14 พ.ค. 2021 เวลา 13:25 • การตลาด
เนื่องจากทางเราได้เป็น 1 ใน 100 creators ที่เข้าร่วมงาน TMRW Creator Camp 2021 ก็เลยจดสรุปแต่ละสัปดาห์มาจ้า (ก็เลยไม่เจอเราใน Sunday Coding ของพี่ตี๋พี่แทนไง ;_;) เริ่มที่สัปดาห์แรกกันก่อนเลย เรื่อง Storytelling โดยคุณบูม ธริศร Youtuber สายอสังหาชื่อดัง และ เคน นครินทร์ บรรณาธิการบริหาร THE STANDARD และผู้ดำเนินรายการ podcast ชื่อดัง นามว่า The Secret Sauce ซึ่งทางเราเองก็ตื่นเต้นเอามากๆที่จะได้ฟังทั้งสองท่านตัวเป็นๆผ่าน Zoom
และได้ลองทำ Storytelling Canvas ในการเล่าเรื่องตามโจทย์ที่ได้รับด้วยหล่ะ เป็นการฝึกใช้ครั้งแรกหลังจากที่ดองมาแสนนาน
เราก็เลยหยิบบางส่วนที่คุณบูมและคุณเคนได้พูดในวันนั้น สรุปเป็นภาพในโพสนี้ ซึ่งยังไม่ได้ครบถ้วนทั้งหมดนะ เพราะเรามีบล็อกสรุปงานในวันนั้นทั้งหมดให้อ่านกันตั้งแต่ต้นจบจนเลยทีเดียว
ใครที่อยู่ร่วมค่ายกับเราอยากทบทวนซํ้า หรือคนที่ไม่ได้เข้าร่วมก็อ่านได้น้าา ทุกอย่างเป็นประโยชน์มากทีเดียว :D
#TMRW #TMRWCreatorsCamp2021 #storytelling
เริ่ม session แรกของคุณบูมกันก่อนเลย
ส่วนประกอบของ Internet Content จากการสังเกตุ มี 2 ส่วนประกอบคือ Hook จุดที่ดึงคนมาอยู่กับเรา และ Body เนื้อหาที่ดี เราควรคิดสองส่วนนี้แยกออกจากกัน
Hook "ท่อนฮุค" ตอนที่เรารู้จักเพลงนี้ครั้งแรก เราจะได้ยินจากท่อนฮุคก่อน เป็นท่อนที่เราจำได้ อันนี้เราขอยกตัวอย่างเองเช่น "โอ้ย เจ็บไปทั้งหัวใจทำไมยังทน" ร้องซะทรมานขนาดนี้เราต้องหาต่อว่า นี่คือเพลงอะไรกันนะ ทำให้เราอยากสำรวจหรือ explore ต่อไปทั้งเพลง พอเราหาต่อเราจะพบว่าเพลงนี้ชื่อว่าลงใจ ของโบกี้ไลออนนั่นเอง
ดังนั้น ท่อนฮุคเป็นการดึง extension คนดู ให้มาดู content ของเรา เราอาจจะดูช่อง YouTube ที่เราชอบ ดูคลิปช่องนั้นที่คนดูเยอะสุด แล้วมาวิเคราะห์ดู
ข้อควรรู้
- ตัวปกคลิปไม่ได้บอกว่าดีหรือไม่ดี แค่ดึงดูดให้คนเข้ามาดู
- Hook อย่างเดียวอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ ถ้า infomation หรือ content ไม่ตรงกับที่เขาต้องการ ดังนั้นเนื้อหาจะต้องถูกคิดมาอย่างดี
Body เนื้อหา ก็เหมือนท่อนเพลงที่เราชอบ เราชอบเพลงนี้เพราะท่อนไหน หรืออาจจะเป็นเนื้อหาในเพลง
สรุป
Hook ดึงคนให้มาอยู่กับเรา + Body เนื้อหาที่ดี → มองแยกออกจากกัน ทำยังไงให้คนมาดูคลิปของเรา
เหมือนตัวอย่างหนัง คิดเพื่อให้คนดูที่ไม่รู้จักหนังของเรา มาดูหนังของเราได้อย่างไร
แล้วเราจะสร้างเนื้อหาให้คนอินได้อย่างไร?
Storytelling เรื่องของเราจะต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง
คำว่า story และ plot แปลว่าเรื่องเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่
Story คือ เรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น
Plot คือเรื่องราวเฉพาะสิ่งที่เป็นเหตุผลต่อเนื่องกัน หรือเหตุผลของเรื่องที่เราจะเล่า
ดังนั้น ให้เลือกเรื่องที่เราจะเล่าให้เหมาะสม และตัด detail ที่ไม่จำเป็นออกไป โดยใช้หลักการของ Narrative Structure ที่จะช่วยเล่า plot นี้ให้สนุกอย่างไร
Narrative Structure มีทั้งหมด 3 ส่วน คือ
1. Setup : เป็นการปูเรื่อง ตัวละคร ปัญหาที่เกิด ส่วนนี้จะเล่าสั้นๆน้อยๆ เช่น แนะนำตัวละครว่าเป็นใคร
2. Conflict : เมื่อเจอปัญหาแล้ว จะออกจากปัญหาอย่างไร อันนี้จะเล่านานๆหน่อย เช่น พระเอกเจอผู้ร้ายและหาวิธีต่อสู้กับมัน
3. Resolution : เป็นจุดคลายปม เน้นจบให้ไว เช่น พระเอกสู้กับผู้ร้าย
ตัวอย่างการเล่าเรื่องแบบนี้ก็คือภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ หรือพวก super hero ทั้งหลาย รูปที่แปะมีทั้ง Marvel และ DC เลย แล้วแต่คนอ่านชอบก็แล้วกันเนอะ 🙂
ดังนั้นเราจะต้องเลือกเรื่องที่จะเล่าก่อน อาจจะหยิบเรื่องที่สนุก หรือมีประโยชน์มาเล่า
อาจจะเป็นเรื่องราวเล็กๆแต่ Epic ก็ได้นะ
อันนี้หยิบจากคำถาม Q & A ที่ถามคุณบูมกัน แล้วคำตอบน่าสนใจดี
ลองถามตัวเอง และคนรอบข้าง ว่าถ้ามีคลิปแบบนี้เราอยากดูไหม เราอยากดูเพราะอะไร ดู reaction ของ target ของเรา แล้วก็หาวิธีนำเสนอกับหัวข้อ ลองผิดลองถูก
เช่น เราลองถามทุกคนว่า ถ้าเราทำผลิตภัณฑ์อื่นๆบน Binance ที่นอกเหนือจาก P2P จะสนใจอ่านไหม เพราะเรารู้สึกว่ามันไม่ค่อยมีคนทำเท่าไหร่ว่าในนั้นมีอะไรน่าเล่นบ้าง และพอเราลองเล่นดูแล้ว ก็เหมือนเป็นที่พักเหรียญคริปโตต่างๆของเราให้ลอกเงยขึ้นด้วย เป็นต้น
ต่อมาที่ session คุณเคน
การสื่อสารเปลี่ยน เพราะบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยที่เราไม่รู้ตัว มาจากเทคโนโลยีนั่นเอง
หัวใจสำคัญในการเปลี่ยนแปลง : technology → พฤติกรรม → social network → platform
การสื่อสารในก่อนหน้านี้จะเป็นแบบ Traditional Business เป็นสื่อ TV หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ในยุคนี้เป็นแบบ Platform Business จะสื่อสารผ่าน platform มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนคุณค่า เราสามารถสร้างสื่อเป็นของตัวเอง ตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ เพราะคู่แข่งเยอะขึ้นเป็นมหาศาล ผู้บริโภคมีสิทธิเลือก content
บทบาทที่เปลี่ยนไป เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่สำคัญ
* ยุคก่อน lean back ผู้ส่งสารเป็นผู้เลือก เป็นแบบ push marketing
* ยุคนี้ lean forward ผู้รับสารเป็นผู้เลือกแทน เป็นแบบ pull marketing หรือ inbound marketing
ดังนั้นบทบาทของผู้บริโภคมีสูงมาก และสูงมากที่สุดที่เคยเป็นมา และคนส่งสารจะไม่ต้องคิดถึงตัวเองอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น
How audience-centric are you?
เพราะกติกาโลกมันเปลี่ยน เราต้องโน้มตัวไปหาคนอ่านมากขึ้น คิดถึงตัวเองให้น้อยลงมากที่สุด
ทำยังไงให้ลากเส้นเชื่อมกันได้ ระหว่าง สิ่งที่เราอยากพูด และเขาอยากรู้เรื่องอะไร มีความสนใจ มีความสุขไปกับอะไร
แต่อย่าลากไปสุด เดี๋ยว branding จะไม่ออก
checklist
* เรื่องนี้เป็นประโยชน์สำหรับเขาหรือเปล่า
* เรื่องนี้น่าสนใจสำหรับคนอ่านไหม
เรื่องนี้สำคัญ เกี่ยวข้อง เติมเต็ม emotion ไหม
เรื่องนี้เป็น ประโยชน์ และ น่าสนใจ สำหรับคนอ่านหรือไม่ เราต้อง balance มันให้พอดี เช่น ของน้าเน็ก เป็น edutainment ถ้าทำให้ตลกก็จะเป็นแค่หนึ่งในตลกหลายๆคน ถ้าทำให้ความรู้ก็จะเป็นหนึ่งในหลายๆคนที่ให้ความรู้ ทำให้เราไม่แตกต่างไปจากคนอื่น content จะเป็นการตอบโจทย์เพื่อช่วยเหลือคน และได้รับเสียงหัวเราะด้วย
ก็จะให้นึกถึงน้องแมวกับ Wikipedia นี้ไว้
content ที่ดี ประกอบไปด้วย brand story, สิ่งที่เขาสนใจ และความแตกต่างของเรา ทั้งหมดนี้ทำให้เนื้อหาของเราสนใจมากขึ้น
ให้เราลองฝึดคิดเยอะๆ ใช้หลักของ start with why
* Why : เพจเราเกิดมาทำไม เกิดประโยชน์อะไรต่อสังคม ให้เน้นคิดเชิงจุดมุ่งหมาย
* How : ทำอย่างไรให้ต่างจากเขา
* What : เพจเราทำอะไรอยู่
ถ้ายิ่งแข็งแรง brand ก็จะแข็งแกร่งมากขึ้น คนจะอยู่กับเรามากขึ้น
โฆษณา