15 พ.ค. 2021 เวลา 01:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ห้องไฟฟ้า
วงจรช่วยชีวิต ต้องใส่ท่อ IMC ทั้งหมดหรือไม่ ?
ในบทที่ 12 เรื่องวงจรช่วยชีวิต พูดถึงเรื่องสายทนไฟและวิธีการเดินสายของวงจรช่วยชีวิต ว่าอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ และอาคารตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีวงจรช่วยชีวิต จะต้องใช้สายทนไฟ FRC และใส่ท่อ IMC เพราะต้องให้สายจ่ายไฟได้ตอนไฟไหม้ และใส่ท่อ IMC เพราะจะแข็งแรงกว่าท่อ EMT เวลาโดนน้ำฉีดหรือมีอะไรหล่นใส่เวลาเกิดไฟไหม้
มาพิจารณเรื่องอาคารก่อน
- อาคารสูง คือสูงเกิน 23m.
- อาคารขนาดใหญ่พิเศษ คือมีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000sq.m. ขึ้นไป
- อาคารที่กฎหมายกำหนดให้มีวงจรช่วยชีวิต อันนี้จริงๆหมายถึงอาคารทั่วไปที่กำหนดที่อยู่ใน พรบ.ควบคุมอาคาร และกฎหมายแรงงาน ที่กำหนดให้มีไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน และสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ สำหรับสถานประกอบกิจการ
ที่นี้มาดูแต่ละระบบ
1) ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน อันนี้ถ้ามีแบตเตอรี่ที่ตัว ก็ใช้สาย IEC01(THW) และใส่ท่อ EMT ได้ เพราะเวลาปกติรับไฟจากไฟธรรมดา แต่พอไฟไหม้ไฟดับก็มีแบตเตอรี่จ่ายในตัว ท่อจะหลุดจากน้ำฉีดก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นแบบที่มี Central battery แล้วเดินสายไฟหาหลอดไฟ กรณีนี้จะต้องใช้สายทนไฟ FRC และใส่ท่อหนามีเกลียว เช่น IMC
2) ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อันนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คืออุปกรณ์เริ่มสัญญาญ เช่น smoke heat manual ไม่ต้องใช้สายทนไฟและก็ไม่ต้องใส่ท่อ IMC เพราะมันจะทำหน้าที่ก่อนไฟไหม้ พอไฟไหม้แล้วสายจะขาดหรือไหม้ หรือท่อจะหลุดจากน้ำฉีดก็ไม่เป็นไร แต่อุปกรณ์แจ้งเหตุ เช่น Bell Lamp Horn อันนี้ต้องใช้สาย FRC และควรใสท่อ IMC เพราะมันจะต้องทำงานได้ตอนไฟไหม้ในระยะเวลาหนึ่ง ตามมาตรฐาน และท่อเมื่อโดนน้ำฉีดก็จะไม่หลุดง่ายเหมือนท่อ EMT ส่วนที่สามคือส่วนที่ส่งสัญญาณหรือไฟที่ไปจ่ายระบบผจญเพลิง เช่น ไฟจ่ายลิฟต์ ไฟจ่ายระบบดับเพลิงต่างๆ จะต้องใช้สายทนไฟ FRC และท่อหนา IMC ด้วยเหตุผลข้างต้นว่ามันจะต้องทนไฟและแข็งแรงเวลาโดนไฟไหม้หรือน้ำฉีดหรืออะไรตกใส่ เพราะให้วงจรทำงานได้ในช่วงที่ไฟไหม้
เครดิต​ ห้องไฟฟ้า​ และ​ FACEBOOK​
โฆษณา