16 พ.ค. 2021 เวลา 13:00 • สุขภาพ
เบาหวาน (ตอนที่ 2/2)
อาการ / การแก้ไข
เราสามารถอธิบายปรากฏการณ์ หรืออาการที่เกิดในคนเป็นเบาหวาน ตามสาเหตุหรือปัจจัยต่างๆ พร้อมแก้ไขตามแต่สภาวะได้ เช่น
กระหายน้ำบ่อยๆ เพราะเลือดข้น น้ำตาลสูง ไตต้องขับน้ำตาลทิ้ง พาน้ำออกไปด้วย ภาวะนี้ต้องเพิ่มน้ำ ซึ่งน้ำที่ดีควรมีสภาวะด่าง ไม่มีน้ำตาล
ปัสสาวะบ่อย เป็นสิ่งที่พบในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะไตต้องขับน้ำตาลส่วนเกินในเลือดทิ้งไป
หิวง่าย แม้มีน้ำตาลล้นเกินในเลือด แต่ก็นำเข้าไมโตคอนเดรีย ไปใช้งานไม่ได้ ทำให้เซลล์ขาดพลังงาน จึงส่งสัญญาณสู่สมองให้หากินเพิ่ม แบบว่า “อยากน้ำตาล” ควรแก้ด้วยผลไม้ที่หวานน้อย มีกากใย ไม่ใช่กินของหวานหรือลูกอมตามใจอยาก อาหารที่ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน คือ โครเมียม แมกนีเซียม สังกะสี น้ำมันปลา
น้ำหนักลด เป็นอาการบั้นปลายของเบาหวานหลังจากอ้วนมานาน เมื่อเซลล์ขาดพลังงานเพราะดื้ออินซูลิน ร่างกายก็ต้องนำพลังงานสะสม ในรูปโปรตีนที่เนื้อกล้ามและตับ ออกมาใช้ทดแทน ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง จึงควรใช้สารจากอบเชย ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน
เหนื่อยเพลียง่าย ก็เนื่องจากเซลล์ขาดพลังงาน หรืออาจขาดโคคิวเทน หรือสารที่เพิ่มอัตราเผาผลาญในเซลล์
น้ำมันมะพร้าวจะมีบทบาทสำคัญในภาวะนี้ เพราะเป็นสิ่งที่เซลล์นำไปใช้เป็นพลังงานได้เลย โดยไม่ต้องพึ่งพาอินซูลินเป็นตัวนำเหมือนกรณีของน้ำตาล
หายใจเร็ว เพราะเหนื่อยจากการที่เลือดไหลเวียนช้า นำพาออกซิเจนไปแลกเปลี่ยนที่ปอดได้น้อยลง ก็ต้องแก้โดยสูดหายใจลึกๆ ใช้การฝึกสมาธิช่วย สารสกัดหลินจือมีบทบาท ตามทฤษฎีประหยัดออกซิเจน
สายตาพร่ามัว เนื่องจากน้ำตาลท่วม ในหลอดเลือดฝอยของจอตา ต้องเร่งลดน้ำตาลในเลือด กรณีนี้ กรดไลโปอิคเข้ามาช่วยต้านอนุมูลอิสระที่อาจซ้ำเติมจอตาและจอประสาทตา แปะก๊วยช่วยลดความหนืดข้นของเลือด ให้ไหลเวียนดีขึ้น
อาการปวดศีรษะ มึนงง เพราะขาดออกซิเจนจากเลือดไหลหนืด สิ่งที่พอบรรเทาการเกาะตัวของเลือด เช่นหลินจือ หรือแปะก๊วย รวมทั้งน้ำมันปลา วิตามินอี
อาจพบอาการเสียว ชาปลายนิ้วมือนิ้วเท้า เนื่องจากขาดเลือดไปถึง แต่ก็อาจเนื่องจากขาดวิตามินบี หรือน้ำมันปลา EPA ได้ด้วย
ความดันที่สูงขึ้น เนื่องจากเลือดหนืด ผนังหลอดเลือดอักเสบ แข็งกระด้าง หัวใจหมดแรงดูดเลือดดำกลับ พองตัวหรือคลายตัวไม่ดีพอ อาจต้องเพิ่มโคคิวเทน และแมกนีเซียม รวมถึงอาหารลดความดันอื่นๆ
อาจมีอารมณ์แปรปรวนเนื่องจากสมองขาดเลือด ก็เหตุเดียวกับอาการปวดศีรษะ การดื่มน้ำพลังแม่เหล็กก็สมควรพิจารณา
บาดแผลหายช้า เพราะขาดเม็ดเลือดขาวและออกซิเจน มีแต่น้ำตาลเป็นอาหารแบคทีเรีย และเชื้อราก็เกาะกินได้ง่าย นอกจากการใช้ปฏิชีวนะตามแพทย์สั่งหรือผ่าตัดแล้ว สารอาหารโอพีซี พอช่วยได้สำหรับระดับโรคที่ไม่รุนแรงนัก
ความรู้พื้นฐาน สู่การพึ่งตนเอง ก่อนจะต้องใช้ยา
ผู้เชี่ยวชาญหลายสถาบันแนะนำสารเสริมที่ควรใช้มีส่วนช่วย หรือผู้ป่วยมักขาดไป ทำให้โรคกำเริบในภาวะต่างๆกัน สารที่เป็นที่ยอมรับค่อนข้างมาก ได้แก่ โครเมียม วิตามินบีทั้งหลาย สังกะสี และโคคิวเทน
สารอาหารที่ไม่ควรขาดนอกจากบีรวม น้ำมันปลา คือ โครเมียม ใช้ขนาด 200- 600 มคก./วัน โครเมียมมีอยู่ในกะเพรา, บริวเวอร์ยีสต์ เป็นต้น
สังกะสี 15- 80 มก. รวมไปถึงทีม Antox เช่น กรดไลโปอิค, โอพีซี, วิตามินซี, โคคิวเทน ตลอดจนหลินจือ แปะก๊วย
แมกนีเซียมก็เป็นสารสำคัญ ที่สมาคมเบาหวานอเมริกา ระบุว่า ผู้ป่วยเบาหวาน ควรดื่มน้ำแร่ที่มีแมกนีเซียม และโครเมียมอยู่ด้วย ขนาดแมกนีเซียม ที่ร่างกายต้องการประจำวัน คือ 6 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ในหญิงให้นมบุตร ควรเลี่ยงนมวัวในระยะ 1 ขวบปีแรก เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้ ทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำให้สร้างอินซูลินไม่ได้ เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินที่พบในเด็ก
พบว่า น้ำผึ้งมีฟรุคโตส ซึ่งเชื่อว่าถูกนำไปสู่เซลล์โดยไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน จึงน่าจะเป็นแหล่งพลังงานสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดต้องพึ่งพาอินซูลิน
น้ำมันมะพร้าว โรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 (ขาดอินซูลินแต่เกิด) และชนิดที่ 2 (ดื้ออินซูลิน) ทำให้ต้องเพิ่มการฉีดมากขึ้น นอกจากฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสที่อาจทำลายเซลล์ตับอ่อนจนก่อเบาหวานแล้ว กรดลอริคที่มีอยู่สูงมาก (48- 52%) ของน้ำมันมะพร้าวช่วยฆ่าเชื้อโรค แล้วยังกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น
ที่สำคัญ คือ ความเป็นไขมันอิ่มตัวสายโมเลกุลปานกลาง (MCT) ของน้ำมันมะพร้าว สามารถดูดซึมผ่านผนังเซลล์เข้าสู่ไมโตคอนเดรียได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยอินซูลินเป็นตัวนำ จึงเหมาะในผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย อยากอาหาร เนื่องจากมีน้ำตาลแต่เซลล์ดื้ออินซูลิน นำกลูโคสไปใช้ไม่ได้ แต่ MCFA (กรดไขมันขนาดกลาง)ในน้ำมันมะพร้าว สามารถใช้เป็นอาหารหล่อเลี้ยงเซลล์โดยไม่ต้องพึ่งอินซูลินพาเข้าสู่เซลล์ (MCFA เข้าสู่เซลล์ได้เอง) ทำให้ผู้ป่วยไม่ขาดอาหาร เบาหวานทุเลา แต่ก็ไม่ใช่กินเอา กินเอา เผาผลาญไม่ทันพลันอ้วนซ้ำ !
น้ำมันพืชสายโมเลกุลยาวทั้งหลายทำให้อ้วน สันดาปได้ช้า ทำให้เฉื่อยชา อีกทั้งมีโอเมก้า6 สูงเกินอัตราของโอเมก้า3 ก่ออักเสบ ก่อโรคหัวใจหลอดเลือดสารพัด จึงถูกห้ามใช้ใน ผู้ป่วยเบาหวาน
แต่น้ำมันมะพร้าวให้คุณประโยชน์ออกฤทธิ์ตรงข้ามกับน้ำมันพืชทั่วไป…จึงใช้ได้ดี การบริโภคน้ำมันมะพร้าวประจำ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน…ขนาดที่ใช้คือ 0.3- 1 กรัม/กก.น้ำหนักตัว หรือ 2-4 ช้อนโต๊ะ/วัน
ข้อยกเว้น คือ ผู้ป่วยในระยะคีโตซิส (Ketosis) คืออาการมากขนาดเกิดสารคีโตน สะสมในเลือด ไตเสียเสื่อมสภาพ ตรวจพบ acetone bodies ในปัสสาวะ
ในเมืองไทย อบเชยเป็นสิ่งหาง่ายและมี บทบาทสูง อย่างน้อยๆ ก็ช่วยลดการดูดซึมกลูโคสจากทางเดินอาหาร ลดภาวะดื้ออินซูลิน ขนาดที่แนะนำคือ 1 ช้อนชา พร้อมอาหาร
การรักษาเบาหวาน ต้องทำพร้อมกันเป็นสามประสาน ตั้งแต่ อาหารที่ดี ออกกำลังพอเหมาะ เพิ่มพลังสมาธิลดเครียด
สรุปการรักษาเบาหวาน
1. หลินจือ 2x3
2. จิบน้ำแมกนีเซียม แทนน้ำดื่มตลอดวัน
3. ใช้ทีมสารต้านอนุมูลอิสระที่มีกรดไลโปอิค โอพีซี, โคคิวเทน, วิตามินซี (ใช้แบบรวมในเม็ดเดียวกันได้) และน้ำมันปลา อย่างละ วันละ 1x2
4. โคลีน บีรวม และแร่ธาตุสังกะสี อย่างละ 1x1
5. อบเชย 1 ช้อนชา พร้อมอาหาร
6. ใช้น้ำมันมะพร้าว ใบกะเพรา ปรุงอาหารเป็นต้น
7. ออกกำลังกาย พักผ่อนนอนหลับเพียงพอ
โดยผู้ที่ฉีดอินซูลินหรือใช้ยาลดน้ำตาลก็ยังใช้ตามปกติไปก่อน แล้วลดยาลงตามแพทย์สั่ง เมื่อผลเลือดปรากฏอาการดีขึ้น
ในผู้ป่วยโรคไต หรือต้องล้างไต ควรงดรายการที่ 2-4 ไว้ก่อน
โฆษณา