Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SEEN : Ability to be SEEN
•
ติดตาม
18 พ.ค. 2021 เวลา 12:00 • การศึกษา
เคยมั้ย... มือสั่น ขาสั่น เหงื่อแตก ก่อนขึ้นพูดต่อหน้าคนอื่นทุกที
เคยมั้ย... ทุ่มเททำงานหนักเว่อร์ แต่หัวหน้า/อาจารย์ไม่เห็นถึงความตั้งใจเราเลย
เพราะต่อให้ไอเดียยิ่งใหญ่ ผลงานปังอลังการแค่ไหน ถ้านำเสนอออกมาให้คนอื่นเข้าใจไม่ได้ ก็จบ!
ไม่ว่าจะในรั้วมหาลัย หรือชีวิตวัยทำงาน
คนที่จะประสบความสำเร็จ โดดเด่น หรือ ได้รับการยอมรับได้นั้น
มีความรู้มาก หรือครีเอทีฟจ๋า ๆ แค่นั้นคงไม่พอ แต่จะต้องมี soft skill ควบคู่กันไปด้วย! ซึ่งทักษะหนึ่งที่สำคัญและจำเป็นมากกกกกก ก็คือ ทักษะ Public Speaking หรือการพูดในที่สาธารณะนั่นเอง
วันนี้ SEEN ก็จะมัดรวม “ 4เคล็ดลับ” ในการพัฒนาทักษะการพูดในที่สาธารณะมาให้
เพราะเราเชื่อจริง ๆ ว่า ทุกคน “สามารถฝึกฝน”
ที่จะเป็น Public Speaker ในแบบที่ดีขึ้นสำหรับตัวเองได้!
#SEEN #AbilitytobeSEEN #PublicSpeaking #ProfessionalDevelopment #Pitching #Start-up #StartupThailand #Communication
1. ดึงดูดคนให้อยู่กับเราตั้งแต่ต้นจนจบ กับเทคนิคที่คนอาจจะมองข้าม!
ไม่มีใครชอบฟังการนำเสนอที่เริ่มต้นด้วย “วันนี้ฉันจะคุยกับคุณ/นำเสนอเกี่ยวกับ…. ” แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ให้ความสำคัญกับเนื้อหาในการเปิดหรือปิดการพูดนำเสนอเท่าที่ควร
ถ้าอยากจะเปิดให้ปัง ลองใช้สถิติที่เห็นแล้วว้าว! เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่คนอาจจะมองข้าม
หรือเรื่องราวที่บิ้วคนให้คล้อยตามได้ ในการเปิดการพูดเปิดตอน 30 วินาทีแรกดูสิ!
แล้วก่อนจบก็อย่าลืม ทิ้งท้ายด้วยการพูดด้วยน้ำเสียงสุดมั่นใจ
แล้วฝากเรื่องราวที่เข้าใจง่ายไว้ซักหน่อย ให้ผู้ฟังสามารถจำพรีเซนต์ของเราได้!
“อย่าลืม!!” ดึงผู้ชมให้มามีส่วนร่วมกับเรานะ
ลองดึงดูดและกระตุ้นให้คนฟังมีส่วนร่วมอยู่เสมอ
อาจจะเป็นการถามคำถามกับผู้ฟัง ผลัดให้เค้าลองถามคำถาม
แล้วที่สำคัญเลยคือเราจะต้องพยายามจดจำสิ่งที่เราต้องพูดให้ได้ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการอ่านสคริปท์ระหว่างการพูดนำเสนอ
เพราะมันจะทำให้เราดูไม่รู้จริงเลยนะ เกี่ยวกับสิ่งที่เราจะพูด
นอกจากนี้ วิธีการพูดก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจด้วยนะ
เพราะถ้าตอนที่กำลังรู้สึกกังวล ก็อาจจะทำให้พูดเร็วจนเกินไปโดยไม่รู้ตัว
ซึ่งก็อาจจะทำให้เผลอพูดข้ามเนื้อหาหรือก็อาจจะพูดในสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจจะพูดออกไปก็เป็นได้ ซึ่งแนะนำให้ใจเย็น ๆ ลง ตั้งสติและพูดช้าลงดู
อาจโดยการหายใจเข้าลึก ๆ หรือหยุดพักเว้นช่วงให้ถูกจังหวะ
2. ฝึกฝนและเตรียมพร้อม
แม้แต่นักพูดมืออาชีพก็ยังรู้สึกประหม่าและตื่นกลัวกับเวที
ฉะนั้น เป็นเรื่องปกติมากกกกกถ้าคนอย่างเรา ๆ ก็กังวลได้
ซึ่งบางทีร่างกายเราก็ตอบสนองโดยการแสดงอาการใจเต้นแรง เหงื่อออก หรือมือไม้สั่น
ซึ่งข้อระวังอย่างหนึ่งเลย คืออย่าเพิ่งคิดเองไปก่อนว่าความแพนิคของเราจะทำให้งานเราออกมาแย่
วิธีที่ดีที่สุดในการเอาชนะความกังวลได้ คือต้องเตรียมทั้งตัวและใจมาให้พร้อม
เพราะการที่เราทุ่มเทเวลาเพื่อฝึกซ้อมซ้ำ ๆ ก็จะทำให้เราคุ้นเคยกับเนื้อหา
และพร้อมที่จะเฉิดฉายที่สุดในแบบของตัวเราเองได้! หูยยย เริ่ดไปอีก
และ “อย่าลืม!!” ต้อง “อย่ากดดันตัวเอง” มากเกินไปหล่ะ
ความกดดันบางทีก็ดีนะ เพราะจะมาพร้อมกับแรงผลักดันที่ทำให้เราพยายามฝึกฝน
และจะทำให้เราทำได้ดีมากขึ้น แต่ก็ต้องมาพร้อมความคิดเชิงบวกด้วย!
ซึ่งนี่เป็น mindset สำคัญเลย ที่จะเพิ่มความมั่นใจ และช่วยสร้างความแตกต่างให้เรา ทั้งยังทำให้เราประสบความสำเร็จในการสื่อสารด้วย!
3. รู้ว่ากำลังจะพูดให้ใครฟัง
ภาษา เนื้อหา และรูปแบบจะต้องเหมาะสมและเป็นสิ่งที่ผู้ชมอยากฟัง
ก่อนที่จะเริ่มสร้างเรื่องราว ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ฟังของคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก่อน เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกเนื้อหา และรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมได้!
การรู้จักผู้ชมก่อนจะทำให้เราสามารถรู้ได้ว่าข้อมูลใดหรืออะไรพวกเขาต้องการหรือจำเป็นต้องรู้
เช่น เราจะไม่สามารถสื่อสารกับเด็ก ในแบบเดียวกันกับที่เราคุยกับเจ้านายได้ เป็นต้น
“อย่าลืม!!” ลองแกล้ง ๆ เป็นผู้ฟังดู
ลองจินตนาการว่าสวมบทบาทของผู้ฟัง แล้วคิดว่าถ้าเป็นเราแล้ว จะอยากรู้เนื้อหาอะไรจากในสิ่งที่เรามีทั้งหมดบ้าง? แล้วค่อยเลือกเล่าสิ่งนั้น ๆ ไป
อย่าพยายามยัดเยียดสิ่งที่อยากพูดแต่ผู้ฟังไม่ได้สนใจหรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับเค้ามากจนเกินไป
ไม่งั้นก็จะเหมือนกับเราพยายามเล่าวิธีการเขียนโค้ด ให้หลานอายุ 3 ขวบฟังนั่นแหละ
4. ต้องเป็นตัวของตัวเอง!
ในการสื่อสารทุกประเภท ไม่ว่าจะคุยกับใครก็ตาม
ถ้าหากเราแสดง “ความเป็นเรา” หรือ “บุคลิกที่มันเป็นเราจริง ๆ ” ออกมา มีเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากกกกที่ผู้ฟังจะเชื่อในสิ่งที่เราพูด
เพราะนอกจากเราจะเป็นธรรมชาติแล้ว ผู้ชมยังเห็นถึงความจริงใจที่เรามีต่อเขาด้วย!
นอกจากการเป็นตัวเองและการใช้อารมณ์ที่ผ่อนคลายเล่าเรื่องแล้ว
บอกเลยว่าการเลือกใช้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ แทรกเกร็ดความรู้ให้ผู้ชมซะหน่อย
จะนับว่าเป็นการนำเสนองานที่เพอร์เฟ็กต์สุด ๆ เลยล่ะ!
ท้ายที่สุด “อย่าลืม!!” ที่จะใส่ใจกับภาษากายเข้าไปด้วย
บุคลิกสำคัญมาก! การเอนขา พักขาข้างเดียว
หรือยืนในท่าทางที่เราเองก็ยังรู้สึกว่า โห เกร็งสุด… ไม่เป็นธรรมชาติเอาซะเลยเลย
อันนี้ก็คือก็ไม่เหมาะแล้ว! ซึ่งถ้าให้แนะนำสูตรให้ ก็คือลอง
ยืนตัวตรง หายใจเข้าลึก ๆ สบตาผู้ฟังและยิ้มแย้มอยู่เสมอ น่าจะช่วยเสริมบุคลิกได้เยอะเลย!
และอย่าลืม!! ที่จะเดินไปรอบ ๆ มีท่าทางประกอบเพื่อดึงดูดสายตาผู้ชม เพราะการเคลื่อนไหวและพลังงานนี้ มันก็มีผลในเสียงของเราไม่น้อยเลย! ทั้งยังช่วยทำให้เรามีพลังและความกระตือรือร้นมากขึ้นอีกด้วยนะ!
Reference:
-
https://medium.com/base-the-business-playhouse/3-secrets-to-know-before-you-rock-the-stage-3-ความลับที่ต้องรู้-ก่อนขึ้นพูดบนเวที-en-th-e71fa92e5b4e
-
https://medium.com/base-the-business-playhouse/public-speaking-เด็กยุคใหม่-ทำไมต้องพูดเก่ง-ccd90ca637c5
-
https://professional.dce.harvard.edu/blog/10-tips-for-improving-your-public-speaking-skills/
-
https://www.mindtools.com/CommSkll/PublicSpeaking.htm
-
https://www.inc.com/brent-gleeson/20-tips-for-mastering-art-of-public-speaking.html
1 บันทึก
1
2
1
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย