Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
7 มิ.ย. 2021 เวลา 00:30 • การศึกษา
สิ่งควรรู้ กับความท้าทายของภาษียุคดิจิทัล
การจ่ายภาษีให้กับรัฐเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนทุกคนในฐานะพลเมืองของชาติ และคุณผู้อ่านรวมถึงผู้ประกอบการ SME ยุค 4.0 คงได้รู้จักการรับและโอนเงินผ่านพร้อมเพย์กันมาบ้างแล้ว เพราะนี่ก็คือตัวอย่างหนึ่งของระบบดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้
1
และในยุคที่ข่าวสารข้อมูลได้เปลี่ยนรูปจากอนาล็อกเป็นดิจิทัล การจัดเก็บภาษีก็มีการพัฒนารูปแบบเช่นเดียวกัน แต่ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีในยุคดิจิทัลจะเป็นอย่างไร มาติดตามในบทความนี้กันเลยค่ะ
⛳ แผนโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ National E-Payment
จากพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้คนที่เปลี่ยนไปเป็นแบบไร้เงินสด (Cashless) โดยใช้แอฟธนาคารบนสมาร์ทโฟนสแกน QR Code จ่ายเงินให้ร้านค้า หรือการจ่ายเงินผ่าน E-Wallet ในส่วนของภาครัฐก็ได้ประกาศแผนโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ National E-Payment 5 โครงการ ด้วยกัน ได้แก่
1) ระบบการชำระเงินแบบ Any ID ที่รู้จักในชื่อ “พร้อมเพย์” (PromptPay)
2) การขยายการใช้บัตร
3) ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
4) e-Payment ภาครัฐ
5) การให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีเป้าหมาย คือ
- เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน (Payment Infrastructure Development)
- ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion)
- ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยและบูรณาการสวัสดิการ (e-Social Welfare)
- บูรณาการระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน (e-Tax System)
- ส่งเสริม e-Payment ในทุกภาคส่วน (Cashless Society)
ซึ่งในส่วนของกรมสรรพากร ได้ปรับระบบการจัดเก็บภาษีให้มีความทันสมัยต่อความเปลี่ยนแปลงนั้นไประดับหนึ่งแล้ว และเป็นไปตามแนวทางดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่กระบวนการปฏิสัมพันธ์กับผู้จ่ายภาษี ปรับระบบบริการด้านภาษี การให้ความรู้บุคลากรและ พัฒนาระบบปฏิบัติการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ซึ่งระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับผู้จ่ายภาษีมากที่สุดคือ ใบกำกับภาษีและใบรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice & Receipt) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (E-WHT) การยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ (E-Filing) และระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (E-Donation)
⛳ กฎหมาย E-Payment
1
กฎหมาย E-Payment เริ่มตั้งแต่ปี 2562 โดยกำหนดให้ธนาคารหรือตัวแทนชำระเงินส่งข้อมูลบุคคลแก่สรรพากร โดยมีหลักเกณฑ์การส่งข้อมูล ดังนี้
- เงินเข้า (ฝาก/รับโอนเงิน) 3,000 ครั้งต่อปี
- เงินฝากเข้าเกินกว่า 400 ครั้ง และยอดเงินรวมกันเกิน 2 ล้านบาทต่อปี
- ทุกบัญชีของ 1 ธนาคาร แยกข้อมูลตามธนาคาร (ไม่ใช่ทุกบัญชี ทุกธนาคารรวมกัน)
- บัญชีที่เปิดเป็นชื่อร่วมกัน จะถูกนำมารวมด้วย
2
- เงินเข้า หมายรวมถึง ดอกเบี้ย เงินปันผล การโอนเงินระหว่างบัญชี
โดยกรมสรรพากรจะได้รับข้อมูลที่รายงานจากธนาคารต่างๆ แล้วมาทำการประมวลผลและทำการวิเคราะห์เกณฑ์ประเมินผู้เสียภาษีออกมาเป็นข้อมูลผู้เสียภาษีที่จะมีการตรวจสอบเพื่อจัดเก็บภาษีต่อไป
💦.....เห็นความพร้อมของระบบสรรพากรแล้ว เราไม่ควรนิ่งนอนใจกันนะคะ เรียนรู้แนวทางปฏิบัติให้ถูกต้องเสียตั้งแต่วันนี้ อุ่นใจและสบายใจกว่ากันเยอะค่ะ
1
4
อ้างอิง : งานสัมมนาเคล็ดลับการจัดการภาษีและการวางแผนภาษีบุคคลธรรมดา
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ช่องทางอื่นในการติดตาม เพจลงทุนในบัญชีและภาษี
FB :
https://www.facebook.com/BSV.BSerp.BusinessValue
Website :
https://accounting.bsv-th.com/
Website :
http://bsv-th.com/
ขอบคุณกำลังใจและการติดตามนะคะ ทุกการอ่าน ไลค์ แชร์ หรือคอมเม้นท์มีความหมายเสมอค่ะ ❤❤🙏🙏❤❤
11 บันทึก
36
69
25
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นานาภาษีและวิธีจัดการ
11
36
69
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย