18 พ.ค. 2021 เวลา 11:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สูตรการประเมินมูลค่าหุ้น และการประเมินมูลค่าธุรกิจในความเห็นเรานั้นเหมือนกัน อันที่จริงแล้วสูตรในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ทุกชนิดที่ถูกซื้อเพื่อผลประโยชน์ทางการเงินนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยตั้งแต่การเปิดเผยครั้งแรกของชายผู้ปราดเปรื่องเมื่อ 600 ปีก่อนพุทธกาล (ถึงแม้เขาจะไม่ฉลาดพอที่จะรู้ว่ามันเป็นเรื่องเมื่อ 600 ปีก่อน)
คำแนะนำนี้มาจากนิทานอีสป และความอดทนในการรอคอยของเขา ถึงแม้คำแนะนำนั้นจะไม่สมบูรณ์มากนัก แต่การลงทุนเปรียบได้กับ นกหนึ่งตัวในมือมีค่าเท่ากับนกสองตัวในพุ่มไม้ คุณแค่ต้องตอบคำถาม 3 คำถามนี้ให้ได้
- คุณมั่นใจแค่ไหนว่ามีนกอยู่หลายตัวแอบอยู่ในพุ่มไม้
- เมื่อไรที่นกเหล่านั้นจะโพล่ออกมาจากพุ่มไม้ให้คุณจับ
- แล้วถ้าโพล่ออกมาแล้วมันจะมีกี่ตัว และอะไรคือผลตอบแทนไร้ความเสี่ยง (ในกรณีของเราคือพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว)
หากคุณตอบคำถามเหล่านี้ได้ คุณก็จะรู้ว่าในพุ่มไม้นั้นมีมูลค่าเท่าไร และนกในมือของคุณตอนนี้มีมูลค่าเท่าไรที่คุณจะไปแลกมา
และอย่าคิดว่าการลงทุนเป็นเรื่องของนก ให้คิดว่าเป็นเรื่องของเงิน
หลักการลงทุนแบบนิทานอีสป ได้ถูกนำไปขยายต่อ และถูกนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องของการเงิน มันเป็นหลักการที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลยสักนิดเดียว ไม่ว่าจะนำไปใช้กับธุรกิจฟารม์ ธุรกิจน้ำมัน พันธบัตร หุ้น ลอตเตอรี่ ซื้อเครื่องจักร การวิจัยและคิดค้นเครื่องยนต์ไอน้ำ การผลิตไฟฟ้า การคิดค้นรถยนต์ หรืออินเตอร์เน็ต ขอแค่ใส่ตัวเลขให้ถูกต้อง อีกทั้งคุณยังสามารถจัดลำดับความน่าสนใจของความเป็นไปได้ที่จะสร้างผลตอบแทนจากการใช้เงินลงทุนกับทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้
เครื่องมือประเมินมูลค่าทั่วๆไปอย่าง เงินปันผลจ่าย (Dividend Yield) ราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio) ราคาต่อมูลค่าทางบัญชี (P/BV Ratio) หรือแม้แต่อัตราการเติบโต (Growth Rate) ไม่มีประโยชน์อะไรเลยกับการประเมินมูลค่า นอกจากให้เบาะแสเพิ่มเติมถึงปริมาณ และเวลาของกระแสเงินสดไหลเข้า และออกบริษัท
อันที่จริงแล้วการเติบโตก็สามารถทำร้ายมูลค่าได้หากมันจำเป็นที่จะต้องใส่เงินสดเข้าไปในธุรกิจ หรือในโปรเจคมากกว่ามูลค่าของเงินสดที่ถูกคิดลดที่สินทรัพย์นั้นจะผลิตเงินให้ได้ในภายหลัง
ผู้แนะนำการลงทุน รวมถึงผู้จัดการการลงทุนที่มักใช้คำอ้างถึงสไตล์การลงทุนแบบการเติบโต และการลงทุนแบบคุณค่าราวกับว่าเป็นกระบวนการที่ตรงกันข้ามกันนั้นแสดงถึงความโง่เขลาเช่นกัน มันไม่ใช่ความพิศสมัยอะไรทั้งนั้น การเติบโตนั้นบ่อยครั้งเป็นองค์ประกอบเชิงบวก แต่บางครั้งเองก็เป็นองค์ประกอบเชิงลบของมูลค่ากิจการ
น่าเสียดายถึงแม้ว่าแนวความคิดของนิทานอีสป และปัจจัยการประเมินมูลค่าอย่างอัตราดอกเบี้ยจะเป็นเรื่องที่ง่ายที่สามารถระบุเป็นตัวเลข แต่กับอีกสองปัจจัยในการกำหนดมูลค่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก การใช้ตัวเลขตรงตัวอันที่จริงอาจเป็นเรื่องที่โง่เขลา การใช้วิธีกำหนดขอบเขตที่อาจจะเป็นไปได้อาจเป็นวิธีการที่ดีกว่า
บ่อยครั้งขอบเขตที่กว้างมากนั้นไม่สามารถนำไปสู่ข้อสรุปที่มีประโยชน์ และบางครั้งบางคราวการประเมินมูลค่าที่อนุรักษ์นิยมมากๆๆ เกี่ยวกับนกที่โพล่ออกมาจากพุ่มไม้สะท้อนถึงราคาเสนอขายที่เริ่มลดต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่า
แต่เพื่อให้มั่นใจได้ นักลงทุนเองจำเป็นที่จะต้องเข้าใจธุรกิจเฉกเช่นเดียวกับการคิดอย่างอิสระ เพื่อให้ได้เหตุผลที่ดีที่จะสนับสนุนข้อสรุปในการลงทุน อย่างไรก็ตามมันไม่เป็นจำเป็นเลยที่นักลงทุนต้องมีความฉลาดมากมาย หรือต้องพึ่งพาอาศัยข่าววงใน
ในทางอื่นๆที่ดูเหมือนจะสุดขั้วอย่างนักลงทุนผู้ฉลาดปราดเปรื่องเองก็อาจจะไม่ได้ข้อสรุปที่น่าเชื่อถือได้ของการโพล่ออกมาจากพุ่มไม้ของนก หรือไม่แม้แต่การประเมินข้อสรุปได้เป็นขอบเขตอย่างกว้างๆ ความไม่แน่นอนเหล่านี้บ่อยครั้งเกิดจากการเกิดของธุรกิจใหม่ๆ หรือ การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ในกรณีเช่นนี้การใช้เงินลงทุนก็ควรถูกตีตราว่าเป็นการเก็งกำไรเช่นกัน
ในทุกวันนี้การเก็งกำไร เกิดขึ้นโดยไม่สนใจว่าสินทรัพย์เหล่านั้นผลิตสินค้า หรือบริการอะไร แต่กลับสนใจแต่ว่าจะมีคนต่อไปมาจ่ายเงินเพื่อซื้อมันในราคาที่สูงขึ้นหรือไม่ มันอาจจะไม่ได้ผิดกฏหมาย ผิดศีลธรรม หรือไม่แสดงถึงความไม่เป็นอเมริกันชน แต่นั้นไม่ใช่เกมส์ที่ผม และชาร์ลี ปราถนาที่จะเล่น เราไม่ได้พาอะไรไปในงานเลี้ยง แล้วเหตุใดเราต้องคาดหวังว่าจะได้อะไรกลับมา
แปลและเรียบเรียงจากรายงานประจำปีบริษัทเบิรก์ชาย ฮาทาเวย์ ปี 2000
โฆษณา