมีรสเปรี้ยว คือส้มและตำ
โดยหากแปลแยกทีละคำ ส้มคือเปรี้ยว ตำก็คือกระแทกกระทุ้ง
แต่เวลาเราดูแม่ค้าตำส้มตำ ไม่เห็นเค้าตำเลยนี่
เค้าก็แค่คลุกให้เข้ากันเอง
แต่ที่ยังเรียกส้มตำ ก็เป็นเพราะยังมีการตำให้แหลกอยู่ในขั้นตอนแรก
เฉกเช่นเดียวกับพริกน้ำปลาและน้ำปลาพริก
แรกเริ่มเดิมทีนั้น เรายังเรียกส้มตำ ว่า ตำส้มอยู่
เนื่องจากในสมัยนั้น ตำส้ม คือเราจะตำอะไรก็ได้ ผักผลไม้อะไรก้ใส่ได้หมด
เพียงแต่ผักที่นิยมมากคือมะละกอนั่นเอง จึงเป็นที่มาของการเรียกส้มตำ
ที่มีความหมายเฉพาะว่าต้องเป็นมะละกอในจานนั้น
หรือแม้แต่ในสมัยนี้ เราเองก็ยังนิยมใช้คำว่าตำนำหน้า
เช่น ตำบักหุ่ง ตำมะละกอ ตำถั่ว ตำแตง ตำมาม่า ตำผลไม้ ตำข้าวโพด
มะละกอ
มะละกอเป็นผักพื้นเมืองจากอเมริกา แพร่เข้ามาในเอเชียโดยชาวโปรตุเกสและสเปน
แต่เดิมชาวสยามเรียกมะละกา เนื่องผักชนิดนี้นำมาจากมะละกา
เมื่อมีการพูดเสียงเพี้ยนบ่อยๆ จึงกลายเป็นคำว่ามะละกอ
แต่เดิม เราไม่ได้ปลูกต้นมะละกอเพื่อกินผลของมัน
แต่ปลูกเพราะต้องการยาง
เพื่อส่งออกให้ต่างชาติ นำไปทำหมากฝรั่ง
แน่นอนว่า คนไทยเราไม่ได้กินทิ้งกินขว้าง จึงได้มีการนำผลของต้นมะละกอมาทำเป็นส้มตำอย่างที่เราๆเห็นกันทุกวันนี้
เพียงแต่ การกินในยุคแรก ยังไม่ได้กินกับข้าวเหนียวหรือเส้นขนมจีน
แต่เป็นการกินกับ ข้าวมัน ที่หุงด้วยกระทิสด
โดย ตำรับสายเยาวภา ได้มีบันทึกไว้ว่า
ส้มตำตำรับชาววัง ถือเป็นอาหารที่จัดเสริ์ฟในโอกาสพิเศษ มีลักษณะเป็นสำรับ กินคู่กับข้าวมันที่หุงด้วยกะทิ พร้อมด้วยหมูฝอยและแกงไก่
รสชาติเองออกจะติดนุ่มนวล ใส่ทั้งถั่วลิสงและกุ้งแห้ง
และกลายมาเป็นส้มตำประจำภาคกลาง ที่เรียกว่าส้มตำไทยในภายหลัง
เมื่อข้าวมันส้มตำเดินทางมาถึงภาคใต้ ก็เริ่มเปลี่ยนรูปร่างไป
จากหมูฝอยหวาน ก็เปลี่ยนมาเป็นกุ้งหวาน
แกงไก่ก็เหลือแต่เพียงน้ำแกง
ส้มตำ ก็เปลี่ยนมาเป็นน้ำพริกมะขาม
ในส่วนของการทำ หากจะทำน้ำซอสเก็บไว้เพื่อให้สะดวกกับการปรุง
แนะนำให้ผสมน้ำปลา1ส่วน,น้ำมะนาว2ส่วน, น้ำมะขามเปียกและน้ำตาลปี๊ปอย่างละ2ส่วน
ส่วนรสชาติอื่นๆค่อยใส่ตอนตำเอา
รู้หรือไม่
กะหล่ำปลีดิบมีกอยโทรเจน
หากกินโดยไม่ผ่านความร้อนหรือกินดิบๆติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เรามีโอกาสเกิดโรคคอพอกขึ้นได้
เนื่องจากสารตัวนี้ทำให้ร่างกายเราดึงไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ซึ่งก็แก้ไขได้โดยการนำไปปรุงสุก จะทำให้สารตัวนี้สลายไปได้
และในกะหล่ำปลีเองก็ยังมีวิตามินซีอยู่มากที่ร่างกายนำมาใช้ได้ หากได้รับความร้อนเต็มที่
แต่ก็ต้องระวังสารที่ชื่อออกซาเลต ซึ่งหากสะสมที่กรวยไตมากๆ ก็อาจทำให้เป้นนิ่วได้
อ้างอิง
https://edition.cnn.com/travel/article/world-best-food-dishes/index.html
https://www.silpa-mag.com/culture/article_5140
https://readthecloud.co/thaicook-7/
https://sites.google.com/site/cidaphak11012/home/4-khxngdi-praca-canghwad-sngkhla?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
facebook.com/lovesiamoldbookFanclub
http://www.laikramantique.com/
บันทึก
30
75
13
30
75
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย