14 พ.ค. 2021 เวลา 15:51
#รีวิวฟันด์วันละกอง #กองทุนรวมดัชนีหุ้นจีน #ChinaIndexFund #FunManager
.
สวัสดีครับ กลับมารีวิวกองทุนกันต่อบทความที่ 6 กัน
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมหันไปเขียนบทความอื่นๆ เพราะมีความสนใจในตลาดการลงทุนเรื่องไหน ก็จะจับประเด็นเขียนอีกที แต่ FC ที่รออ่านรีวิวกองทุนยังมีกองทุนรอคิวอีกมากมายครับ ช่วงนี้กองทุนจีนลงมาเยอะเหมือนกันเนอะ งั้นเราลองมาแกะกองทุนจีนกันดูหน่อยดีกว่าว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง
.
กองทุนที่เราจะคุยกันวันนี้คือกองทุนดัชนีหุ้นจีน นะครับ ผมยังคง Concept กอง Passive เหมือนเดิมครับ (ถ้ารีวิวกอง Active บทความจะยาวกว่านี้อีกครับ และหาคู่ที่สมน้ำสมเนื้อมาชนกันอีกทีนะครับ) แต่ก่อนที่เราจะไปดูเนื้อหากองทุนกัน ผมขออนุญาตแนะนำถึงดัชนีที่เราจะพูดถึงกันวันนี้ก่อนนะ
.
ดัชนีจีนในปัจจุบันมี 6 ประเภท คือ A-Share / B-Share / H-Share / Red Chips / P Chips / ADRs ทั้งนี้กองทุนในตลาดที่เราสามารถลงทุนได้มักจะอยู่ในทั้ง 3 ดัชนีนี้ คือ
1) A-Share คือ หุ้นของบริษัทจีนที่มีฐานธุรกิจในจีนแผ่นดินใหญ่ (Greater China) หุ้นเหล่านี้จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Stock Exchange: SSE) และตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น (Shenzhen Stock Exchange: SHZE) โดยผู้ลงทุนมีเพียงนักลงทุนจีน และนักลงทุนสถาบันต่างชาติ ประเภทพิเศษ (Qualified Foreign Institution) ที่ซื้อขายได้เท่านั้น มีหุ้นมากกว่า 3,500 บริษัทครับ มีหุ้นที่เป็นอุปโภคบริโภค เศรษฐกิจยุคใหม่ เช่น Ping An Insurance Kweichow Moutai(ขายสุรา) ปัจจุบันหลังจาก MSCI ประกาศเพิ่มน้ำหนักหุ้นจีนในดัชนีมากขึ้น เช่น MSCI EM มีหุ้นจีนถึง 37% ทำให้มีกระแสเงินสดเข้าลงทุนในตลาดนี้มากขึ้น ปีที่ผ่านมา หลังจากหุ้นจีนฟื้นตัวหลัง Covid19 บลจ.หลายเจ้าก็ออกกองหุ้น A-Share ออกมามากมาย (ส่วนใหญ่กอง Active)
.
ดัชนีที่ใช้ดู คือ CSI300 ที่เป็นหุ้น 300 ตัวในทั้ง 2 ตลาดนี้ครับ นอกจากนี้ยังมีดัชนีอีกตัว คือ FTSE China A50 คือ หุ้น 50 ตัวขนาดใหญ่ใน A Shares (เหมือน SET50) จัดทำโดย FTSE (อีกบริษัทคล้ายๆ MSCI)
.
2) H-Share คือ หุ้นของบริษัทจีนที่ทำธุรกิจในจีน แต่ Listed อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ในอดีตกองทุนจีนส่วนใหญ่ที่ออกมาขายเป็นกอง H-Share ครับ เนื่องจากหุ้นจีนที่เข้ามาซื้อขายได้ ต้องมีมาตรฐานบัญชีที่ได้รับการยอมรับ นักลงทุนทั่วโลกสามารถซื้อขายได้ แตกต่างจากในอดีตทีหุ้นใน A-share ยังไม่ได้ยอมรับมากเท่าในปัจจุบัน หุ้นที่อยู่ในตลาดนี้มักเป็นกลุ่ม Financial กลุ่ม IT เช่น Tencent Alibaba ChinaMobile Bank of China
.
ดัชนีที่ใช้ดู คือ HSCEI (Hang Seng China Enterprise Index) เป็นหุ้นจีนในตลาดฮ่องกงมี 51 ตัว ขณะที่หุ้นที่อยู่ในตลาดฮ่องกงทั้งหมดคือ HSI (Hang Seng Index) มี 55 ตัว (อ้าว แทบไม่ต่างกันเลย)
.
3) ADRs คือ America Depository Receipts เอาเป็นว่า มันคือ หุ้นจีนที่ไป Listed ใน US แหละ ไว้ให้คน US เค้าซื้อ ครับ มีประมาณ 242 หลักทรัพย์ แต่ช่วงที่ผ่านมา เวลามีปัญหา Trade wars ของ US กับ จีน หุ้น ADRs ก็มักจะโดนหางเลข บอกว่าจะโดนถอดออกจากตลาดบ้างล่ะ เป็นต้น กองทุนที่ลง ADRs อย่างเดียวผมไม่เห็นนะ หุ้นที่อยู่ในตลาดนี้ เช่น Tencent PetroChina TAL Education
.
ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกองทุน All China พวกนี้จะลง A-Share H-Share และ ADRs แต่ถ้าเป็นพวกกอง Greater China จะมีลงทั้ง All China รวมถึงหุ้นในฮ่องกง ไต้หวัน มาเก๊าด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นพวกกอง Active (บอกแล้วว่า Series นี้ ยาวววววว)
.
ดังนั้นวันนี้เราคุยถึงเรื่องกองดัชนีกันก่อนดีกว่า เชื่อว่า หลายคนอาจจะสนใจกอง Active มากกว่า แต่ถือว่าเรามาปูพื้นฐานกันก่อนเนอะ
4
เราไปคุยเรื่องกองทุนกัน 10 ข้อเหมือนเดิม เริ่ม!!!!!!!!!!!!!
1. กองทุนที่คุยกันวันนี้มี 8 กอง 3+1 ดัชนี มีอะไรบ้าง
FTSE China A50 >>> K-CHX และ TMBCHEQ
CSI300 >>> SCBCHA TISCOCHA-A
HSCE >>> KF-CHINA SCBCE(H) TISCOCH
HSI >>> ASP-HSI
.
2. กลุ่ม FTSE China A50 หุ้น 50 ตัวขนาดใหญ่ใน A-Share มี K-CHX vs TMBCHEQ ต่างกันด้วย Master Fund
K-CHX >>> CSOP FTSE China A50 ETF
TMBCHEQ >>> iShares FTSE A50 China Index ETF
มูลค่ากองใหญ่ทั้งคู่ ค่าธรรมเนียมต่างกันเล็กน้อย (1.18% vs 0.99%) แต่ตัวที่ไทยจะป้องกันความเสี่ยงต่างกันนะ
.
3. กลุ่ม CSI300 หุ้น 300 ตัวใน A-Share มี SCBCHA vs TISCOCHA-A ทั้งคู่ลงใน Master Fund เดียวกัน คือ ChinaAMC CSI 300 Index ETF มีค่าธรรมเนียมที่น้อยเพียง 0.82% โดยตัว SCBCHA มีจ่ายเงินปันผลด้วย แต่ถ้าไม่อยากได้แบบจ่ายปันผลก็เลือก TISCOCHA-A หรือใช้ SCBCHAE (Class E)
.
4. กลุ่ม HSCE หุ้น H-Share มีเพียบ KF-CHINA SCBCE SCBCEH TISCOCH ทั้งหมดลง Master Fund เดียวกัน คือ Hang Seng China Enterprises Index ETF ค่าธรรมเนียมก็น้อย 0.65% ส่วนป้องกันค่าเสี่ยงค่าเงินก็แตกต่างไป ตามตารางนะ อ้อ SCB มีแบบ H คือ ป้องกันค่าเงิน และ ไม่มี H คือ ไม่ป้องกันค่าเงินด้วย
.
5. กลุ่ม HSI หุ้นฮ่องกง (ก็จีนเกือบหมดนั่นแหละ) มีกองเดียวที่แตกต่างเพื่อนๆ คือ ASP-HSI ลงใน Master Fund คือ Hang Seng Index ETF ค่าธรรมเนียม Master Fund 0.1% ผมตาฝาดไปหรือเปล่า แต่กองที่ไทยค่าธรรมเนียมก็สูงแฮะ
.
6. เมื่อเปรียบเทียบอุตสาหกรรม (Industry) จะพบว่า A50 หนักไปทางกลุ่ม Financial และ Consumer Staple (สินค้าจำเป็น) กว่า 68%
ส่วน CSI300 จะกระจายไปกลุ่มอื่นมากขึ้น เช่น IT Industrial โดยที่มีน้ำหนักใน Financial Consumer Staple เพียง 43%
ขณะที่ HSCE จะหนัก IT และ Financial 63% ต่างจาก HSI ที่หนัก Commerce & Industry 48% และ Financial 40%
.
7. มาดูไส้ในกัน A50 และ CSI300 มีหุ้น Top10 เหมือนกันถึง 7 ตัว ขณะที่ HSCE vs HSI จะพบว่า หุ้น HSI จะครอบคลุม HSCE มากกว่า จึงมี AIA Group และ HSBC ที่เพิ่มเข้ามา ส่งผลให้ Industry Weight แตกต่างกัน
.
8. เวลาเราดูความสามารถของกองดัชนีเหล่านี้ เราควรพิจารณา
Tracking Difference (TD)คือ ค่าส่วนต่างระหว่าง ผลตอบแทนจาก ETF และ Index(Benchmark)
Tracking Error (TE) คือ ค่าความผันผวนของส่วนต่าง ผลตอบแทนจาก ETF และ Index(Benchmark)
เท่าที่ผมขุดเจอ ผมเจอแค่ 2 กอง
CSOP FTSE China A50 ETF >>> TD = -1.91% TE = 0.13%
ChinaAMC CSI 300 Index ETF >>> TD = -0.22% TE= 0.94%
ผมจึงนำค่าผลตอบแทนรายปี เทียบกับ Benchmark มาแสดงจะเห็นว่า ผลตอบแทนกับดัชนีไม่แตกต่างกันมาก อาจจะห่างมากกว่ากองทุนหุ้นดัชนี US ที่ผมรีวิวก่อนหน้านี้ แต่เท่านี้ก็ถือว่าน่าสนใจ
.
9. มาพูดถึงกองทุนไทยบ้าง ชอบตลาดไหนลงตลาดนั้นครับ จุดต่างก็คือ ค่าธรรมเนียม การป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงิน มูลค่าขั้นต่ำ และจำนวนวันที่ได้เงินคืน ดังนั้นถ้าคุณสนใจกองดัชนีหุ้นจีน ผมก็มีตัวเลือกให้มากมายครับ ............... แต่ผมก็ขยันไปหามาอีกตัว "CHINA" ออกโดย KTAM
2
ETF ที่ Listed อยู่ในกระดานหุ้นบ้านเรา มี Master Fund คือ W.I.S.E.-CSI 300 China Tracker (ค่าธรรมเนียมกองแม่ 1.01%) ไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน มีค่าธรรมเนียมทั้งหมด (TER) 1.0107% ไส้ในคล้ายกัน Performance คล้ายกับ CSI300 หมด หยิบมาเล่าเผื่อบางคนชอบซื้อ ETF โดยตรง ก็จะบอกว่า ซื้อใน SET ผ่านโปรแกรม Streaming ได้เลยนะ
.
10. คำถามเดิม เลือกอะไรดี.........เออ ผมชอบทั้ง A-Share และ H-Share นะ ตอนนี้กระแส A-Share ก็กำลังมา มีกองออกใหม่กันเยอะ ใครชอบผมว่าก็ดี เพราะแต่ละเจ้าก็ขนเหตุผล 108 อย่างมาเล่าว่า A-Share ดียังไงเนอะ แต่เอาจริง ส่วนตัวผมเองก็ชอบกอง Active จีนหลายกองเลย ทั้ง A-Share และ All China ถ้ามีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังนะ แค่อ่านกอง Index จีนยังยาวขนาดนี้ กอง Active อย่าให้พูดเลย ชนกับ 3-4 กองก็พอเนอะ เลือกๆมาดีกว่าชนอีกที ดูอีกทีว่า ผู้อ่านชอบเอากองไหนมาชนกันครับ
.
แต่อย่างไรก็ดี การที่เราเลือกลงทุนในประเทศจีน เหตุผลส่วนใหญ่ ก็คือ การเติบโตของประเทศมหาอำนาจที่จะมาสู่กับ US ในอนาคต จำนวนประชากรที่สามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทจดทะเบียน หุ้นในตลาดที่มีทั้งหุ้น Cyclical และ Growth ที่สร้างรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ช่วงที่ผ่านมาดัชนีหุ้นจีนจะปรับตัวลงมาระดับนึง แต่ผมเองก็เคยตามดูกองทุนจีนตั้งแต่ 5 ปีก่อน ก็พบว่าจริงๆ จีนเพิ่งมาวิ่งแรงๆได้ไม่นาน GDP ที่เคยเติบโตแรง ก็ถูก Intervene โดยภาครัฐ ไม่ให้โตแรงเกินไป เหตุผลเหล่านี้ ผมเชื่อว่า คนที่ซื้อกองทุนจีนมีคำตอบในใจแล้วว่า น่าจะมีกองทุนหุ้นจีน หรือหุ้น Asia หรือ หุ้น EM ติดในพอร์ตบ้าง เพราะแต่ละกองทั้ง Asia และ EM ก็มีน้ำหนักหุ้นจีนที่มากอยู่ 30-50% หากเราสามารถลงทุนระยะยาวได้ กองทุนหุ้นจีนก็เป็นอีกตัวเลือกนึงที่น่าสนใจไม่น้อยครับ
.
ผมเขียนเชียร์ไม่เก่ง อยากให้คนที่สนใจลงกองทุนจีน ลองหาข้อมูลดูนะ มีตัวเลขน่าสนใจ รวมถึงหุ้นที่มีโอกาสเติบโตจากหลายกลุ่มมากมายเลย
.
บทความผม ชื่อรีวิววันละกอง แต่เขียนทีไรทำไมนั่งอ่าน 4-8 กองทุกที T-T
.
หากท่านชอบงานเขียนของผม ฝากกด Like กด Share และฝากกด Like/Follow Page : Fun Manager ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจในการทำบทความต่อไป
.
ขอให้โชคดีในการลงทุนครับ #FunManager
.
จิรภัทร โบสุวรรณ, CFP®
.
.
ตอนนี้เปิด Blockdit แล้ว ฝากติดตามด้วยครับ
1
===========================
คำเตือน : บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ และไม่ได้ชี้นำการลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลจาก Fund Fact Sheet ก่อนการลงทุนนะครับ
โฆษณา