15 พ.ค. 2021 เวลา 13:16 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Risk Parity อีกหนึ่งวิธีลงทุนของคนขี้กลัวแต่ได้กำไร !!
[Investor Level 3 Advanced 🟢🟢🟢⭐️]
10
เราเคยแชร์บทความเรื่องการใช้ TradingView สำหรับวิเคราะห์ correlation อย่างง่ายและรวดเร็วมาแล้ว ซึ่งใช้วิเคราะห์ correlation สำหรับ 2 สินทรัพย์ เช่นระหว่างหุ้น 2 ตัว, bitcoin กับทองคำ, ดอกเบี้ยกับน้ำมัน .. เพื่อนำไปกำหนดกลยุทธ์ Pair trading ต่อได้ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบ Traditional approach และการลงทุนแบบนี้จะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับ absolute correlation ที่ควรมีค่าสูง ประกอบกับการใช้ cointegration วิเคราะห์ร่วมด้วย
8
แต่ในโลกของการลงทุนนั้นแน่นอนว่าเรามีสินทรัพย์อยู่ในพอร์ตมากกว่า 2 สินทรัพย์ขึ้นไป ประกอบกับสภาวะตลาดที่ผันผวนมาก จากการใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆ ของธนาคารกลางอย่างเช่นการทำ QE ทำให้ทฤษฎีที่เราเรียนกันมาว่าสินทรัพย์หรือเศรษฐกิจนั้นมีวัฎจักรเริ่มเบี่ยงเบนไป เช่นเราเคยเรียนรู้กันว่า หุ้นกับตราสารหนี้มีความสัมพันธ์สวนทางกันก็เริ่มจะไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไป
ดังนั้นเพื่อให้การลงทุนประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย นักลงทุน VI (Value investing) หรืออาจรวมถึงกลุ่มนักลงทุนประเภท MI (Momentum investing) ได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับการจัดพอร์ตพอๆ กับการเลือกสินทรัพย์แต่ละตัวเข้าพอร์ต จึงได้เกิดหลักการจัดพอร์ตตามความเสี่ยง แทนที่จะแบ่งสัดส่วนการลงทุนตามเงินลงทุน โดยการจัดพอร์ตตามความเสี่ยงนี้จะลงทุนในสินทรัพย์ตามความเสี่ยงของแต่ละสภาวะตลาด ที่เรียกว่า "Risk Parity" ซึ่งเป็นส่วนต่อยอดจากทฤษฎี Modern Portfolio Theory (MPT)
5
Risk parity เป็นที่รู้จักมากขึ้นเมื่อ Bridgewater Associates ของ Ray Dalio ได้ตั้งกองทุนชื่อ All Weather ในปี 1996 ที่ใช้กลยุทธ์นี้
5
https://www.bridgewater.com/research-and-insights/risk-parity-is-about-balance
โดยหลักการของ Risk parity คือการคำนวณหาสัดส่วนการลงทุนตามน้ำหนักความเสี่ยงของแต่ละสินทรัพย์ที่จะทำให้พอร์ตมีความเสี่ยงเป็นไปตามที่ต้องการ (หรือจัดพอร์ตให้มีความเสี่ยงต่ำสุดสำหรับ Risk averse) ซึ่งสินทรัพย์ที่เลือกลงทุนเข้าพอร์ตก็จะมีความเสี่ยงหรือความผันผวนตามสภาวะตลาดของสินทรัพย์นั้น เช่น หุ้นมีความเสี่ยงจากตลาดหุ้น (Equity risk) ตราสารหนี้มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย (Interest rate risk) สินค้าโภคภัณฑ์เช่นน้ำมัน เหล็ก ทอง ข้าวโพด มีความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ (Inflation risk) เป็นต้น
6
โดยความเสี่ยงเหล่านี้สามารถใช้ข้อมูลในอดีตมาคำนวณหรือใช้การคาดการณ์ในอนาคต แล้วทำการ simulation เพื่อหาสัดส่วนการลงทุนของแต่ละสินทรัพย์ที่ทำให้พอร์ตมีความเสี่ยงตามที่ต้องการได้
Source: https://en.wikipedia.org/wiki/Risk_parity
เรามาดูตัวอย่างของการ Simulate Risk parity เพื่อปรับสัดส่วนพอร์ตใหม่ ให้มีความเสี่ยงต่ำสุด โดยเทียบเคียงกับพอร์ตกองทุนของทาง Finnomena ที่ได้ออกบทความปรับกลยุทธ์เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมากัน โดยเราใช้แนวทางการลงทุนในพอร์ต TOP5 ซึ่ง Finnomena ได้ให้ความเห็นไว้ว่า
1
"แนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหนุนการปรับตัวขึ้นของความคาดหวังอัตราเงินเฟ้อ และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในอนาคต หนุนให้ Real Yield มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น สร้างแรงกดดันต่อแนวโน้มราคาทองคำ
1
FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้น SCBDJI(A) เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนตามแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งลงทุนใน SPDR Dow Jones Industrial Average ETF เป็นหลัก และมีโอกาสได้รับผลเชิงบวกจากการปรับตัวขึ้นของความคาดหวังเงินเฟ้อ"
1
Source: https://www.finnomena.com/finnomena-ic/may2021-herd-immunity/
เราได้ทดสอบเทียบเคียงโดยการปรับสัดส่วนพอร์ตปัจจุบันของ Finnomena TOP5 โดยตัดกองทุน KFSMART ออก และปรับสัดส่วนให้เท่ากันเป็น 25% สำหรับกองทุนที่เหลือ เนื่องจาก KFSMART เป็นกองทุนที่เป็น Fixed Income ระยะสั้น หากนำมาร่วม Simulate ใน Risk parity จะทำให้เกิดการถ่วงน้ำหนักในกองนี้มากเกินไป (เพราะความผันผวนต่ำ)
นอกจากนั้น ได้ใช้กองทุน GC แทน WE-CHIG เนื่องจาก WE-CHIG เพิ่งเริ่มก่อตั้งเมื่อปีที่แล้ว ทำให้มีข้อมูลย้อนหลังน้อยเกินไปในการวิเคราะห์ ส่วนกองทุนอื่นที่เหลือใช้ข้อมูลย้อนหลังของกองทุนหลักในการพิจารณา
Result Portfolio Optimization
จากผลการทดสอบ Risk parity พบว่าพอร์ตมีผลตอบแทน CAGR 5.86% เทียบกับ Simulated Portfolio 14.38% แต่ Risk parity มีความผันผวนน้อยกว่าที่ SD เพียง 5.28% เทียบกับ Simulated Portfolio 12.10%
5
Annualized Rolling Return
Result Annual Returns
ในขณะที่ Max Drawdown เป็นตัวชี้วัดระดับผลตอบแทนขาดทุนสูงสุดที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการทำ Risk Parity พบว่ามีแค่เพียง -5.94% ในขณะที่ Simulated Portfolio มี Max Drawdown -13.87%
3
Result Max Drawdown
สุดท้ายเรามาดู Efficient Frontier เปรียบเทียบระหว่าง Simulated Portfolio กับ Risk Parity Portfolio เพื่อเห็นภาพการลงทุนที่ชัดเจนขึ้น (ซึ่งในโอกาสต่อไป เราจะมาลอง optimize พอร์ต ด้วย Efficient Frontier กัน)
3
Efficient Frontier
สรุปได้ว่า Risk Parity เป็นอีกกลยุทธ์การลงทุนของกลุ่ม Risk-Averse ที่พยายามลดความผันผวนของพอร์ต แต่ยังสามารถชนะ Risk-free และเงินเฟ้อ และสามารถสร้างผลกำไรได้ในระยะยาวถึงแม้จะมีผลตอบแทนที่ต่ำกว่า Aggressive Portfolio
2
เพราะเราเชื่อว่า ทุกกลยุทธ์การลงทุนใช้ได้ดีเสมอ เมื่อใช้อย่างเหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของนักลงทุน
2
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ 😊
โฆษณา